ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้
ความหมายของคำราชาศัพท์
คำสุภาพที่ใช้กับคน ๕ ระดับ คือ พระเจ้าแผ่นดิน พระบรมวงศานุวงศ์ พระสงฆ์ ข้าราชการ สุภาพชน
คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระมหากษัตริย์
คำนามราชาศัพท์
วิธีเปลี่ยนคำนามสามัญให้เป็นคำนามราชาศัพท์
๑) พระบรมมหาราช พระบรมราช พระบรม + นามสามัญ ใช้กับพระเจ้าแผ่นดินเท่านั้น
๒) พระราช/พระ + นามสามัญ ใช้กับพระเจ้าแผ่นดิน/เจ้านายในตำแหน่งที่ลดหลั่นกันลงมา ถ้านามนั้นประสมด้วยคำราชาศัพท์อยู่แล้ว จะไม่มี พระ นำหน้า เช่น ฉลองพระองค์ เสื้อทรง รถพระที่นั่ง แต่หากไม่มีนามราชาศัพท์อยู่ก่อน ต้องสร้างราชาศัพท์จากนามเดิม ใช้ พระราช/พระ + คำนามบาลีสันสกฤต หรือ คำนามภาษาอื่น + ราชาศัพท์คำใดคำหนึ่ง เช่น พระราชโทรเลข พระโทรทัศน์ กระเป๋าทรงถือ แก้วน้ำเสวย
๓) นามสามัญ + หลวง/ต้น หลวง ใช้กับคน สัตว์ และสิ่งของทั่วไป ต้น ใช้กับสัตว์และสิ่งของชั้นดี
๔) ลักษณะนาม พระองค์ ใช้กับพระเจ้าแผ่นดิน พระราชวงศ์ องค์ ใช้กับพระราชวงศ์ ส่วนในร่างกาย ของเสวย และเครื่องใช้ของกษัตริย์
คำกริยาราชาศัพท์
๑) ทรง + กริยาทั่วไป/นามทั่วไป/นามราชาศัพท์ เช่น ทรงรับ ทรงยินดี ทรงปืน (ยิงปืน) ทรงช้าง (ขี่ช้าง) ทรงพระกรุณา (มีกรุณา) ทรงพระสรวล (หัวเราะ) แต่ถ้า เป็น/มี นำหน้าคำราชาศัพท์อยู่แล้ว ไม่ต้องใช้ ทรง เช่น เป็นพระราชธิดา มีพระราชดำรัส
๒) เสด็จ + กริยาทั่วไป/นามราชาศัพท์ เช่น เสด็จไป เสด็จออก เสด็จพระราชสมภพ
๓) กริยาราชาศัพท์ที่บัญญัติขึ้นเฉพาะ ไม่ใช้ ทรง นำหน้า เช่น ผนวช (บวช) ตรัส (พูด) ประทาน (ให้)
๔) คำกริยาราชาศัพท์ที่ประสมขึ้นใช้ตามประเภทบุคคล เช่น สวรรคต สิ้นพระชนม์ มรณภาพ ถึงแก่อสัญกรรม ถึงแก่อนิจกรรม ล้วนหมายถึง ตาย ใช้กับบุคคลระดับชั้นต่างๆ
คำสรรพนามราชาศัพท์
- สรรพนามสำหรับบุคคลทั่วไป
คำวิเศษณ์ราชาศัพท์
คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระสงฆ์
คำนาม
- คำสรรพนาม
คำกริยา
คำสุภาพ
คำราชาศัพท์ที่ใช้กับบุคคลทั่วไป คือ คำสุภาพ เพื่อแสดงถึงความให้เกียรติ จึงต้องใช้ให้เหมาะสมตามกาลเทศะ ด้วยคำที่รื่นหู ไม่ห้วน ไม่ชวนให้คิดถึงสิ่งไม่ดี และไม่เป็นคำผวนที่มีความหมายหยาบคาย
สรุป
วัฒนธรรมดีงามอย่างหนึ่งของภาษาไทย คือ การใช้คำสุภาพตามฐานะของบุคคล หรือ คำราชาศัพท์
คำสำคัญ : คำสุภาพ คำราชาศัพท์
แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th