บทเรียนออนไลน์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ทวีปยุโรป
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 143.5K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้

 

 

 

 

   ยุโรปเป็นทวีปที่มีแผ่นดินติดต่อเป็นผืนเดียวกับทวีปเอเชีย จึงเรียกทวีปทั้งสองนี้รวมกันว่า ยูเรเซีย (Eurasia)

1.ลักษณะทางกายภาพของทวีปยุโรป
   1.1 ที่ตั้ง อาณาเขต และขนาด
   ทวีปยุโรปตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือ ระหว่างละติจูด 36 องศา 1 ลิปดาเหนือกับ 71 องศา 10 ลิปดาเหนือ และระหว่างลองจิจูด 66 องศาตะวันออกกับ 9 องศา 30 ลิปดาตะวันตก มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
       1. ทิศเหนือ ติดต่อกับมหาสมุทรอาร์กติก
       2. ทิศตะวันออก มีแผ่นดินเดียวกับทวีปเอเชีย โดยมีเทือกเขายูรัล แม่น้ำยูรัล และทะเลแคสเปียนเป็นแนวกั้น
       3. ทิศใต้ ติดต่อกับทวีปเอเชีย มีแนวเทือกเขาคอเคซัสและทะเลดำเป็นพรมแดน มีทะเลเมดิเตอร์เรเนียนคั่นระหว่างทวีปยุโรปกับทวีปแอฟริกา
       4. ทิศตะวันตก ติดต่อมหาสมุทรแอตแลนติก

 

 

 

 

 

เนื้อที่ จำนวนประชากร และเมืองหลวงของประเทศในทวีปยุโรป พ.ศ. 2553
 

ประเทศ

เนื้อที่ (ตร.กม.)

ประชากร (ล้านคน)

