บทเรียนออนไลน์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ทวีปยุโรป
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 44.9K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้





1. ลักษณะทางกายภาพของทวีปยุโรป
          ที่ตั้ง อาณาเขต และขนาด
                    – ทิศเหนือ จดมหาสมุทรอาร์กติก มีทะเลสำคัญ คือ ทะเลขาว ทะเลแบเร็นตส์
                    – ทิศตะวันออก มีแผ่นดินเดียวกับทวีปเอเชีย มีเทือกเขาและแม่น้ำยูรัล และทะเลแคสเปียน แบ่งสองทวีปนี้
                    – ทิศใต้ ติดต่อกับทวีปเอเชีย มีแนวเทือกเขาคอเคซัสและทะเลดำเป็นพรมแดน มีทะเลเมดิเตอร์เรเนียนคั่นกลางระหว่างทวีปยุโรปกับทวีปแอฟริกา คาบสมุทรด้านใต้ที่สำคัญ ได้แก่ คาบสมุทรไอบีเรีย คาบสมุทรอิตาลี คาบสมุทรบอลข่าน และคาบสมุทรไครเมีย ดินแดนใต้สุดของทวีป คือ แหลมตารีฟา ในช่องแคบยิบรอลตาร์
                    – ทิศตะวันตก จดมหาสมุทรแอตแลนติก มีทะเลสำคัญ คือ ทะเลนอว์วีเจียน ทะเลเหนือ และทะเลไอริช มีเกาะที่สำคัญ ได้แก่ เกาะเกรตบริเตน เกาะไอร์แลนด์ และเกาะไอซ์แลนด์ ดินแดนทางตะวันตกสุดของทวีป คือ แหลมโรกา ประเทศโปรตุเกส
          ยุโรปมีเนื้อที่ประมาณ 10,354,636 ตารางกิโลเมตร มีขนาดเล็กเป็นอันดับที่ 2 ของโลก

          ลักษณะภูมิประเทศ แบ่งออกเป็น 4 เขต ดังนี้
                    – เขตหินเก่าทางตะวันตกเฉียงเหนือ ยุคน้ำแข็งมีธารน้ำแข็งกัดเซาะเทือกเขาจนเป็นที่ราบสูง และชายฝั่งทะเลมีอ่าวขนาดเล็กที่มีน้ำลึกเรียกว่า ฟยอร์ด
                    – เขตที่ราบใหญ่ตอนกลาง ซึ่งตอนกลางประกอบด้วยเปลือกโลกยุคหินเก่า เรียกว่า บอลติกชีลด์
                    – เขตที่ราบสูงตอนกลาง ที่ราบสูงเมเซตา อยู่ทางตอนกลางของคาบสมุทรไอบีเรีย
                    – เขตภูเขาหินใหม่ตอนใต้ เป็นเขตภูเขาหินใหม่ที่เปลือกโลกยังไม่สงบทำให้เกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟปะทุ 




          แหล่งน้ำในทวีปยุโรป
                    แม่น้ำ มีการขุดคลองเชื่อมต่อแม่น้ำ และมีการสร้างเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าและการชลประทาน มีแม่น้ำสายสำคัญดังนี้
                              – แม่น้ำวอลกา
                              – แม่น้ำดานูบ ปัจจุบันมีการสร้างเขื่อนเพื่อนำน้ำมาใช้
                              – แม่น้ำไรน์




                              – แม่น้ำนีเปอร์ ปัจจุบันได้สร้างเชื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าและชลประทาน
                              – แม่น้ำเอลเบอ
                              – แม่น้ำลัวร์
                              – แม่น้ำวิสตูลา
                              – แม่น้ำโอเดอร์
                    ทะเลสาบน้ำจืด เกิดจากการกระทำของธารน้ำแข็ง




          ภูมิอากาศ
                     ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสภาพภูมิอากาศ ได้แก่
                               – ที่ตั้ง อยู่ในเขตละติจูดกลาง ถึงเขตละติจูดสูง เนื้อที่ส่วนใหญ่ของยุโรปอยู่ในเขตอบอุ่น
                               – ลักษณะภูมิประเทศ มีภูเขาทางตะวันตกเฉียงเหนือและตอนใต้ เนื้อที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ ไม่ขวางทิศทางของลมประจำตะวันตก จึงไม่มีภูมิอากาศแห้งแล้งแบบทะเลทราย
                               – กระแสน้ำ ด้านมหาสมุทรแอตแลนติกได้รับอิทธิพลของกระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีม ทำให้มีอากาศไม่หนาวเย็นเหมือนชายฝั่งทวีปอเมริกาเหนือ
                               – ทิศทางของลมประจำ มีลมประจำตะวันตกพัดจากมหาสมุทรแอตแลนติกเข้าสู่ด้านตะวันตกของทวีป ทำให้มีฝนตกชุก และมีอุณหภูมิในฤดูต่างๆ คล้ายกัน

          เขตภูมิอากาศ ทวีปยุโรปมีภูมิอากาศและพืชพรรณ 7 เขต ดังนี้
                    – ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย
                    – ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน
                    – ภูมิอากาศอบอุ่นชื้น
                    – ภูมิอากาศอบอุ่นชื้นภาคพื้นทวีป
                    – ภูมิอากาศแบบภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก
                    – ภูมิอากาศแบบกึ่งขั้วโลกหรือไทกา
                    – ภูมิอากาศแบบทุนดรา




