บทเรียนออนไลน์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ทวีปแอฟริกา
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 203.3K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้

 



 

 

 

   ทวีปแอฟริกา มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ทวีปมืดหรือกาฬทวีป เพราะมีความลึกลับอยู่มาก สภาพแวดล้อมเป็นอุปสรรคต่อการสำรวจดินแดน และล้าหลังทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวิทยาการสมัยใหม่
   บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไนล์ในอียิปต์โบราณเป็นแหล่งอารยธรรมแรกของโลก สิ่งที่แสดงถึงอารยธรรมของชาวอียิปต์โบราณ เช่น การชลประทาน การประดิษฐ์อักษรไฮโรกลิฟิก ฯลฯ


1. ลักษณะทางกายภาพของทวีปแอฟริกา
   1.1 ที่ตั้ง อาณาเขต และขนาด
   ทวีปแอฟริกามีเนื้อที่ 30,244,050 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ระหว่างละติจูด 37 องศา 21 ลิปดาเหนือกับ 34 องศา 52 ลิปดาใต้ และระหว่างลองจิจูดที่ 51 องศา 26 ลิปดาตะวันออกกับ 17 องศา 32 ลิปดาตะวันตก มีเส้นศูนย์สูตรลากผ่านกลางทวีป ครึ่งหนึ่งจึงอยู่ทางซีกโลกเหนือ และอีกครึ่งหนึ่งอยู่ทางซีกโลกใต้ โดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้

 

 

 

 

 

 

   ทิศเหนือ มีอาณาเขตติดต่อเกือบเป็นแผ่นดินเดียวกันกับทวีปยุโรปและเอเชีย มีช่องแคบยิบรอลตาร์แบ่งทวีปแอฟริกากับยุโรป มีคลองสุเอชแบ่งทวีปแอฟริกากับเอเชีย โดยมีช่องแคบยิบรอลตาร์เป็นทางออกสู่มหาสมุทรแอตแลนติก คลองสุเอชและทะเลแดงเป็นทางออกสู่มหาสมุทรอินเดีย มีชายฝั่งบาร์บารี (Barbary) เป็นพื้นที่ชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางเหนือของทวีป
   ทิศตะวันออก จดทะเลแดง อ่าวเอเดน และมหาสมุทรอินเดีย เกาะของทวีปแอฟริกาในมหาสมุทรอินเดีย ได้แก่ เกาะมาดากัสการ์ และมีช่องแคบโมซัมบิกคั่นระหว่างเกาะนี้กับดินแดนภาคพื้นทวีป เกาะอื่น ๆ ได้แก่ หมู่เกาะมอริเชียส เซเชลล์ และคอโมโรส
   ทิศใต้ จดมหาสมุทรอินเดียและแอตแลนติก
   ทิศตะวันตก จดมหาสมุทรแอตแลนติก มีอ่าวกินีทางตอนกลางทวีป

 

 

เนื้อที่ จำนวนประชากร และเมืองหลวงของประเทศไทยในทวีปแอฟริกา พ.ศ. 2553

 

ประเทศ

เนื้อที่

(ตร.กม.)

ประชากร

(ล้านคน)