เมืองหลวง

ยุโรปตะวันออก

1. สาธารณรัฐเบลารุส

207,600 

9.5 

 มินสก

2. สาธารณรัฐบัลแกเรีย

110,912 

7.5 

 โซเฟย

3. สาธารณรัฐเช็ก

78,866 

  10.5 

 ปราก

4. สาธารณรัฐฮังการี

93,030 

10.0 

 บูดาเปสต

5. สาธารณรัฐมอลโดวา

33,701 

4.1 

คีชีเนา

6. สาธารณรัฐโปแลนด

312,758 

38.2 

 วอรซอ

7. โรมาเนีย

237,500 

21.5 

 บูคาเรสต

8. สหพันธรัฐรัสเซีย

17,075,383 

141.9 

 มอสโก

9. สาธารณรัฐสโลวัก

49,011 

5.4 

 บราติสลาวา

10. ยูเครน

603,701 

45.9 

 เคียฟ

ยุโรปเหนือ

11. ราชอาณาจักรเดนมารก

43,069 

5.5 

 โคเปนเฮเกน

12. สาธารณรัฐเอสโตเนีย

45,100 

1.3 

 ทาลลินน

13. สาธารณรัฐฟนแลนด

337,032 

5.4 

 เฮลซิงกิ

14. สาธารณรัฐไอซแลนด

102,828 

0.3 

 เรคยาวิก

15. ไอรแลนด

68,894 

4.5 

 ดับลิน

16. สาธารณรัฐลัตเวีย

63,701 

2.2 

 รีกา

17. สาธารณรัฐลิทัวเนีย

65,201 

3.3 

 วิลนีอัส

18. ราชอาณาจักรนอรเวย

400,906 

4.9 

 ออสโล

19. ราชอาณาจักรสวีเดน

449,792 

9.4 

 สตอกโฮลม

20. สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ และไอรแลนดเหนือ

244,110 

62.2 

 ลอนดอน

ยุโรปใต้

21. สาธารณรัฐแอลเบเนีย

28,748 

3.2 

 ติรานา

22. ราชรัฐอันดอรรา

482 

0.1 

 อันดอรราลาเวลลา

23. บอสเนียและเฮอรเซโกวีนา

51,129 

3.8 

 ซาราเยโว

24. สาธารณรัฐโครเอเชีย

56,537 

4.4 

 ซาเกร็บ

25. สาธารณรัฐเฮลเลนิก

131,945 

11.3 

 เอเธนส

26. สาธารณรัฐอิตาลี

301,217 

60.5 

 โรม

27. สาธารณรัฐมาซิโดเนีย

25,714 

2.1 

 สโกเปย

28. สาธารณรัฐมอลตา

246 

0.4 

 วัลเลตตา

29. สาธารณรัฐโปรตุเกส

91,462 

10.7 

 ลิสบอน

30. สาธารณรัฐซานมารีโน 

62 

0.03 

 ซานมารีโน

31. สาธารณรัฐเซอรเบีย

102,173 

7.3 

 เบลเกรด

32. มอนเตเนโกร

13,812 

0.6 

 พอดกอรีตซา

33. สาธารณรัฐสโลวีเนีย

20,251 

2.1 

 ลูบลิยานา

34. ราชอาณาจักรสเปน

504,742 

47.1 

 มาดริด

35. นครรัฐวาติกัน

0.438 

0.000826 

 วาติกัน

ยุโรปตะวันตกและยุโรปกลาง

36. สาธารณรัฐออสเตรีย

83,851 

8.4 

 เวียนนา

37. ราชอาณาจักรเบลเยียม

30,513 

10.8 

 บรัสเซลส

38. สาธารณรัฐฝรั่งเศส

551,458 

63.0 

 ปารีส

39. สหพันธสาธารณรัฐเยอรมนี

356,734 

81.6 

 เบอรลิน

40. ราชรัฐลิกเตนสไตน

161 

0.04 

 ฟาดุซ

41. ราชรัฐลักเซมเบิรก

2,587 

0.5 

 ลักเซมเบิรก

42. ราชรัฐโมนาโก

1.95 

0.04 

 มินสก

43. ราชอาณาจักรเนเธอรแลนด

41,525 

16.6 

 โซเฟย

44. สมาพันธรัฐสวิส

41,287 

7.8 

 ปราก

 


   ยุโรปมีเนื้อที่ประมาณ 10,354,636 ตารางกิโลเมตร มีขนาดเล็กเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากทวีปออสเตรเลีย


   1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
   ลักษณะภูมิประเทศแบ่งได้ 4 เขต ดังนี้
       1. เขตหินเก่าทางตะวันตกเฉียงเหนือ ได้แก่ คาบสมุทรสแกนดิเนเวีย ประเทศฟินแลนด์ เป็นเขตภูมิประเทศยุคหินเก่า ในยุคน้ำแข็งมีธารน้ำแข็งกัดเซาะเทือกเขาจนกลายเป็นที่ราบสูง และทำให้ชายฝั่งทะเลเว้าแหว่งเป็นอ่าวเล็กที่มีน้ำลึกเรียกว่า ฟยอร์ด อยู่ทั่วไป
       2. เขตที่ราบใหญ่ตอนกลาง ได้แก่ พื้นที่ทางตอนใต้ของประเทศสหราชอาณาจักร ทางด้านตะวันตกของประเทศฝรั่งเศส เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก ภาคเหนือของเยอรมนี โปแลนด์ ลิทัวเนีย ลัตเวีย เอสโตเนีย ฟินแลนด์ และพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศรัสเซีย
       ที่ราบใหญ่ตอนกลางเป็นที่ราบขนาดใหญ่ มีแม่น้ำไหลผ่านหลายสาย และตอนเหนือของที่ราบใหญ่ตอนกลางประกอบด้วยเปลือกโลกยุคหินเก่า เรียกว่า บอลติกชีลด์ (Baltic Shield)
       3. เขตที่ราบสูงตอนกลางในอดีตเป็นภูเขาสูง ต่อมาสึกกร่อนกลายเป็นที่ราบสูงและมีเทือกเขาเตี้ย ได้แก่ ที่ราบสูงเมเซตา มาซีฟซองตราลแบล็กฟอเรสต์ และที่ราบสูงโบฮีเมีย
       4. เขตภูเขาหินใหม่ตอนใต้เป็นเขตภูเขาหินใหม่ที่เปลือกโลกยังไม่สงบตัว ทำให้เกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟปะทุ
เทือกเขาที่สำคัญ ได้แก่ เทือกเขาพิเรนิส เทือกเขาแอลป์ที่มียอดเขาสำคัญ คือ ยอดเขามงบล็อง เทือกเขาแอเพนไนน์ เทือกเขาไดนาริกแอลป์ เทือกเขาคาร์เพเทียน และเทือกเขาคอเคซัสที่มียอดเขาเอลบรุสเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในทวีปยุโรป



