ภาษาไทย ป. 5 เรื่อง ชนิดของคำ การพูดอธิบายเหตุผล
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 15.7K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้

 

 

 

ชนิดของคำ แบ่งออกเป็น ๗ ชนิด ได้แก่ คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา คำวิเศษณ์ คำบุพบท คำสันธาน และคำอุทาน

คำนาม แบ่งเป็น ๕ ชนิด คือ

            ๑. คำนามทั่วไป (สามานยนาม) ใช้เรียกคน สัตว์ สิ่งของ และสถานที่ทั่วไป

            ๒. คำนามชี้เฉพาะ (วิสามานยนาม) ใช้เรียกสิ่งที่เป็นชื่อเฉพาะ เพื่อให้รู้ชัดเจน

            ๓. คำนามบอกหมวดหมู่ (สมุหนาม) ใช้แสดงหมวดหมู่ของสิ่งต่างๆ            

            ๔. คำนามบอกลักษณะ (ลักษณนาม) ใช้บอกลักษณะคำนามที่อยู่ข้างหน้า

            ๕. คำนามบอกความรู้สึกหรือบอกลักษณะการกระทำ (อาการนาม) ใช้แสดงความรู้สึก

 

คำสรรพนาม แบ่งออกเป็น ๖ ชนิด คือ

            ๑. คำสรรพนามแทนบุคคล (บุรุษสรรพนาม) ใช้แทนบุคคลที่ถูกกล่าวถึง แบ่งออกเป็น ๓ ชนิด ได้แก่  สรรพนามบุรุษที่ ๑ ใช้แทนตัวผู้พูด  สรรพนามบุรุษที่ ๒ ใช้แทนตัวผู้ที่พูดด้วย และ สรรพนามบุรุษที่ ๓ ใช้แทนตัวผู้ที่ถูกกล่าวถึง

            ๒. คำสรรพนามเชื่อมประโยค (ประพันธสรรพนาม) ใช้แทนคำนามหรือสรรพนามที่อยู่ข้างหน้า 

            ๓. คำสรรพนามแยกฝ่าย (วิภาคสรรพนาม) ใช้แทนคำนามที่กล่าวไปแล้ว เพื่อแสดงว่ามีหลายส่วน

            ๔. คำสรรพนามชี้เฉพาะ (นิยมสรรพนาม) ใช้แทนคำนามเพื่อบอกระยะใกล้ ไกล ให้ชัดเจน

            ๕. คำสรรพนามไม่ชี้เฉพาะ (อนิยมสรรพนาม) ใช้แทนคำนามที่ไม่กำหนดแน่นอน  

            ๖. คำสรรพนามที่ใช้เป็นคำถาม (ปฤจฉาสรรพนาม) ใช้แทนคำนามในประโยคคำถาม      

   

การคัดลายมือตัวหวัดแกมบรรจง เป็นการคัดลายมือที่ต้องการความเร็วและสวยงาม

 

การพูดอธิบายเหตุผล เป็นการสนับสนุนเรื่องที่พูดให้มีความชัดเจน น่าเชื่อถือ อาจใช้วิธีอ้างแหล่งที่มา ยกตัวอย่าง หรือเปรียบเทียบ

            ขั้นตอนในการพูดอธิบายเหตุผล ประกอบด้วย เตรียมเรื่องที่จะพูด  เขียนหรือจดหัวข้อพอสังเขป  ขั้นปฏิบัติ และ ขั้นประเมิน 

 

แหล่งที่มา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th