เมืองหลวง

แอฟริกาเหนือ

1.    สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนแอลจีเรีย

2,322,163 

36.0 

 แอลเจียร

2.    สาธารณรัฐอาหรับอียิปต

1,002,071 

80.4 

 ไคโร

3.    สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับลิเบีย

1,759,537 

6.5 

 ตริโปลี

4.    ราชอาณาจักรโมร็อกโก

446,550 

31.9 

 ราบัต

5.    สาธารณรัฐซูดาน

2,505,825 

43.2 

 คารทูม

6.    สาธารณรัฐตูนิเซีย

164,149 

10.5 

 ตูนิส

แอฟริกาตะวันตก

7.    สาธารณรัฐเบนิน

112,622 

9.8 

 ปอรโต–โนโว

8.    บูรกินาฟาโซ

274,200 

16.2 

 วากาดูกู

9.    สาธารณรัฐเคปเวิรด

4,033 

0.5 

 ไปรอา

10.    สาธารณรัฐโกตดิวัวร

322,460 

22.0 

 ยามุสซุโกร

11.    สาธารณรัฐแกมเบีย

10,368 

1.8 

 บันจูล

12.    สาธารณรัฐกานา

238,539 

24.0 

 อักกรา

13.    สาธารณรัฐกินี

245,856 

10.8 

 โกนากรี

14.    สาธารณรัฐกินี–บิสเซา

36,125 

1.6 

 บิสเซา

15.    สาธารณรัฐไลบีเรีย

111,370 

4.1 

 มอนโรเวีย

16.    สาธารณรัฐมาลี

1,239,709 

15.2 

 บามาโก

17.    สาธารณรัฐอิสลามมอริเตเนีย

1,030,807 

3.4 

 นูแอกชอต

18.    สาธารณรัฐไนเจอร

1,188,999 

15.9 

 นีอาเม

19.    สหพันธสาธารณรัฐไนจีเรีย

923,773 

158.3 

 อาบูจา

20.    สาธารณรัฐเซเนกัล

197,161 

12.5 

 ดาการ

21.    สาธารณรัฐเซียรราลีโอน

71,740 

5.8 

 ฟรีทาวน

22.    สาธารณรัฐโตโก

56,599 

6.8 

 โลเม

แอฟริกาตะวันออก

23.    สาธารณรัฐบุรุนดี

27,866 

8.5 

 บูจุมบูรา

24.    สหภาพคอโมโรส

1,826 

0.7 

 โมโรนี

25.    สาธารณรัฐจิบูตี

23,000 

0.9 

 จิบูตี

26.    รัฐเอริเทรีย

117,599 

5.2 

 แอสมารา

27.    สหพันธสาธารณรัฐประชาธิปไตยเอธิโอเปย

1,221,897 

85.0 

 แอดดิสอาบาบา

28.    สาธารณรัฐเคนยา

582,646 

40.0 

 ไนโรบี

29.    สาธารณรัฐมาดากัสการ

587,042 

20.1 

 อันตานานาริโว

30.    สาธารณรัฐมาลาวี

118,485 

15.4 

 ลิลองเว

31.    สาธารณรัฐมอริเชียส

1,865 

1.3 

 พอรตหลุยส

32.    สาธารณรัฐโมซัมบิก

771,421 

23.4 

 มาปูโต

33.    สาธารณรัฐรวันดา

26,338 

10.4 

 คิกาลี

34.    สาธารณรัฐเซเชลส

277 

0.1 

 วิกตอเรีย

35.    สาธารณรัฐประชาธิปไตยโซมาลี

637,539 

9.4 

 โมกาดิชู

36.    สหสาธารณรัฐแทนซาเนีย

945,091 

45.0 

 ดารเอสซาลาม

37.    สาธารณรัฐยูกันดา

236,037 

33.8 

 กัมปาลา

38.    สาธารณรัฐแซมเบีย

752,615 

13.3 

 ลูซากา

39.    สาธารณรัฐซิมบับเว

390,624 

12.6 

 ฮาราเร

40.    ซูดานใต้

619,745 

– 

 จูบา

แอฟริกากลาง

 

 

 

41.    สาธารณรัฐแองโกลา

1,246,699 

19.0 

 ลูอันดา

42.    สาธารณรัฐแคเมอรูน

475,500 

20.0 

 ยาอุนเด

43.    สาธารณรัฐแอฟริกากลาง

622,374 

4.8 

 บังกี

44.    สาธารณรัฐชาด

1,283,998 

11.5 

 เอ็นจาเมนา

45.    สาธารณรัฐคองโก

342,002 

3.9 

 บราซซาวิล

46.    สาธารณรัฐอิเควทอเรียลกินี

28,037 

0.7

มาลาโบ

47.    สาธารณรัฐกาบอง

265,001

1.5 

 ลีเบรอวิล

48.    สาธารณรัฐประชาธิปไตยเซาตูเมและปรินซิป  

963 

0.2 

 เซาตูเม

49.    สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก

2,344,872 

67.8 

 กินชาซา

แอฟริกาใต้

50.    สาธารณรัฐบอตสวานา

600,360 

1.8 

 กาโบโรน

51.    ราชอาณาจักรเลโซโท

30,344 

1.9 

 มาเซรู

52.    สาธารณรัฐนามิเบีย

824,451 

2.2 

 วินดฮุก

53.    สาธารณรัฐแอฟริกาใต

1,221,043 

49.9 

 พริทอเรีย

54.    ราชอาณาจักรสวาซิแลนด

17,366 

1.2 

 อัมบาบาเน


 

   1.2 ลักษณะภูมิประเทศ

 

 

 

 

 