   1.3 แหล่งน้ำในทวีปยุโรป
       1. แม่น้ำ ทวีปยุโรปมีแม่น้ำสายสำคัญดังนี้
 

แม่น้ำ

ความยาวโดยประมาณ                

ต้นกำเนิด

1. แม่น้ำวอลกา

3,689 กิโลเมตร                                       

เกิดจากเขตที่สูงทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของรัสเซีย ไหลลงมาทางใต้ลงสู่ทะเลแคสเปียน มีปริมาณน้ำมาก เดินเรือได้เกือบตลอดสาย

2. แม่น้ำดานูบ

2,850 กิโลเมตร

เกิดจากเขตที่สูงทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของเยอรมนี ไหลผ่านดินแดนต่าง ๆ เช่น ออสเตรเลีย สโลวาเกีย ฮังการี เซอร์เบีย มอนเตเนโกร บัลแกเรีย โรมาเนีย ลงสู่ทะเลดำ ปัจจุบันมีการสร้างเขื่อนหลายแห่งเพื่อนำน้ำมาใช้

3. แม่น้ำไรน์

1,319 กิโลเมตร

เกิดจากเขตเทือกเขาแอลป์ในสวิตเซอร์แลนด์ ไหลผ่านเยอรมนี ฝรั่งเศส ลงสู่ทะเลเหนือใกล้เมืองรอตเทอร์ดาม เนเธอร์แลนด์ เดินเรือได้ถึงเมืองบาเซิล สวิตเซอร์แลนด์

4. แม่น้ำนีเปอร์

2,285 กิโลเมตร

เกิดจากภูเขาด้านตะวันตกของกรุงมอสโก ไหลผ่านรัสเซีย เบลารุส และยูเครน ลงสู่ทะเลดำ ปัจจุบันมีการสร้างเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าและการชลประทาน

5. แม่น้ำเอลเบอ

1,165 กิโลเมตร

เกิดจากเขตที่สูงในสาธารณรัฐเช็ก ไหลผ่านเยอรมนีลงสู่ทะเลเหนือ

6. แม่น้ำลัวร์

1,020 กิโลเมตร

เกิดจากที่ราบสูงมาซีฟซองตราล ไหลไปทางทิศเหนือแล้ววกไปทางทิศตะวันตกลงสู่อ่าวบิสเคย์ในมหาสมุทรแอตแลนติก

7. แม่น้ำวิสตูลา

1,086 กิโลเมตร

เกิดจากเทือกเขาคาร์เพเทียน ไหลไปทางทิศเหนือลงสู่ทะเลบอลติก ปัจจุบันมีการขุดคลองเชื่อมต่อกับแม่น้ำโอเดอร์

8. แม่น้ำโอเดอร์

912 กิโลเมตร

เกิดจากเทือกเขาทางตะวันตกของสาธารณรัฐเช็ก ไหลผ่านโปแลนด์ไปรวมกับแม่น้ำไนเซของเยอรมนี

 

       2. ทะเลสาบน้ำจืด ได้แก่ ทะเลสาบทางภาคเหนือของทวีปในคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย ประเทศฟินแลนด์ ประเทศรัสเซีย และทะเลสาบในเขตภูเขาและที่สูงทางตอนกลางของทวีป



   1.4 ภูมิอากาศ
       1.4.1 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสภาพภูมิอากาศ
          1. ที่ตั้ง ทวีปยุโรปอยู่ในเขตละติจูดกลางเนื้อที่ส่วนใหญ่จึงอยู่ในเขตอบอุ่น และมีพื้นที่บางส่วนอยู่เหนือเส้นอาร์กติกเซอร์เคิลไปจึงอยู่ในเขตหนาวและมีธารน้ำแข็ง
          2. แนวเทือกเขา อยู่ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ – ตะวันตกเฉียงใต้ จึงไม่ขวางกั้นลมประจำตะวันตก ทำให้ได้รับอิทธิพลจากทะเลและได้รับน้ำฝนอย่างทั่วถึง
          3. ระยะห่างจากทะเล ทวีปยุโรปเป็นทวีปที่มีชายฝั่งทะเลยาว เว้าแหว่ง และอยู่ไม่ห่างจากทะเลมากนัก ทำให้ไม่มีภูมิอากาศแห้งแล้งแบบทะเลทราย
          4. กระแสน้ำ ทวีปยุโรปได้รับอิทธิพลจากกระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีมในมหาสมุทรแอตแลนติก กระแสน้ำอุ่นที่ไหลเข้าสู่ชายฝั่งของเกาะเกรตบริเตน เกาะไอซ์แลนด์ และประเทศนอร์เวย์ เรียกว่า กระแสน้ำอุ่นแอตแลนติกเหนือ ทำให้บริเวณชายฝั่งตะวันตกมีอากาศอบอุ่น ไม่หนาวเย็น
          5. ทิศทางของลมประจำ ทวีปยุโรปมีลมประจำตะวันตกพัดจากมหาสมุทรแอตแลนติกเข้าสู่ด้านตะวันตกของทวีป ทำให้ยุโรปตะวันตกมีฝนตกชุก อุณหภูมิระหว่างฤดูร้อนและฤดูหนาวไม่ต่างกันมาก

