บทเรียนออนไลน์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ทวีปแอฟริกา
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 53.4K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้





          ทวีปแอฟริกาเป็นแหล่งอารยธรรมของโลก และเมื่อประมาณ 500 ปีมานี้ก็มีความเจริญและเป็นศูนย์กลางทางด้านการค้าและวิทยาการ

1. ลักษณะทางกายภาพของทวีปแอฟริกา
          ที่ตั้ง อาณาเขต และขนาด ทวีปแอฟริกามีครึ่งหนึ่งอยู่ซีกโลกเหนือ และอีกครึ่งหนึ่งอยู่ซีกโลกใต้ โดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้
                    – ทิศเหนือ มีอาณาเขตติดต่อเกือบเป็นแผ่นดินเดียวกันกับทวีปยุโรป และเอเชีย โดยมีช่องแคบยิบรอลตาร์เป็นแนวแบ่งทวีปยุโรปกับทวีปแอฟริกา และคลองสุเอชแบ่งทวีปแอฟริกากับทวีปเอเชีย ดินแดนทางเหนือสุด คือ แหลมบง
                    – ทิศตะวันออก จดทะเลแดง อ่าวเอเดน และมหาสมุทรอินเดีย เกาะของทวีปแอฟริกาในมหาสมุทรอินเดีย ได้แก่ เกาะมาดากัสการ์ และช่องแคบโมซัมบิกคั่นระหว่างเกาะนี้กับดินแดนภาคพื้นทวีป
                    – ทิศใต้ จดมหาสมุทรอินเดีย และแอตแลนติก ดินแดนทางใต้สุด คือ แหลมอะกะลัส
                    – ทิศตะวันตก จดมหาสมุทรแอตแลนติก มีอ่าวกินีทางตอนกลางทวีป ดินแดนตะวันตกสุด คือ แหลมอัลมาดีเอส
          ทวีปแอฟริกามีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก มีเนื้อที่ 30,244,020 ตารางกิโลเมตร

          ลักษณะภูมิประเทศ แบ่งได้ 3 เขต ดังนี้
                    เขตที่ราบสูงและภูเขาสูง มีอยู่ 3 บริเวณ ได้แก่
                              – เขตที่ราบสูงและภูเขาทางตะวันตกเฉียงเหนือ
                              – เขตที่ราบสูงและภูเขาสูงทางตะวันออก
                              – เขตภูเขาและที่ราบสูงทางใต้
                    เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ มี 4 แห่ง ดังนี้
                               – ที่ราบลุ่มแม่น้ำไนล์




                               – ที่ราบลุ่มแม่น้ำไนเจอร์
                               – ที่ราบลุ่มแม่น้ำแซมบีซี
                               – ที่ราบลุ่มแม่น้ำคองโก
                     เขตที่ราบสูงทางตะวันตก เป็นที่ราบสูงหินเก่า มีอาณาเขตตั้งแต่ทะเลทรายสะฮาราถึงอ่าวกินี

          แหล่งน้ำในทวีปแอฟริกา เป็นแหล่งน้ำจืด ได้แก่
                    แม่น้ำ มีแม่น้ำสายสำคัญดังนี้
                              – แม่น้ำไนล์
                              – แม่น้ำคองโก 
                              – แม่น้ำไนเจอร์
                              – แม่น้ำแซมบีซี
                              – แม่น้ำออเรนจ์
                              – แม่น้ำลิมโปโป
                    ทะเลสาบน้ำจืด อยู่ 3 แห่ง คือ ทะเลสาบวิกตอเรีย ทะเลสาบแทนกันยีกา และทะเลสาบมาลาวี

