ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้
1. การป้องกันโรค
คือ การลดอัตราความเจ็บป่วยจากโรคต่าง ๆ
การติดต่อโรค แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
– โดยตรง
– โดยอ้อม (พาหะ สัตว์ อากาศ)
หลักสำคัญในการป้องกันการแพร่กระจายโรค
– ป้องกันไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจาย
ถ่ายอุจจาระและปัสสาวะในส้วมที่ถูกสุขลักษณะ
ใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดปาก ปิดจมูกเวลาไอหรือจาม
ไม่บ้วนน้ำลาย หรือสั่งน้ำมูกลงพื้น
กำจัดแหล่งที่เป็นพาหะของโรค
– ป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย
ล้างมือให้สะอาดก่อนกินอาหาร
ดื่มน้ำสะอาด
กินอาหารที่ปรุงสุกใหม่
ไม่เข้าไปอยู่ในที่แออัด
ซักเสื้อผ้า ให้สะอาด
ระวังอย่าให้สัตว์กัด
ไม่ควรอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นโรคติดต่อ
ฉีดวัคซีนป้องกันโรค
– สร้างเสริมความต้านทานโรค
กินอาหารที่ดี มีประโยชน์
ออกกำลังกายและตรวจสุขภาพ
ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส
พักผ่อนอย่างเพียงพอ
ไม่เสพสารเสพติดทุกชนิด
2. อาหารหลัก 5 หมู่
– อาหารหมู่ที่ 1 ได้แก่ โปรตีน ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
– อาหารหมู่ที่ 2 ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต ช่วยให้ร่างกายได้รับพลังงาน
– อาหารหมู่ที่ 3 ได้แก่ เกลือแร่ ช่วยในการขับถ่าย บำรุงส่วนต่าง ๆ
– อาหารหมู่ที่ 4 ได้แก่ วิตามินช่วยในการขับถ่ายและป้องกันโรคต่าง ๆ
– อาหารหมู่ที่ 5 ได้แก่ ไขมัน ให้พลังงาน และความอบอุ่นแก่ร่างกาย
สุขนิสัยที่ดีในการบริโภคอาหาร ควรปฏิบัติดังนี้
– กินอาหารครบ 5 หมู่ และครบ 3 มื้อ
– ล้างมือก่อนกินอาหาร
– เคี้ยวให้ละเอียด ไม่กินรสจัด
– ไม่ออกกำลังกายหรืออาบน้ำทันทีหลังกินอาหาร
3. กินอาหารตามธงโภชนาการ
คือการกินอาหารให้เหมาะสมกับวัยของตนใน 1 วัน สำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปจนถึงผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
4. การแปรงฟันอย่างถูกวิธี
จะทำให้ปากและฟันสะอาด ไม่มีกลิ่นปาก ฟันไม่ผุ และเหงือกมีสุขภาพดี การแปรงฟันอย่างถูกวิธีมีดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 แปรงฟันหน้าบน–ล่าง
ขั้นตอนที่ 2 แปรงฟันกรามบน–ล่าง
ขั้นตอนที่ 3 แปรงฟันด้านบดเคี้ยว
5. การสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ
สามารถสร้างเสริมได้โดยการออกกำลังกายและทำกิจกรรมนันทนาการ โดยมีประโยชน์ดังนี้
– ช่วยลดอัตราการเป็นโรคต่าง ๆ
– เพิ่มประสิทธิภาพในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย
– ทำให้รูปร่างสัดส่วนดี
– เพิ่มความอ่อนตัว คล่องแคล่ว
การออกกำลังกาย
ควรเลือกการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับตัวเอง
ตัวอย่างการออกกำลังกาย เช่น
– วิ่งเหยาะ
– เดินเร็ว
– ว่ายน้ำ
– กระโดดเชือก
การพักผ่อน
ควรพักผ่อนเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียด มีดังนี้
– การนอนหลับ ควรนอนอย่างน้อยวันละ 8–10 ชั่วโมง และควรปฏิบัติดังนี้
นอนให้เป็นเวลา
นอนในท่าที่สบาย
ไม่ดื่มกาแฟ ชา ก่อนเข้านอน
จัดห้องนอนให้มีอากาศถ่ายเทสะดวก
ทำจิตใจให้สงบ
– การทำกิจกรรมที่ชื่นชอบและเพลิดเพลิน ทำให้จิตใจได้พักผ่อน
กิจกรรมนันทนาการ
ควรเลือกที่เหมาะสมกับตัวเรา และตอบสนองความต้องการ โดยจะทำให้มีร่างกายที่ดี เกิดความสามัคคี เพิ่มความรู้และประสบการณ์
ประเภทของกิจกรรมนันทนาการ มีดังนี้
– ศิลปะ
– กิจกรรมเข้าจังหวะ
– การแสดง
– เกมหรือกีฬาต่าง ๆ
– งานอดิเรก เช่น การเลี้ยงสัตว์
– การดนตรีและร้องเพลง
– การอ่าน พูด ฟัง เขียน
– กิจกรรมนอกเมือง เช่น การอยู่ค่ายพักแรม
– งานประเพณี
– กิจกรรมทางสังคม
แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th