       1. เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำมีที่ราบลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่ 4 แห่ง ได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำไนล์ (มีความยาวที่สุดในโลก) ที่ราบลุ่มแม่น้ำไนเจอร์ ที่ราบลุ่มแม่น้ำแซมบีซี และที่ราบลุ่มแม่น้ำคองโก
       2. เขตที่ราบสูงและภูเขาสูงมี 2 บริเวณ ได้แก่
          1) เขตที่ราบสูงและภูเขาสูงทางตะวันออก ได้แก่ ที่ราบสูงเอธิโอเปียและแอฟริกาตะวันออก มีภูเขาไฟทั้งที่ทรงพลังอยู่และที่ดับแล้ว มีภูเขาคิลิมันจาโร ซึ่งมียอดเขาสูงสุดในทวีปนี้ นอกจากนี้ยังมีทะเลสาบขนาดใหญ่อยู่หลายแห่ง
          2) เขตที่ราบสูงและภูเขาสูง เป็นที่ราบสูงหินแกรนิต อยู่ระหว่างแม่น้ำวาลและแม่น้ำลิมโปโป เรียกว่า เดอะแรนด์ (The Rand) หรือวิตวอเตอร์สแรนด์ (Witwatersrand) บริเวณทางตะวันออกเป็นเทือกเขาดราเคนส์เบิร์ก ทางตอนใต้เป็นแอ่งรูปจาน และทางตะวันตกเป็นเขตแห้งแล้ง
       3. เขตที่ราบสูงทางตะวันตกเป็นที่ราบสูงหินเก่า มีอาณาเขตตั้งแต่ทะเลทรายซาฮาราถึงอ่าวกินี ทิวเขาที่สำคัญ ได้แก่ ทิวเขาอาฮักการ์ และทิวเขาทิเบสตี และทางใต้เป็นที่ราบสูง



   1.3 แหล่งน้ำในทวีปแอฟริกา
       1. แม่น้ำแม่น้ำสายสำคัญในทวีปแอฟริกามีดังนี้

 

แม่น้ำ

ความยาวโดยประมาณ   

แหล่งกำเนิด

1. แม่น้ำไนล์

5,588 กิโลเมตร

เกิดจากที่สูงทางภาคตะวันออกของทวีป ไหลผ่านยูกันดา ซูดาน อียิปต์ ลงสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

2. แม่น้ำคองโก

4,300 กิโลเมตร

เกิดจากที่สูงทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีป ไหลผ่านแซมเบีย คองโก แองโกลา ลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติก

3. แม่น้ำไนเจอร์

4,183 กิโลเมตร

เกิดจากที่สูงทางตะวันตกของทวีป ไหลผ่านกินี มาลี ไนเจอร์ ไนจีเรีย ลงสู่อ่าวกินี

4. แม่น้ำแซมบีซี

2,735 กิโลเมตร

เกิดจากภูเขาด้านตะวันออกเฉียงใต้ ไหลผ่านนามิเบีย แองโกลา บอตสวานา แซมเบียซิมบับเว โมซัมบิก ลงสู่มหาสมุทรอินเดีย

5. แม่น้ำออเรนจ์

2,100 กิโลเมตร

เกิดจากเทือกเขาดราเคนส์เบิร์ก ไหลผ่านสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติก

6. แม่น้ำลิมโปโป

1,770 กิโลเมตร

ผ่านบอตสวานา ซิมบับเว โมซัมบิก ลงสู่มหาสมุทรอินเดีย

 

 

       2. ทะเลสาบน้ำจืดที่สำคัญมี 3 แห่ง ได้แก่ ทะเลสาบวิกตอเรีย (มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก) ทะเลสาบแทนกันยีกา และทะเลสาบมาลาวีหรือทะเลสาบยาซา



    1.4 ภูมิอากาศ
       1.4.1 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสภาพภูมิอากาศ
          1. ที่ตั้ง ทวีปแอฟริกามีเส้นศูนย์สูตรลากผ่านตอนกลางของทวีป ทำให้เนื้อที่ 3 ใน 4 ส่วนอยู่ในเขตร้อน อีก 1 ส่วนอยู่ในเขตอบอุ่น
          2. ลักษณะภูมิประเทศ เนื้อที่ประมาณ 2 ใน 3 เป็นที่ราบสูง มีอ่าวและคาบสมุทรน้อย พื้นที่ตอนกลางตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตร มีทิศทางการพัดของลมสงบไม่แน่นอน จึงได้รับอิทธิพลความชื้นและมวลอากาศจากทะเลน้อยมาก
          3. กระแสน้ำ ทางเหนือของทวีปมีกระแสน้ำเย็นกรีนแลนด์ไหลมาบรรจบกับกระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีม กระแสน้ำเย็นที่มีความหนาแน่นมากกว่าจมลงด้านล่าง และเคลื่อนตัวขึ้นมาสู่ผิวน้ำบริเวณหมู่เกาะคะแนรี ชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้มีกระแสน้ำเย็นเบงเกวลาไหลผ่าน ทำให้ดินแดนชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือและตะวันตกเฉียงใต้มีอากาศไม่ร้อนมากนัก กระแสน้ำอุ่นโมซัมบิกไหลผ่านชายฝั่งทางใต้ของโมซัมบิกและตะวันออกเฉียงใต้ของแอฟริกา ทำให้ฤดูหนาวมีอากาศอบอุ่นชื้น

