การชั่งตวงวัดในการทดลองต่าง ๆ จำเป็นต้องมีระบบมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก หน่วยเอสไอจึงถูกกำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นหน่วยสากลของปริมาณต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์
หน่วยพื้นฐานเอสไอ (SI base units) เป็นหน่วยการวัดพื้นฐานของหน่วยวัดอื่น ๆ ทั้งหมดทางวิทยาศาสตร์ หน่วยพื้นฐานทั้ง 7 หน่วย มีดังนี้
ปริมาณ |
หน่วย SI |
สัญลักษณ์ |
มวล |
กิโลกรัม |
Kg |
ความยาว |
เมตร |
M |
เวลา |
วินาที |
s |
อุณหภูมิ |
เคลวิน |
K |
กระแสไฟฟ้า |
แอมแปร์ |
A |
ปริมาณของสาร |
โมล |
mol |
ความเข้มของการส่องสว่าง |
แคนเดลา |
cd |
หน่วยอนุพัทธ์เอสไอ (SI derived units) หน่วยอนุพัทธ์เกิดจากการพิสูจน์ทางพีชคณิตระหว่างหน่วยฐานเอสไอหรือระหว่างหน่วยอนุพัทธ์เอสไอ ตัวย่อของหน่วยอนุพัทธ์เอสไอได้มาจากการกระทำทางคณิตศาสตร์โดยการคูณและการหาร ดังนี้
ปริมาณ |
หน่วย SI |
สัญลักษณ์ |
พื้นที่ |
ตารางเมตร |
m2 |
ปริมาตร |
ลูกบาศก์เมตร |
m3 |
ความเร็ว, อัตราเร็ว |
เมตรต่อวินาที |
m·s-1 |
ความเร่ง |
เมตรต่อวินาทีกำลังสอง |
m·s-2 |
เลขคลื่น |
Reciprocal meter |
m-1 |
ความหนาแน่น |
กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร |
kg·m-3 |
ความหนาแน่นกระแส |
แอมแปร์ต่อลูกบาศก์เมตร |
A·m-3 |
ความแรงสนามไฟฟ้า |
โวลต์ต่อเมตร |
V·m-1 |
ความเข้มแสง |
แคนเดลาต่อตารางเมตร |
cd/m2 |
ความเข้มข้นเชิงปริมาณสาร |
โมลต่อลูกบาศก์เมตร |
mol·m-3 |
คำนำหน้าหน่วยในระบบเอสไอ (SI prefixes) คือสัญลักษณ์ที่ถูกนำมาวางไว้หน้าหน่วย มีจุดประสงค์เพื่อให้การแสดงปริมาณมีความกะทัดรัดมากขึ้น สัญลักษณ์เหล่านี้จะเข้าไปคู่กับหน่วย จึงมีผลเท่ากับการเพิ่มหรือลดขนาดของหน่วยนั้น เช่น เซนติ (10-2) มิลลิ (10-3) กิโล (103) นาโน (10-9) เป็นต้น