สารละลายที่มีความเป็น กรด และเบส สามารถจำแนกได้ด้วยการวัดค่า pH ด้วยพีเอชมิเตอร์ สารละลายเหล่านี้จำแนกได้เป็น กรดแก่, กรดอ่อน, เบสแก่, เบสอ่อน นอกจากนี้ยังมี กรดเข้มข้น หรือกรดเจือจางอีกด้วย
ค่า pH ของสารละลาย คือ ตัวเลขที่บอกให้ทราบความเป็นกรดเบสของสารละลาย สารละลายที่มีค่า pH เท่ากับ 7 จะถือว่าเป็นสารละลายที่เป็นกลาง สารละลายที่มีค่า pH น้อยกว่า 7 จะถือว่าเป็นสารละลายที่เป็นกรด ยิ่งมีค่า pH น้อย ก็จะมีความเป็นกรดสูง สารละลายที่มีค่า pH มากกว่า 7 จะถือว่าเป็นสารละลายที่เป็นเบส ยิ่งมีค่า pH มาก ก็จะมีความเป็นเบสมาก โดยสารละลายที่เราใช้กันอยู่ทั่วๆ ไปจะมีค่า pH อยู่ในช่วงระหว่าง 0-14 ซึ่งอาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่าก็ได้
เราสามารถวัดค่า pH ของสารละลายในช่วง 0-14 ได้อย่างละเอียดโดยใช้ พีเอชมิเตอร์ แต่ถ้าต้องการทราบค่า pH ของสารละลายโดยประมาณควรใช้ ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์
กรดแก่ คือ กรดที่มีค่า pH ต่ำ หรือกรดที่ละลายน้ำแล้วแตกตัวเป็นไอออนทั้งหมด เช่น กรดไฮโดรคลอริก กรดซัลฟิวริก กรดไนตริก
กรดอ่อน คือ กรดที่มีค่า pH สูง หรือกรดที่ละลายน้ำแล้วแตกตัวเป็นไอออนได้ไม่หมด เช่น กรดแอซีติก กรดคาร์บอนิก กรดไนตรัส
เบสแก่ คือ เบสที่มีค่า pH สูง หรือเบสที่ละลายน้ำแล้วแตกตัวเป็นไอออนได้หมด เช่น โซเดียมไฮดรอกไซด์ โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ แคลเซียมไฮดรอกไซด์
เบสอ่อน คือ เบสที่มีค่า pH ต่ำ หรือเบสที่ละลายน้ำแล้วแตกตัวเป็นไอออนได้ไม่หมด เช่น แอมโมเนียมไฮดรอกไซด์
กรดเข้มข้น คือ กรดที่มีเนื้อกรดมาก มีน้ำเจือปนอยู่น้อย
กรดเจือจาง คือ กรดที่มีเนื้อกรดอยู่น้อย มีน้ำเจือปนอยู่มาก
ช่วงค่า pH ของสารละลายต่างๆ ที่พบในชีวิตประจำวัน
สาร |
ช่วง pH |
สาร |
ช่วง pH |
น้ำย่อยในกระเพาะอาหาร |
1.6-2.5 |
มะเขือเทศ |
3.8-4.0 |
น้ำปัสสาวะ |
5.5-7.0 |
น้ำกาแฟ |
4.8-5.2 |
น้ำลาย |
6.2-7.4 |
นมสด |
6.5-7.0 |
เลือด |
7.35-7.45 |
ไข่แดง |
7.8-8.2 |
น้ำดี |
7.8-8.6 |
น้ำฝน |
5.5-6.0 |
น้ำตา |
7.4 |
น้ำประปา |
6.5-8.0 |
น้ำมะนาว |
2.8-3.4 |
น้ำทะเล |
7.8-8.2 |
น้ำส้มสายชู |
2.5-3.5 |
น้ำบริสุทธิ์ |
7.0 |
น้ำอัดลม |
3.0-4.0 |
ยาธาตุ |
9.0-9.5 |
น้ำส้ม |
3.0-4.0 |
น้ำยาแอมโมเนียสำหรับล้างพื้น |
11.5 |
น้ำองุ่น |
3.2 |
|
|