ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้
เงาะป่า หรือคนป่าซาไก เป็นคนป่าผิวสีดำ อาศัยอยู่ในป่าทึบบนภูเขาทางภาคใต้ของประเทศไทย ตลอดลงไปถึงประเทศมาเลเซีย บทละครเรื่อง เงาะป่า เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงรับ คนัง เด็กชายชาวเงาะป่าซาไกคนหนึ่งมาเป็นมหาดเล็กในพระองค์ทรงศึกษาภาษาเงาะจากคนัง แล้วทรงนำมาโยงกับเรื่องที่มีชาวบ้านเล่าถวาย ผูกเป็นโครงเรื่อง เงาะป่า ขึ้นมา โดยทรงกำหนดให้คนังเป็นตัวละครหนึ่งในเรื่อง ตอน คนังและไม่ไผ่ไปเที่ยวป่า
คำเชื่อมหรือสันธาน คือ คำที่ใช้เชื่อมใจความของประโยค ๒ ประโยคให้มีความต่อเนื่องกัน แบ่งเป็น ๔ ลักษณะ คือ
๑. คำเชื่อมหรือสันธานที่แสดงความคล้อยตามกัน
๒. คำเชื่อมหรือสันธานที่แสดงความขัดแย้งกัน
๓. คำเชื่อมหรือสันธานที่ให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
๔. คำเชื่อมหรือสันธานที่แสดงเหตุผล
การเขียนย่อความ คือ การจับใจความของเรื่องที่อ่าน แล้วนำมาเขียนใหม่ด้วยสำนวนภาษาของตนเอง โดยการเขียนต้องเปลี่ยนสรรพนามบุรุษที่ ๑ และ ๒ เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓ เสมอ
ภาษาไทยมาตรฐาน คือ ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารทั่วไปอย่างเป็นทางการ
ภาษาถิ่น คือ ภาษาที่ใช้พูดกันเฉพาะในท้องถิ่น มีความแตกต่างกันออกไปตามภูมิภาค
แหล่งที่มา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th