ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้
1. ความหมายของสถาบันการเงิน เป็นหน่วยงานอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับระบบเงิน
สถาบันทางการเงินมีความสำคัญ ดังนี้
- เป็นตัวกลางในการระดมเงินออม
- ลดภาระเสี่ยงของผู้ออม
- สร้างสภาพคล่องให้สินทรัพย์ทางการเงิน
2. ประเภทของสถาบันการเงิน แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
สถาบันการเงินที่ประกอบกิจการธนาคาร ที่สำคัญของไทยมีดังนี้
- ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือธนาคารกลาง ออกมาตรการทางการเงินเพื่อควบคุมเศรษฐกิจของประเทศ
- ธนาคารพาณิชย์ เป็นสถาบันการเงินภาคเอกชน
- ธนาคารที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะ เป็นธนาคารที่ดำเนินการเฉพาะ
สถาบันการเงินที่ไม่ได้ประกอบกิจการธนาคาร ประกอบด้วย
- บริษัทเงินทุน เป็นการระดมเงินออมจากประชาชน และให้ดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าธนาคารพาณิชย์
- บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ระดมทุนโดยจัดตั้งกองทุนรวมและขายหน่วยลงทุน
- สหกรณ์การเกษตร ส่งเสริมการผลิตและการตลาด
- สหกรณ์ออมทรัพย์ รับฝากเงินจากสมาชิกและให้สมาชิกกู้ยืม
- บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ให้จำนองอสังหาริมทรัพย์ และรับซื้ออสังหาริมทรัพย์ตามสัญญาขายฝาก
- โรงรับจำนำ ประชาชนต้องมีสินทรัพย์มาค้ำประกันเงินกู้
- บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม จัดตั้งเพื่อให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่อุตสาหกรรมขนาดย่อม
- บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม เพื่อให้อุตสาหกรรมขนาดย่อมได้รับสินเชื่อจากสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น
3. ธนาคารกลาง มีบทบาทและหน้าที่ที่สำคัญดังนี้
- การออกธนบัตรและจัดพิมพ์
- การเป็นนายธนาคารของธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงิน
- การเป็นนายธนาคารที่ปรึกษาด้านนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล
- การบริหารเงินสำรองระหว่างประเทศ
- การรักษาเสถียรภาพทางการเงิน
4. ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยเศรษฐกิจ แต่ละหน่วยเศรษฐกิจมีดังนี้
- ผู้บริโภคหรือครัวเรือน ครัวเรือนเป็นทั้งผู้บริโภคและเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต
- ผู้ผลิตหรือหน่วยธุรกิจ การผลิตสินค้านี้ผู้ผลิตจะคำนึงถึงกำไรสูงสุด และตอบสนองความต้องการของสังคม
- สถาบันการเงิน ระดมเงินออมไปจัดสรรให้กู้ยืมเพื่อไปทำการค้าและประกอบธุรกิจในภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการก่อสร้าง
แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th