ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้
หน้าที่ชาวพุทธ
๑. การเรียนรู้หน้าที่ของพระสงฆ์ในการปฏิบัติตามหลักพระธรรมวินัยและจริยาวัตรเหมาะสม
– บิณฑบาตตอนเช้า
– ทำวัตรสวดมนต์และเจริญภาวนา
– พิจารณาปัจจัย ๔
– ทำความสะอาดที่อาศัยและวัด
– ช่วยเหลือพระอุปัชฌาย์และพระเถระ
– ดูแลร่างกายและเครื่องใช้ของตนให้เรียบร้อย
– ทำตนให้น่าเคารพ
๒. การเป็นศิษย์ที่ดีตามหลักทิศเบื้องขวาในทิศ ๖ ครูอาจารย์และศิษย์ที่ปฏิบัติหน้าที่ได้ถูกต้องจะได้ชื่อว่าเป็นครูอาจารย์ที่ดีและศิษย์ที่ดี ศิษย์จะได้ความรู้และมีชีวิตเจริญก้าวหน้าต่อไป
๓. การปฏิบัติหน้าที่ชาวพุทธตามพุทธปณิธาน ๔ ในมหาปรินิพพานสูตรมีดังนี้
– ศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
– ปฏิบัติตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
– เผยแผ่หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
– ปกป้องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
๔. การศึกษาเรียนรู้องค์ประกอบของพระพุทธศาสนา ได้แก่
– มีพระพุทธเจ้า
– มีหลักคำสอน
– มีพระไตรปิฎก
– มีพระสงฆ์
– มีศาสนพิธี
– มีศาสนสถาน
การศึกษาการรวมตัวขององค์กรชาวพุทธ
องค์กรชาวพุทธ หมายถึง หน่วยงานที่รวมตัวกันของชาวพุทธเพื่อศึกษา เผยแผ่ และปกป้องพุทธศาสนา
การปลูกจิตสำนึกในด้านการบำรุงรักษาวัดและพุทธสถาน ชาวพุทธต้องช่วยกันรักษาและใช้ประโยชน์จากวัดและพุทธสถานให้ถูกต้องในฐานะเป็นที่พึ่งของประชาชน เพราะวัดและพุทธสถานมีความสำคัญในด้านต่างๆ
การเรียนรู้วิถีการดำเนินชีวิตของศาสนิกชนของศาสนาอื่น ๆ ศาสนิกชนแต่ละศาสนาจะมีวิถีปฏิบัติต่างกัน ชาวพุทธต้องเรียนรู้วิถีชีวิตของศาสนิกชนต่างศาสนาเพื่อปฏิบัติต่อกันอย่างเหมาะสมซึ่งจะทำให้สังคมสงบสุข
มารยาทชาวพุทธ หมายถึง กิริยาวาจาที่ชาวพุทธปฏิบัติต่อกันอย่างสุภาพเรียบร้อย ได้แก่
– การปฏิบัติตนต่อพระสงฆ์ในงานศาสนพิธีที่บ้าน
– การสนทนากับพระสงฆ์ตามฐานะ
– การแต่งกายในการประกอบศาสนพิธี
ศาสนพิธี ชาวพุทธควรเข้าร่วมศาสนพิธีเพื่อความเป็นมงคลของชีวิต และปฏิบัติให้ถูกต้องดังต่อไปนี้
การปฏิบัติตนในศาสนพิธี
– การปฏิบัติตนในพิธีทำบุญงานมงคล
– การปฏิบัติตนในพิธีทำบุญงานอวมงคล
การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ หมายถึง การยอมรับว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ตนนับถือ ได้เรียบเรียงแบบแผนพิธีนี้ไว้ในสมัยรัชกาลที่ ๖
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
ประวัติวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทย
วันมาฆบูชา เป็นวันคล้ายวันพระพุทธเจ้าประชุมสาวกครั้งแรก ซึ่งมีเหตุการณ์สำคัญ ได้แก่
– เป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๓