 

 

 

 

 

       1.4.2 เขตภูมิอากาศ
       ทวีปแอฟริกามีภูมิอากาศที่แตกต่างกันจำแนกได้ 6 เขต ดังนี้
          1. ภูมิอากาศแบบป่าฝนเขตร้อน (Af)
          2. ภูมิอากาศร้อนชื้นแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อนหรือทุ่งหญ้าสะวันนา (Aw)
          3. ภูมิอากาศแบบทะเลทราย (BW)
          4. ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย (BS)
          5. ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน (Cs)
          6. ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (Ca)



   1.5 ทรัพยากรธรรมชาติ
       1. ดิน บริเวณที่ดินอุดมสมบูรณ์ ได้แก่ พื้นที่ลุ่มน้ำ
       2. ป่าไม้ ส่วนใหญ่ปลูกป่าเพื่อการดำรงชีพ ไม้สำคัญ ได้แก่ มะฮอกกานี โอชีบี ไอโรโค
       3. สัตว์ในธรรมชาติ ทวีปแอฟริกามีสัตว์หลายชนิดมากมาย มีการจัดตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งชาติขึ้น ส่วนสัตว์น้ำจะพบปลาน้ำเค็มในบริเวณแอฟริกาตะวันตก และปลาน้ำจืดในแม่น้ำไนล์
       4. พลังงานที่สำคัญ ได้แก่ ถ่านหิน น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ พลังงานน้ำ และนิวเคลียร์
       5. แร่ เป็นสินค้าออกที่สำคัญ ได้แก่ ทองคำ ผลิตมากในแอฟริกาใต้ ซิมบับเว และกานา เพชร ผลิตมากในแอฟริกาใต้ นามิเบีย บอตสวานา ซิมบับเว และโมซัมบิก และยังมีแร่อื่น ๆ เช่น บ็อกไซต์ ทองแดง และเหล็ก

 


2. ลักษณะทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของทวีปแอฟริกา
   2.1 ประชากร
       2.1.1 จำนวนประชากร
       ทวีปแอฟริกามีประชากรประมาณ 1,029 ล้านคน มากเป็นอันดับ 2 ของโลก มีอัตราเฉลี่ยความหนาแน่นของประชากรประมาณ 34 คนต่อตารางกิโลเมตร

       2.1.2 เชื้อชาติ
       เชื้อชาติของประชากรในทวีปแอฟริกาแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
          1. กลุ่มผิวดำ
          2. กลุ่มผิวขาว

       2.1.3 ภาษา
       แบ่งภาษาเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้
          1. กลุ่มภาษาเซมิติก
          2. กลุ่มภาษาซูดาน
          3. กลุ่มภาษาบันตู
          4. กลุ่มภาษาเฮาซา

       2.1.4 ศาสนา
       ประชากรในทวีปแอฟริกายังมีความเชื่อเรื่องจิตวิญญาณอำนาจของธรรมชาติ ส่วนศาสนาที่นับถือกัน ได้แก่ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และมีบางส่วนนับถือพราหมณ์-ฮินดู และศาสนายูดาห์

       2.1.5 การกระจายของประชากร
          1. เขตที่มีประชากรหนาแน่น ได้แก่ บริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์ในอียิปต์ ที่ราบสูงของประเทศเอธิโอเปีย คาบสมุทรในเขตสาธารณรัฐแอฟริกาใต้
          2. เขตที่มีประชากรเบาบาง ได้แก่ เขตทะเลทรายซาฮาราและคาลาฮารี แถบลุ่มแม่น้ำคองโก พื้นที่ชายฝั่งอ่าวกินี



   2.2 เศรษฐกิจ 

 

 

 

 

 

