ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้
1. แผนที่ คือ สิ่งที่แสดงลักษณะของพื้นผิวโลกและสิ่งต่าง ๆ บนพื้นผิวโลกโดยย่อขนาดให้เล็กลงตามมาตราส่วน และใช้สัญลักษณ์แทนสิ่งที่มีอยู่จริง
ประเภทของแผนที่ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
แผนที่อ้างอิง เป็นแผนที่หลักในการทำแผนที่ชนิดอื่น แผนที่อ้างอิงที่สำคัญ ได้แก่
- แผนที่ภูมิประเทศ แสดงลักษณะภูมิประเทศบนผิวโลก
แผนที่เฉพาะเรื่อง แสดงรายละเอียดเฉพาะเรื่อง
- แผนที่รัฐกิจ แสดงอาณาเขตทางการปกครอง
- แผนที่ภูมิอากาศ แสดงข้อมูลด้านภูมิอากาศ
- แผนที่ธรณีวิทยา แสดงอายุ ประเภท และการกระจายตัวของหินเปลือกโลก
- แผนที่การถือครองที่ดิน แสดงอาณาเขตที่ดินที่ใดที่หนึ่ง
- แผนที่พืชพรรณธรรมชาติ แสดงพืชพรรณธรรมชาติและการกระจายตัวของพืชพรรณ
- แผนที่ท่องเที่ยว จะแนะนำสถานที่
องค์ประกอบของแผนที่ ได้แก่
- ชื่อแผนที่ เป็นส่วนที่บอกว่าเป็นแผนที่อะไร
- ทิศทาง เพื่อให้ผู้ใช้แผนที่บอกความสัมพันธ์สิ่งที่ปรากฏถูกต้อง
- มาตราส่วน เปรียบเทียบระยะทางในแผนที่กับระยะทางจริง
- สัญลักษณ์และคำอธิบายสัญลักษณ์ ใช้แทนสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่บนโลกและต้องมีคำอธิบาย
ประโยชน์ของแผนที่ มีดังนี้
- ทำให้รู้จักและเข้าใจสถานที่ที่ยังไม่เคยไป
- ทราบการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิประเทศ และสิ่งก่อสร้าง
- ช่วยอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว
- ช่วยวางแผนและตัดสินใจในการดำเนินการในพื้นที่นั้น
- ช่วยเลือกเส้นทางและพาหนะที่เหมาะสม
2. เครื่องมือทางภูมิศาสตร์
- ลูกโลก คือ สิ่งจำลองโลก
- ตารางสถิติ คือ การแสดงข้อมูลทางภูมิศาสตร์ในรูปของตาราง
- กราฟและแผนภูมิ เขียนเพื่อแสดงการเปลี่ยนค่าตัวแปรหนึ่งเทียบกับค่าตัวแปรอื่น
- แผนภาพ คือ ภาพที่เขียนขึ้นเพื่อประกอบคำอธิบายปรากฏการณ์
แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th