          ทรัพยากรธรรมชาติ จำแนกได้ดังนี้
                    – ดิน พื้นที่ส่วนใหญ่มีดินอุดมสมบรูณ์
                    – ป่าไม้ มีแหล่งไม้เนื้ออ่อนขนาดใหญ่ของโลก
                    – สัตว์ในธรรมชาติ มีน้อยมาก เพราะขาดแคลนที่อยู่อาศัย และปัจจุบันมีปัญหามลพิษทางน้ำ ทำให้จับปลาได้น้อยลง
                    – พลังงาน ได้แก่ ถ่านหิน น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ นิวเคลียร์ พลังงานน้ำ และ แร่






2. ลักษณะทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของทวีปยุโรป
          ประชากร
                    จำนวนประชากร ทวีปยุโรปมีประชากรร้อยละ 11 ของโลก สถิติใน พ.ศ. 2553 ทวีปยุโรปมีประมาณ 739 ล้านคน มีความหนาแน่นของประชากรคือ ประมาณ 71 คนต่อตารางกิโลเมตร
          เชื้อชาติ แบ่งได้ 3 กลุ่ม ดังนี้
                    – กลุ่มนอร์ดิก มีรูปร่างสูงใหญ่ ผิวเนียน ผมสีทอง นัยน์ตาสีฟ้า กะโหลกศีรษะยาว




                    – กลุ่มแอลไพน์ มีรูปร่างเตี้ย ล่ำ ผมสีน้ำตาล กะโหลกศีรษะกลม
                    – กลุ่มเมดิเตอร์เรเนียน มีรูปร่างเล็ก ผิวคล้ำและเนียน ผมดำ นัยน์ตาสีฟ้า กะโหลกศีรษะกลม




          ภาษา จะอยู่ในตระกูลภาษาอินโด–ยูโรเปียน แบ่งได้ 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้
                    – กลุ่มภาษาเยอร์มานิก
                    – กลุ่มภาษาโรแมนซ์หรือกลุ่มภาษาละติน
                    – กลุ่มภาษาสลาวิก
          ศาสนา ส่วนใหญ่นับถือคริสต์ศาสนา โดยมีมีนิกายสำคัญ 3 นิกาย ดังนี้
                    – นิกายโรมันคาทอลิก
                    – นิกายโปรเตสแตนต์
                    – นิกายออร์ทอดอกซ์
          การกระจายของประชากร
                    – เขตที่มีประชากรหนาแน่นมาก เป็นบริเวณที่มีทรัพยากรดินและน้ำอุดมสมบูรณ์ ได้แก่ บริเวณภาคตะวันตกและภาคกลางของทวีปยุโรป
                    – เขตที่มีประชากรเบาบาง เป็นบริเวณที่มีอากาศหนาวเย็น ได้แก่ คาบสมุทรสแกนดิเนเวีย ฟินแลนด์ และตอนเหนือของรัสเซีย

          เศรษฐกิจ ทวีปยุโรปมีอาชีพที่สำคัญดังนี้
                    การเกษตร ประกอบด้วย
                              – การเพาะปลูก ผลผลิตจากการเพาะปลูกยังไม่เพียงพอต่อการบริโภคภายในทวีปจึงต้องสั่งจากต่างประเทศ
                              – การเลี้ยงสัตว์ เลี้ยงในเขตภูมิอากาศแบบทุนดรา เขตภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสเตปป์ เขตภูมิอากาศอบอุ่นชื้น
                              – การทำประมง มีแหล่งปลาชุกชุม ได้แก่ นอร์เวย์ สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ และไอซ์แลนด์
                              – การทำป่าไม้ มีการตัดไม้เพื่อนำไปใช้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ที่อยู่อาศัย และเส้นทางคมนาคม
                              – การทำเหมืองแร่ มีแร่หลายชนิด ได้แก่ ถ่านหิน เหล็ก น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ บ็อกไซต์ และ โพแทซ
                              – อุตสาหกรรม ที่สำคัญ ได้แก่ เหล็กและเหล็กกล้า เครื่องจักรกล เคมีภัณฑ์ สิ่งทอ และการต่อเรือและยังมีอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
                              – การค้า มีการรวมกลุ่มและจัดตั้งเป็นองค์การทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศหลายองค์การ เพื่อลดอัตราภาษีศุลกากร และเปิดตลาดการค้าให้กว้างขึ้น

          การคมนาคมขนส่ง ทวีปยุโรปมีลักษณะการคมนาคมขนส่ง ดังนี้
                   ทางบก แบ่งเป็น 2 ทาง คือ
                              – ทางรถยนต์ การสร้างทางหลวงที่มีมาตรฐานสูง
                              – ทางรถไฟ มีเส้นทางรถไฟยาว 1 ใน 3 ของทางรถไฟในโลกประมาณ 400,000 กิโลเมตร
                   ทางน้ำ การคมนาคมทางน้ำระหว่างทวีปโดยผ่านมหาสมุทรแอตแลนติกและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ส่วนการคมนาคมทางน้ำภายในทวีปมีการขุดเชื่อมคลองเพื่อเชื่อมแม่น้ำสายต่างๆ
                   ทางอากาศ ทวีปยุโรปนิยมใช้การคมนาคมทางอากาศ ศูนย์กลางการบินในทวีปยุโรป ได้แก่ เมืองหลวง และเมืองใหญ่ ๆ
 


 

แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th