– มีพระสงฆ์สาวกเข้าประชุมโดยไม่ได้นัดหมาย ๑,๒๕๐ รูป
– พระสงฆ์สาวกล้วนเป็นพระอรหันต์
– เป็นพระสงฆ์ที่พระพุทธเจ้าอุปสมบทให้โดยตรง
วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน แต่เกิดต่างปีกันในช่วงเวลา ๘๐ ปี
วันอัฏฐมีบูชา เป็นวันคล้ายวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ
ประวัติและการปฏิบัติตนในวันธรรมสวนะและเทศกาลสำคัญ
วันธรรมสวนะ คือ วันพระ ในเดือนหนึ่ง มี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ วันแรม ๘ ค่ำ และวันแรม ๑๕ ค่ำ หรือวันแรม ๑๔ ค่ำ สมัยพุทธกาลเรียกวันนี้ว่า วันอุโบสถ
เทศกาลเข้าพรรษา เป็นวันที่พระสงฆ์ประจำวัดเป็นเวลา ๓ เดือนตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำเดือน ๘ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ เป็นช่วงหน้าฝน เพราะสมัยพุทธกาล มีพระสงฆ์เดินทางหน้าฝนเหยียบต้นข้าวและสัตว์เล็กในพื้นที่ของชาวบ้าน เสียหาย
เทศกาลออกพรรษา เป็นวันที่พระสงฆ์จำพรรษาครบ ๓ เดือน มีการทำพิธีปวารณาส่วนพุทธศาสนิกชนจะทำบุญรักษาศีล
ประเพณีการตักบาตรเทโวในวันเทโวโรหณะ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากเทวโลกหลังขึ้นไปโปรดพระมารดาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พุทธศาสนิกชนชาวไทยกำหนดให้มีการตักบาตรครั้งใหญ่ในวันนี้
การปฏิบัติตนในการฟังพระธรรมเทศนา ควรทำให้ถูกต้องตามขั้นตอน
การปฏิบัติตนเกี่ยวกับการแต่งกายไปประกอบศาสนพิธีที่วัด ให้ยึดหลักความสุภาพเรียบร้อย และสะอาด
การงดเว้นอบายมุข
– อบายมุข ๖ คือ บ่อเกิดของความเสื่อมเสียและหายนะ ควรงดเว้นความชั่วทุกอย่างที่สร้างความเดือดร้อนแก่ตัวเองและผู้อื่น
การบริหารจิตและการเจริญปัญญา
การฝึกบริหารจิตและเจริญปัญญาตามหลักสติปัฏฐานเน้นอานาปานสติ
ความหมายของการบริหารจิตและการเจริญปัญญา
– การบริหารจิต หมายถึง การฝึกจิตให้สงบ มีพลัง ไม่อ่อนไหวกับสิ่งกระทบ
– การเจริญปัญญา หมายถึง การพัฒนาให้เกิดปัญญา
วิธีปฏิบัติของการบริหารจิตและการเจริญปัญญาตามหลักสติปัฏฐานเน้นอานาปานสติ
สติปัฏฐานมี ๔ ข้อดังนี้
– การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย คือ ให้รู้เท่าทันอิริยาบถ
– การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา คือการตั้งสติกำหนดตามความรู้สึก
– การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต คือการตั้งสติกำหนดให้รู้เท่าทันสภาพของจิต
– การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม คือ การตั้งสติกำหนดตามปรากฏการณ์หรืออารมณ์ที่เกิดกับจิต
อานาปานสติ หมายถึง การกำหนดลมหายใจเข้า-ออก จนจิตเกิดสมาธิ
วิธีปฏิบัติของการเจริญปัญญา จิตที่ฝึกจนสงบและมีประสิทธิภาพ ได้แก่
– สุตมยปัญญา คือปัญญาจากการฟัง อ่าน และเรียน