          ภูมิอากาศ
                    ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสภาพภูมิอากาศ ได้แก่
                              – ที่ตั้ง เส้นศูนย์สูตรลากผ่านตอนกลางของทวีป ทำให้เนื้อที่ 3 ใน 4 ส่วนอยู่ในเขตร้อน อีก 1 ส่วนอยู่ในเขตอบอุ่น
                              – ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ทางตอนกลางของทวีปตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตร จึงได้รับอิทธิพลความชื้นและมวลอากาศจากทะเลน้อยมาก
                              – กระแสน้ำ บริเวณที่มีกระแสน้ำเย็นกรีนแลนด์ไหลมาบรรจบกับกระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีม บริเวณชายฝั่งของโมร็อกโกและดินแดนเวสเทิร์นสะฮารามีกระแสน้ำเย็นคะแนรีจะมีอากาศไม่ร้อนมาก แต่บริเวณที่กระแสน้ำอุ่นโมซัมบิกไหลผ่านฤดูหนาวจะมีอากาศอบอุ่นชื้น
                              – ทิศทางลมประจำ ลมค้าตะวันออกเฉียงเหนือพัดจากที่ต่างมาสู่ชายฝั่ง ล้วนมีผลต่อภูมิอากาศทั้งสิ้น
                    เขตภูมิอากาศ จำแนกได้ 6 เขต ดังนี้
                              – ภูมิอากาศแบบป่าฝนเขตร้อน มีพืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าทึบหรือป่าดิบ
                              – ภูมิอากาศร้อนชื้นแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อนหรือทุ่งหญ้าสะวันนา มีพืชพรรณธรรมชาติเป็นต้นไม้สลับทุ่งหญ้า






                              – ภูมิอากาศแบบทะเลทราย มีพืชพรรณธรรมชาติ เช่น อินทผลัม กระบองเพชร
                              – ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย มีพืชพรรณธรรมชาติเป็นแบบทุ่งหญ้าสเตปป์
                              – ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน มีพืชพรรณธรรมชาติ ได้แก่ มะกอก
                              – ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น มีพืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าไม้ผลัดใบ ใบไม้กว้าง และไม้พุ่ม

          ทรัพยากรธรรมชาติ
                     – ดิน ไม่ค่อยมีความสมบูรณ์ เพราะแร่และสารอาหารในดินย่อยสลายเร็ว
                     – ป่าไม้ พื้นที่ป่าไม้คิดเป็น 1 ใน 5 ของทั้งทวีป ส่วนใหญ่จะปลูกป่าเพื่อการดำรงชีวิต
                     – สัตว์ในธรรมชาติ ทวีปแอฟริกามีสัตว์หลากหลายชนิด แต่มีการล่าสัตว์ทำให้สัตว์ในธรรมชาติลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว จึงจัดตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งชาติ






                     – พลังงาน ส่วนใหญ่มาจากแหล่งพลังงาน ได้แก่ ถ่านหิน น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ พลังงานน้ำ และ นิวเคลียร์ซึ่งทวีปนี้มีแร่ยูเรเนียมจำนวนมาก
                     – แร่ เป็นสินค้าออกที่สำคัญ ได้แก่ ทองคำ ผลิตมากในแอฟริกาใต้ ซิมบับเว และกานา เพชร

2. ลักษณะทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของทวีปแอฟริกา
          ประชากร ความหนาแน่นของประชากรน้อย
                    จำนวนประชากร สถิติใน พ.ศ. 2553 ทวีปแอฟริกามีประชากรประมาณ 1,030 ล้านคน มีประชากร 34 คนต่อตารางกิโลเมตร
           เชื้อชาติ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
                     – กลุ่มผิวดำ เป็นเผ่าพันธุ์ดั้งเดิมของทวีปแอฟริกา เรียกว่า นิกรอยด์ มีผิวสีดำ ผมหยิกหย็อง
                     – กลุ่มผิวขาว เป็นเผ่าพันธุ์ดั้งเดิมที่มีผิวขาว

          ภาษา แบ่งเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้
                     – กลุ่มภาษาเซมิติก
                     – กลุ่มภาษาซูดาน
                     – กลุ่มภาษาบันตู
                     – กลุ่มภาษาเฮาซา

          ศาสนา บางส่วนที่นับถือศาสนา ได้แก่ คริสต์ศาสนา ศาสนาอิสลาม ศาสนาพราหมณ์–ฮินดู และมีส่วนน้อยนับถือศาสนายูดาห์ ซึ่งมีผู้นับถือคริสต์ศาสนาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

