บทเรียนออนไลน์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 71K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้




1. เศรษฐศาสตร์
          ความหมายของเศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในการจัดการทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิตที่มีอยู่อย่างจำกัด

          ความสำคัญของเศรษฐศาสตร์ เกี่ยวกับเศรษฐกิจของชาติ และ การดำเนินชีวิตประจำวัน

2. ปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจทางเศรษฐศาสตร์ มีดังนี้




          - ทรัพยากรมีจำกัด
          - ความต้องการมีไม่จำกัด เศรษฐศาสตร์จึงเข้ามามีบทบาทในการจัดสรรทรัพยากร
          - ความขาดแคลน คือ ความไม่สมดุลระหว่างความต้องการใช้กับทรัพยากรที่มี
          - การเลือก เป็นการตัดสินใจเลือกใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด โดยคำนึงถึงความสำคัญและเกิดประโยชน์
          - ค่าเสียโอกาส คือ การนำทรัพยากรไปใช้ทางใดแล้ว จะใช้ในทางเลือกอื่นไม่ได้ เราจึงไม่ได้รับประโยชน์จากทางเลือกอื่นที่เราไม่ได้เลือก

3. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดอุปสงค์และอุปทาน
          อุปสงค์
          ความหมายและกฎของอุปสงค์
                    - เป็นความต้องการซื้อและความสามารถที่จะซื้อ
                    - หากราคาสินค้าหรือบริการลดลง ความต้องการซื้อสินค้าหรือบริการจะเพิ่มขึ้น หากราคาสินค้าหรือบริการสูงขึ้น ความต้องการซื้อสินค้าหรือบริการนั้นก็จะลดลง เรียกว่า กฎอุปสงค์




          ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดอุปสงค์ คือ
                    - ราคาของสินค้าและบริการ
                    - รายได้ของผู้บริโภค
                    - รสนิยมของผู้บริโภค
                   - ราคาของสินค้าชนิดอื่น ๆ

          อุปทาน
          ความหมายและกฎของอุปทาน
                    - ปริมาณความต้องการเสนอขายสินค้าและบริการ
                    - เมื่อราคาสินค้าและบริการลดลงผู้ผลิตจะนำสินค้าและบริการออกมาขายน้อยลง หากราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น ผู้ผลิตจะนำสินค้าและบริการออกมาขายจำนวนมากขึ้น เรียกว่า กฎอุปทาน




          ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดอุปทาน ประกอบด้วย
                   - กรรมวิธีในการผลิต
                   - ราคาของปัจจัยการผลิต
                   - การคาดคะเนของราคาสินค้า
                   - ภาษีหรือเงินช่วยเหลือ



แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th