 

 

 

 

 

       1.4.2 เขตภูมิอากาศ (climatic regions)
       ทวีปยุโรปมีภูมิอากาศและพืชพรรณแตกต่างกัน 7 เขต ดังนี้
          1. ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย (BS)
          2. ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน (Cs)
          3. ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (Ca)
          4. ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นทวีป (Da)
          5. ภูมิอากาศแบบภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก (Cb)
          6. ภูมิอากาศแบบกึ่งขั้วโลกหรือไทกา (Dc)
          7. ภูมิอากาศแบบทุนดรา (ET)



   1.5 ทรัพยากรธรรมชาติ
       1. ดิน ดินที่อุดมสมบูรณ์พบในภาคใต้ของรัสเซีย ยูเครน โปแลนด์ สาธารณรัฐเช็ก เซอร์เบีย มอนเตเนโกร ออสเตรีย และลุ่มน้ำบริเวณที่ราบใหญ่ตอนกลางของทวีป
       2. ป่าไม้ แหล่งไม้เนื้ออ่อนขนาดใหญ่ของโลกอยู่ในบริเวณสวีเดน ฟินแลนด์ และรัสเซีย ในเขตยุโรปตะวันตก ยุโรปกลาง และยุโรปตะวันออก มีไม้สำคัญ ได้แก่ โอ๊กและบีช และยุโรปใต้มีไม้พุ่มขนาดเล็ก
       3. สัตว์ในธรรมชาติ มีอยู่น้อยมาก ปลาที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ปลาสเตอร์เจียน ที่นำไข่มาทำคาเวียร์
       4. พลังงาน ที่สำคัญ ได้แก่ ถ่านหิน น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ นิวเคลียร์ พลังงานน้ำ และแร่

 


2. ลักษณะทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของทวีปยุโรป
   2.1 ประชากร
       2.1.1 จำนวนประชากร
       ทวีปยุโรปมีประชากรประมาณ 736 ล้านคน มากเป็นอันดับ 4 ของโลก และมีอัตราเฉลี่ยความหนาแน่นของประชากรสูงเป็นอันดับ 2 คือ ประมาณ 71 คนต่อตารางกิโลเมตร
       2.1.2 เชื้อชาติ
       ชาวยุโรปส่วนใหญ่เป็นพวกผิวขาว (Caucasoid) แบ่งได้ 3 กลุ่ม ดังนี้
          1. กลุ่มนอร์ดิก
          2. กลุ่มแอลไพน์
          3. กลุ่มเมดิเตอร์เรเนียน
       2.1.3 ภาษา
       ภาษาของชาวยุโรปอยู่ในตระกูลภาษาอินโด – ยูโรเปียน แบ่งได้ 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้
          1. กลุ่มภาษาเยอร์มานิก
          2. กลุ่มภาษาโรแมนซ์หรือกลุ่มภาษาละติน
          3. กลุ่มภาษาสลาวิก
       2.1.4 ศาสนา
       ชาวยุโรปส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งแบ่งได้ 3 นิกาย ดังนี้
          1. นิกายโรมันคาทอลิก
          2. นิกายโปรเตสแตนต์
          3. นิกายออร์ทอดอกซ์
       2.1.5 การกระจายของประชากร
       ลักษณะการกระจายตัวของประชากรในทวีปยุโรปมีดังนี้
          1. เขตที่มีประชากรหนาแน่นมาก ได้แก่ บริเวณภาคตะวันตกและภาคกลางของทวีปยุโรป
          2. เขตที่มีประชากรเบาบาง ได้แก่ คาบสมุทรสแกนดิเนเวีย ประเทศฟินแลนด์ ตอนเหนือของรัสเซีย และบริเวณเขตเทือกเขาแอลป์ เทือกเขาพิเรนีส เทือกเขาคาร์เพเทียน