          การกระจายของประชากร
                    – เขตที่มีประชากรหนาแน่น เป็นบริเวณที่อากาศไม่ร้อนจนเกินไป มีดินอุดมสมบูรณ์ และอยู่ใกล้แหล่งน้ำ
                    – เขตที่มีประชากรเบาบาง เป็นบริเวณที่อากาศร้อนและแห้งแล้งมาก

          เศรษฐกิจ ทวีปแอฟริกามีอาชีพที่สำคัญ ดังนี้
                     การเกษตร ประกอบด้วย
                               การเพาะปลูก ซึ่งลักษณะการเพาะปลูกจะต่างกันตามสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศดังนี้
                                         – เขตร้อนชื้น มีภูมิอากาศร้อนชื้น และเพาะปลูกพืชเมืองร้อน
                                         – เขตลุ่มน้ำไนล์ เป็นเขตภูมิอากาศร้อนและแห้งแล้ง แต่ได้รับน้ำจากการชลประทาน
                                         – เขตเมดิเตอร์เรเนียน ปลูกพืชแบบเมดิเตอร์เรเนียน
                                         – เขตอบอุ่นชื้น ปลูกข้าวสาลี ข้าวโพด ไม้ผล

                     การเลี้ยงสัตว์ มีการเลี้ยงสัตว์อย่างแพร่หลาย ซึ่งสัตว์เลี้ยงที่สำคัญ ได้แก่
                               – โคพันธุ์พื้นเมือง เลี้ยงเพื่อใช้แรงงานและเป็นอาหาร
                               – โคพันธุ์ต่างประเทศ เลี้ยงไว้เพื่อใช้เนื้อและนม




                               – แพะและแกะ นิยมเลี้ยงแบบเร่ร่อน
                               – อูฐ ใช้เป็นพาหนะและเป็นอาหาร
                               – ลา ใช้เป็นพาหนะในเขตทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย
                    การล่าสัตว์ มีมากจนสัตว์ป่าลดลงอย่างรวดเร็ว จึงจัดทำเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งชาติขึ้น
                    การทำประมง ชาวแอฟริกันมีการทำประมงน้อย ส่วนแอฟริกาใต้จับปลามากที่สุดในทวีป ซึ่งบริเวณที่มีกระแสน้ำเย็นเบงเกวลาไหลผ่าน จะมีอาหารอุดมสมบูรณ์และมีปลาชุกชุม
                    การทำป่าไม้ เป็นแหล่งป่าไม้เมืองร้อนที่สำคัญ แต่ผลิตไม้ได้น้อยกว่าทวีปอื่น
                    การทำเหมืองแร่ แร่ที่สำคัญมีดังนี้
                              – เพชร ผลิตได้ประมาณ 3 ใน 4 ของโลก
                              – ทองคำ ผลิตทองคำมากกว่าครึ่งหนึ่งของโลก
                              – พลอย
                              – ถ่านหิน
                              – น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ
                              – เหล็ก
                              – ทองแดง
                    อุตสาหกรรม แอฟริกาใต้เป็นประเทศเดียวที่มีความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมในทวีป ส่วนประเทศอื่นก็มีอุตสาหกรรมแต่เบาบาง
                    การค้า มักเป็นผู้ส่งออกวัตถุดิบ และนำเข้าสินค้าสำเร็จรูปและอาหารทำให้เสียเปรียบดุลการค้าให้ประเทศที่ผลิตและส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ

          การคมนาคมขนส่ง มีดังนี้
                    – ทางบก เนื่องจากค่าทางเศรษฐกิจน้อยและประชากรน้อย การสร้างเส้นทางคมนาคมจึงไม่คุ้มค่ากับการลงทุน
                    – ทางน้ำ เนื่องจากทวีปแอฟริกาอยู่ในเส้นทางเดินเรือระหว่างทวีปต่าง ๆ หลายประเทศได้มีการปรับท่าเรือ จนมีเมืองท่าขนาดใหญ่หลายเมือง




                    – ทางอากาศ ประเทศที่มีระบบการคมนาคมขนส่งทางอากาศที่ดีในทวีปแอฟริกา ได้แก่ สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ อียิปต์ เอธิโอเปีย เคนยา ไนจีเรีย และกานา
 


 

แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th