       1. การเกษตรประกอบด้วย
          1) การเพาะปลูก มีความแตกต่างกันไปตามสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศ ดังนี้
             (1) เขตร้อนชื้น บริเวณแอฟริกาตะวันตก ลุ่มน้ำคองโก และชายฝั่งแอฟริกาตะวันออก จะปลูกพืชเมืองร้อน เช่น โกโก้ ปลูกมากในกานา พืชสำคัญ ได้แก่ เผือก มัน ปาล์ม น้ำมัน กาแฟ อ้อย
             (2) เขตลุ่มน้ำไนล์ เป็นเขตภูมิอากาศร้อนและแห้งแล้ง แต่ได้รับน้ำจากการชลประทาน พืชสำคัญ ได้แก่ ฝ้าย ชา อินทผลัม และข้าวฟ่าง

 

 

 

 

             (3) เขตเมดิเตอร์เรเนียน บริเวณตอนเหนือสุดและใต้สุดของทวีป พืชแบบเมดิเตอร์เรเนียน เช่น องุ่น ส้ม มะกอก อินทผลัม
             (4) เขตอบอุ่นชื้น บริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศแอฟริกาใต้และภาคใต้ของโมซัมบิก เหมาะแก่การปลูกข้าวสาลี ข้าวโพด ไม้ผล
          2) การเลี้ยงสัตว์ สัตว์เลี้ยงที่สำคัญ ได้แก่ โคพันธุ์พื้นเมือง โคพันธุ์ต่างประเทศแพะ แกะ อูฐ และลา
          3) การล่าสัตว์ มีการล่าสัตว์กันมากขึ้นจนทำให้สัตว์ป่าลดลงอย่างรวดเร็ว ประเทศต่าง ๆ จึงจัดทำเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งชาติที่รู้จักกันในชื่อว่า ซาฟารี

 

 

 

 

 

 

       2. การทำประมงมีการทำประมงน้อย โดยสาธารณรัฐแอฟริกาใต้จับปลามากที่สุดในทวีป
       3. การทำป่าไม้ แหล่งป่าไม้เมืองร้อนที่สำคัญ ได้แก่ ชายฝั่งอ่าวกินีและลุ่มน้ำคองโก และเขตที่ราบสูงตะวันออกของแอฟริกา แต่ทวีปนี้ผลิตไม้ได้น้อยกว่าทวีปอื่น
       4. การทำเหมืองแร่ แร่ที่สำคัญ ได้แก่ เพชร ทองคำ ถ่านหิน น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ เหล็ก และทองแดง
       5. อุตสาหกรรม สาธารณรัฐแอฟริกาใต้เป็นประเทศเดียวที่มีความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมในทวีปนี้ และประเทศที่มีอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ได้แก่ ตูนีเซีย โมร็อกโก อียิปต์ เคนยา และแอลจีเรีย
       6. การค้า
       สินค้าออก ได้แก่ น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ แร่ และวัตถุดิบต่าง ๆ เช่น กาแฟ โกโก้
       สินค้าเข้า ได้แก่ เครื่องจักรกล ยานยนต์ อุปกรณ์การขนส่งจากโรงงานอุตสาหกรรม น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ และอาหาร



   2.3 การคมนาคมขนส่ง
   ลักษณะการคมนาคมขนส่งของทวีปแอฟริกามีดังนี้
       1. ทางบก มักเป็นเส้นทางสายสั้น ๆ ซึ่งสาธารณรัฐแอฟริกาใต้มีเส้นทางคมนาคมหนาแน่นกว่าทุกประเทศ
       2. ทางน้ำ มีเมืองท่าขนาดใหญ่หลายเมือง เช่น อะเล็กซานเดรีย เคปทาวน์ คาซา บลังกา และมอนโรเวียและแม่น้ำที่ใช้ในการคมนาคมขนส่งทางน้ำมากที่สุด ได้แก่ แม่น้ำคองโก
       3. ทางอากาศประเทศที่มีระบบการคมนาคมขนส่งทางอากาศที่ดีในทวีปแอฟริกา ได้แก่ สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ อียิปต์ เอธิโอเปีย เคนยา ไนจีเรียและกานา 

 



แหล่งที่มา : สำนักพิมพ์ วัฒนาพานิช www.wpp.co.th 

 


Thailand Web Stat
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราต้องการให้คุณได้รับประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ เราจึงนำคุกกี้ที่บันทึกการเข้าชม และการใช้งานบนหน้าเว็บไซต์จากเครื่องของคุณมาวิเคราะห์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพต่างๆ รวมทั้งนำเสนอคอนเทนต์ที่ตรงใจคุณยิ่งขึ้น
ยอมรับรายละเอียด
x