   2.2 เศรษฐกิจ
       1. การเกษตรประกอบด้วย
          1) การเพาะปลูก ที่สำคัญ ได้แก่ ข้าวสาลี ปลูกมากในยูเครน องุ่น ส้ม มะกอก ปลูกมากในโปรตุเกส สเปน อิตาลี ต้นแฟล็กซ์ ปลูกมากในโปแลนด์ เบลเยียม ไอร์แลนด์ และหญ้า ปลูกมากในนอร์เวย์

 

 

 

 

 

          2) การเลี้ยงสัตว์ มีการเลี้ยงสัตว์แตกต่างกันไปตามลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ
       2. การทำประมง มีแหล่งปลาชุกชุมที่เรียกว่า ดอกเกอร์แบงก์ (Dogger Bank) นอกจากนี้ยังมีอีกเขตประมงที่สำคัญ คือ ทะเลแคสเปียน ทะเลดำ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อ่าวบิสเคย์ และลุ่มแม่น้ำวอลกา
       3. การทำป่าไม้ แหล่งที่สำคัญอยู่ในเขตยุโรปเหนือ ซึ่งเป็นป่าสน
       4. การทำเหมืองแร่แร่ที่สำคัญ ได้แก่ ถ่านหินเหล็ก น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ บ็อกไซต์ และโพแทช
       5. อุตสาหกรรมแหล่งที่สำคัญ อยู่ในยุโรปตะวันตก เช่น ฝรั่งเศส เยอรมนี และเนเธอร์แลนด์ และในยุโรปตะวันออก ได้แก่ ประเทศรัสเซีย ยูเครน และเบลารุส
       นอกจากนี้ ยังมีอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งมีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ เช่น พระอาทิตย์เที่ยงคืนในนอร์เวย์ เขตเทือกเขาแอลป์ในสวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย ฝรั่งเศส และสถานที่ทางประวัติศาสตร์
       6. การค้า
       สินค้าเข้า ได้แก่ อาหาร วัตถุดิบ เพื่อการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม และน้ำมันเชื้อเพลิง
       สินค้าออก ได้แก่ ผลผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรม เช่น เครื่องจักร ยานยนต์



   2.3 การคมนาคมขนส่ง
   ลักษณะการคมนาคมขนส่งของทวีปยุโรปมีดังนี้
       1. ทางบกแบ่งออกเป็น 2 ทาง คือ
          1) ทางรถยนต์ มีการสร้างทางหลวงที่มีมาตรฐานสูง ซึ่งมีความยาวรวมกันประมาณ 1 ใน 5 ของทางรถยนต์โลก
          2) ทางรถไฟ ทวีปยุโรปมีเส้นทางรถไฟคิดเป็น 1 ใน 3 ของทางรถไฟในโลก โดยประเทศที่มีความยาวของทางรถไฟเฉลี่ยต่อเนื้อที่ของประเทศมากที่สุดคือเบลเยียม เมืองศูนย์กลางการคมนาคมทางรถไฟที่สำคัญ ได้แก่ ปารีส ลอนดอน เบอร์ลิน วอร์ซอ และมอสโก

 

 

 

 

       2. ทางน้ำมีเมืองท่าที่สำคัญ ได้แก่ อัมสเตอร์ดัม รอตเทอร์ดาม โกเตเบิร์ก กลาสโกว์ เซาแทมป์ตัน เนเปิลส์ มาร์แซย์ บาร์เซโลนา และการคมนาคมทางน้ำภายในทวีปมีแม่น้ำที่สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำไรน์ แซน ดานูบ วอลกา และโอเดอร์ มีคลองที่สำคัญ ได้แก่ คลองคีล คลองมีดี

 

 

 

 

 

       3. ทางอากาศทวีปยุโรปใช้การคมนาคมทางอากาศเป็นส่วนใหญ่ ศูนย์กลางการบิน ได้แก่ เมืองหลวง และเมืองใหญ่ของแต่ละประเทศ

 



แหล่งที่มา : สำนักพิมพ์ วัฒนาพานิช www.wpp.co.th