– จินตามยปัญญา คือปัญญาจากการพิจารณาเรื่องที่เรียนรู้มาวิเคราะห์เป็นความรู้ใหม่
– ภาวนามยปัญญา คือปัญญาจากการลงมือปฏิบัติ
ประโยชน์ของการบริหารจิตและการเจริญปัญญา
ประโยชน์ของการบริหารจิต มีดังนี้
– ทำให้ใจสงบ สุขภาพกายแข็งแรง รักษาโรคบางอย่าง
– ทำให้บุคลิกดี อารมณ์มั่นคง หน้าตาแจ่มใส
– การบรรลุนิพพาน จะเกิดประโยชน์ระดับนี้ได้ต้องมีจิตสงบมาก
ประโยชน์ของการเจริญปัญญา มีดังนี้
– มีเหตุผล เข้าใจสิ่งต่าง ๆ แจ่มแจ้ง มีระเบียบ หลุดพ้นจากกิเลส
– ช่วยลดปัญหาสังคม
การพัฒนาการเรียนรู้ด้วยวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ ได้แก่
วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย เป็นวิธีพิจารณาจากปัญหาไปสู่เหตุปัจจัย มี ๒ แนว คือ
– คิดแบบปัจจัยสัมพันธ์
– คิดแบบสอบสวนหรือตั้งคำถาม
วิธีคิดแบบอริยสัจ หมายถึงวิธีคิดแบบแก้ปัญหา มี ๒ ลักษณะ คือ
– เป็นวิธีคิดตามเหตุและผล
– เป็นวิธีคิดที่ตรงจุด ตรงเรื่อง ตรงไปตรงมา
สัมมนาพระพุทธศาสนา หมายถึง การแลกเปลี่ยนความรู้ความเห็นเรื่องปัญหา มี ๓ แบบคือ
– การสัมมนาเกี่ยวกับปัญหาที่เป็นประเด็นน่าสนใจ
– การสัมมนาเกี่ยวกับหัวข้อตามสาระการเรียนรู้
– การสัมมนาเพื่อพัฒนาศักยภาพของครู ผู้สอน
ตัวอย่างการสัมมนาพระพุทธศาสนา ๒ หัวข้อ ได้แก่
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียงสรุปได้ ๒ ลักษณะคือ
– เศรษฐกิจพอเพียงในระดับแคบ หมายถึง การมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างพอประมาณ
– เศรษฐกิจพอเพียงในระดับกว้าง หมายถึง การที่สังคมหนึ่ง ผลิตสินค้าและบริการได้
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางพัฒนาประเทศในทางสายกลาง
องค์ประกอบของเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่
– ทางสายกลาง
– ความสมดุลและความยั่งยืน
– ความพอประมาณอย่างมีเหตุผล
– การมีภูมิคุ้มกันและรู้เท่าทันโลก
– การเสริมสร้างคุณภาพคน
หลักพุทธธรรมที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจพอเพียง มีตัวอย่างดังนี้
– ทิฏฐธัมมิกัตถะ คือ วิธีดำเนินชีวิตให้เกิดประโยชน์สุขในปัจจุบัน
– โภควิภาค การจัดสรรทรัพย์ที่หามาได้อย่างเหมาะสม
พระพุทธศาสนากับการพัฒนาที่ยั่งยืน เศรษฐกิจต้องเจริญไปพร้อมกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นจะต้องประสานแนวทางพุทธ ในทางพระพุทธศาสนาเน้นให้มนุษย์พัฒนาด้วยกฎแห่งเหตุผล แบ่งเป็น ๒ ขั้นตอนคือ
– ก่อนเข้าสู่กระบวนการพัฒนา ให้ศึกษาเรื่องมรรค ๘ เริ่มจากสัมมาทิฏฐิคือเชื่อว่าสิ่งทั้งหลายเป็นไปตามหลักเหตุผล
– กระบวนการพัฒนา ไตรสิกขา เป็นระบบที่ทำให้บุคคลพัฒนาอย่างสมบูรณ์และนำไปสู่สันติสุข
แหล่งที่มา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th