สภาพละลายได้ เป็นคุณสมบัติที่บ่งบอกถึงความสามารถในการละลายของสารละลายชนิดต่างๆ สารละลายใดมีค่าสภาพละลายได้สูง สารละลายนั้นละลายได้ง่าย
สารละลาย (solution) คือ ของผสมที่เป็นสารเนื้อเดียวมีขนาดอนุภาคน้อยกว่า 10-7 เซนติเมตร ประกอบด้วยสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปผสมกัน ได้แก่ ตัวทำละลาย (solvent) และตัวละลาย (solute)
สารละลายอาจมีสถานะได้ทั้งของแข็ง ของเหลว และแก๊ส ตัวอย่างเช่น น้ำเชื่อม เป็นสารละลายที่มีลักษณะเป็นน้ำใสเห็นเป็นเนื้อเดียว มีส่วนประกอบ 2 ส่วนคือ น้ำ เป็นตัวทำละลาย และน้ำตาล เป็นตัวละลาย น้ำเชื่อมเป็นสารละลายที่มีสถานะเป็นของเหลว เป็นต้น
การพิจารณาว่าสารใดในสารละลายเป็นตัวทำละลายหรือตัวทำละลาย
ถ้าตัวทำละลายและตัวละลายมีสถานะไม่เหมือนกัน
สารที่มีสถานะเหมือนสารละลายเป็นตัวทำละลาย สารอื่นๆ เป็นตัวละลาย เช่น น้ำเชื่อม เป็นสารละลายที่มีสถานะเป็นของเหลว ประกอบด้วย น้ำ (ของเหลว) และน้ำตาลทราย (ของแข็ง) เพราะฉะนั้น น้ำจึงเป็นสารละลายที่มีน้ำเป็นตัวทำละลาย และมีน้ำตาลทรายเป็นตัวละลาย
ถ้าตัวทำละลายและตัวละลายมีสถานะเดียวกัน
สารที่มีปริมาณมากเป็นตัวทำละลาย สารที่มีปริมาณน้อยกว่าเป็นตัวละลาย เช่น อากาศ ประกอบด้วยแก๊สไนโตรเจน ประมาณ 78% แก๊สออกซิเจน ประมาณ 21% และแก๊สอื่นๆ อีกประมาณ 1% เพราะฉะนั้น อากาศจึงเป็นสารละลายที่มีแก๊สไนโตรเจนเป็นตัวทำละลาย มีแก๊สออกซิเจนและแก๊สอื่นๆ เป็นตัวละลาย
ถ้าตัวทำละลายและตัวละลายมีสถานะเดียวกันและมีปริมาณเท่ากัน
จะจัดให้สารใดเป็นตัวทำละลายหรือตัวละลายก็ได้
ความรู้เกี่ยวกับการละลายของสารในตัวทำละลายต่างๆ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้ตัวทำละลายสลายคราบต่างๆ ที่ติดอยู่บนเสื้อผ้า เช่น
- ใช้แอลกอฮอล์ ลบรอยหมึกจางๆ
- ใช้กรดซิตริก ลบรอยเปื้อนของผลไม้
- ใช้น้ำเกลือ ลบรอยเลือด
- ใช้น้ำนม ลบรอยหมึก
- ใช้อีเทอร์ ลบรอยคราบไขมัน
- ใช้นำมันเบนซิน ลบรอยไขมัน หรือน้ำมัน
- ใช้สารละลายบอแรกซ์ ลบคราบชา กาแฟ
สภาพละลายได้ (solubility) คือ ความเข้มข้นของสารละลายอิ่มตัว ณ อุณหภูมิที่กำหนดให้ เราใช้สมบัติเกี่ยวกับสภาพละลายได้ของสารมาใช้ในการแยกสารได้ เช่น มีโซเดียมไนเตรต 40 กรัม ผสมอยู่กับโพแทสเซียมไนเตรต 60 กรัม ถ้านำของผสมไปละลายในน้ำ 100 กรัม ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส สารทั้งสองชนิดจะละลายได้หมด ลดอุณหภูมิลงจนถึง 20 องศาเซลเซียส พบว่ามีโพแทสเซียมไนเตรตส่วนหนึ่งแยกตัวออกมา สามารถกรองแยกโพแทสเซียมไนเตรตออกจากสารละลายได้
ตัวอย่างโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสภาพละลายได้
โจทย์
เติมโซเดียมไนเตรต 150 กรัม ในน้ำ 150 กรัม ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส โซเดียมไนเตรตละลายได้หมดหรือไม่ ถ้าละลายไม่หมด จะเหลือโซเดียมไนเตรตในสารละลายเท่าไร (กำหนดให้สภาพละลายได้ของโซเดียมไนเตรต = 87.6 กรัม ในน้ำ 100 กรัม ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส)
วิธีทำ
ในน้ำ 100 กรัม ที่ 20 องศาเซลเซียส โซเดียมไนเตรตละลายได้ 87.6 กรัม
ในน้ำ 1 กรัม ที่ 20 องศาเซลเซียส โซเดียมไนเตรตละลายได้ 87.6100 กรัม
ในน้ำ 150 กรัม ที่ 20 องศาเซลเซียส โซเดียมไนเตรตละลายได้ 87.6100×150 กรัม = 131.4 กรัม
คำตอบ โซเดียมไนเตรตละลายได้ไม่หมด เหลือโซเดียมไนเตรตในสารละลาย 150 – 131.4 = 18.6 กรัม
โจทย์
สารละลายโซเดียมคลอไรด์ 200 กรัม ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส มีโซเดียมคลอไรด์ละลายอยู่ 60 กรัม ถ้าลดอุณหภูมิของสารละลายโซเดียมคลอไรด์ลงจนถึง 20 องศาเซลเซียส จะมีโซเดียมคลอไรด์แยกตัวออกมาเท่าไร (กำหนดให้สภาพละลายได้ของโซเดียมคลอไรด์ = 36.0 กรัม ในน้ำ 100 กรัม ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส)
วิธีทำ
ในน้ำ 100 กรัม ที่ 20 องศาเซลเซียส โซเดียมคลอไรด์ละลายได้ 36 กรัม
ในน้ำ 1 กรัม ที่ 20 องศาเซลเซียส โซเดียมคลอไรด์ละลายได้ 36100 กรัม
ในน้ำ 200 กรัม ที่ 20 องศาเซลเซียส โซเดียมคลอไรด์ละลายได้ 36100×200 กรัม = 72 กรัม
คำตอบ มีโซเดียมคลอไรด์ในสารละลายเพียง 60 กรัม จึงไม่มีโซเดียมคลอไรด์แยกตัวออกมา