ภาษาไทย ป. 4 เรื่อง คำบอกจำนวน ลักษณนาม การจับใจความสำคัญ การประสมคำ คำพ้อง
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 15.6K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้

 

ผังมโนทัศน์ รามเกียรติ์

     

     

คำบอกจำนวน แบ่งเป็น๒ ลักษณะ คือ คำบอกจำนวนที่แน่นอน และคำที่ไม่ได้ระบุจำนวนที่แน่นอน

ลักษณนาม มีวิธีใช้ ๒ แบบ คือ ลักษณนามซ้ำชื่อ และลักษณนามไม่ซ้ำชื่อ

การจับใจความสำคัญ คือ การจับประเด็นสำคัญของเรื่องเพื่อให้เข้าใจว่าเรื่องที่อ่านต้องการบอกอะไร การตั้งคำถามว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร หรือการเขียนแผนภาพความคิด เป็นวิธีง่าย ๆ ในการจับใจความสำคัญ 

การประสมคำ คือ การสร้างคำโดยนำคำมูล ๒ คำขึ้นไปมารวมกัน คำใหม่ที่ได้อาจมีเค้าความหมายเดียว หรือเปลี่ยนความหมายใหม่ก็ได้ 

 

คำพ้อง

คำพ้องรูป

คำพ้องเสียง

คำพ้องความหมาย

เขียนเหมือนกัน

เขียนต่างกัน

เขียนต่างกัน

ออกเสียงต่างกัน

ออกเสียงเหมือนกัน

ออกเสียงต่างกัน

ความหมายต่างกัน

ความหมายต่างกัน

ความหมายเหมือนกัน

 

โขน เป็นศิลปะพื้นบ้านของไทยอย่างหนึ่ง ผู้ที่แสดงเป็นยักษ์หรือลิงจะต้องสวมหน้ากาก เรียกว่า “หัวโขน” ส่วนผู้ที่แสดงเป็นมนุษย์หรือเทวดา จะไม่สวมหน้ากาก ในการแสดงโขนแต่ละครั้ง ผู้แสดงจะ “ตีบท” ซึ่งก็คือการแสดงท่าทางไปตามบทที่มีผู้พากย์มาเจรจาขับร้องให้ 

 

แหล่งที่มา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th