ภาษาไทย ป. 6 เรื่อง การใช้สำนวนและการแต่งคำประพันธ์
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 57.8K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้

 

 

การใช้สำนวนและการแต่งคำประพันธ์

 

 

สำนวนไทย

 

สำนวนไทย

 

 

สำนวนไทย คือ คำกล่าวสั้น ๆ มีความหมายเปรียบเทียบ เป็นข้อคิดและคติสอนใจ แบ่งได้เป็น ๓ ประเภท ดังนี้ 

๑. สำนวน
สำนวน คือ ถ้อยคำที่มีความหมายไม่ตรงตามตัว แต่เข้าใจโดยทั่วไป มักใช้เปรียบเทียบ เช่น เป่าหู 

๒. สุภาษิต
สุภาษิต คือ ถ้อยคำที่ดีงาม สอนให้กระทำหรืองดเว้นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น น้ำขุ่นอยู่ใน น้ำใสอยู่นอก 

๓. คำพังเพย
คำพังเพย คือ ถ้อยคำที่ใช้เปรียบเทียบหรือตีความให้เข้ากับเรื่อง อาจเป็นการติชมหรือแสดงความคิดเห็นที่แฝงด้วยข้อคิดเตือนใจ เช่น ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ

 

สำนวน สุภาษิต คำพังเพย

 

*การใช้สำนวน สุภาษิต คำพังเพย
     ๑. ใช้ให้ตรงความหมาย
     ๒. ใช้ให้ถูกต้องตรงตามของเดิม

 

คำขวัญ คำคม และคติพจน์

๑. คำขวัญ 

คำขวัญ คือ ถ้อยคำคล้องจองที่ให้ข้อคิด แนวทางปฏิบัติ หรือใช้เป็นคำขวัญประจำจังหวัดหรือโรงเรียน เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ

 

คำขวัญ 

 

๒. คำคม

คำคม คือ ถ้อยคำชวนคิด มักใช้เป็นข้อเตือนใจตนเองหรือเฉพาะกลุ่ม 

 

คำคม

 

๓. คติพจน์
คติพจน์ คือ ถ้อยคำเตือนใจ เป็นแบบอย่างให้บุคคลนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต

 

 

คติพจน์

 

การแต่งบทร้อยกรอง 

 

การแต่งบทร้อยกรอง

 

บทร้อยกรอง คือ ถ้อยคำที่เรียบเรียงโดยมีข้อบังคับในการแต่ง มีหลายชนิด เช่น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย ลิลิต โดยการแต่งบทร้อยกรองต้องมีความรู้ในเรื่องคำคล้องจองและคำสัมผัส

 

 

คำคล้องจองและคำสัมผัส

 

 

๑. คำคล้องจอง
คำคล้องจอง คือ คำที่ประสมด้วยเสียงสระและเสียงตัวสะกดเดียวกัน 

๒. สัมผัส
คำสัมผัส เป็นลักษณะบังคับของบทร้อยกรอง แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ได้แก่
     ๑. สัมผัสใน คือ คำสัมผัสที่อยู่ภายในวรรคเดียวกัน แบ่งได้เป็น ๒ ชนิด ดังนี้
          ๑) สัมผัสสระ คือ คำที่มีเสียงสระและเสียงตัวสะกดเดียวกัน  
          ๒) สัมผัสพยัญชนะ คือ คำที่มีเสียงพยัญชนะต้นเดียวกัน
     ๒. สัมผัสนอก คือ คำสัมผัสที่อยู่ต่างวรรคกัน เป็นได้เฉพาะสัมผัสสระเท่านั้น
     ๓. สัมผัสระหว่างบท คือ คำสัมผัสที่อยู่ต่างบทกัน เป็นได้เฉพาะสัมผัสสระเท่านั้น 

๓. กลอนสุภาพ

 

 

กลอนสุภาพ

 

 

กลอนสุภาพ คือ บทร้อยกรองประเภทกลอน มีหลายชนิด เรียกชื่อตามจำนวนคำในวรรค
หลักการแต่งบทร้อยกรองง่าย ๆ มีดังนี้

 

 

การแต่งบทร้อยกรอง

 

 

๑. กำหนดประเภทบทร้อยกรองที่จะแต่ง
๒. วางโครงเรื่อง
๓. เขียนเนื้อความในรูปร้อยแก้ว
๔. เรียบเรียงร้อยแก้วให้เป็นร้อยกรอง

 

*การแต่งกลอนแปด

ลักษณะบังคับ
     - บทหนึ่งมี ๒ บาท บาทแรกเรียก บาทเอก บาทที่สองเรียก บาทโท
     - บาทหนึ่งมี ๒ วรรค วรรคหนึ่งมี ๘ คำ

ฉันทลักษณ์หรือสัมผัสบังคับ
     - คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ ใช้เสียงวรรณยุกต์ได้ทุกเสียง แต่ไม่นิยมเสียงสามัญ
     - คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ใช้เสียงจัตวา เอก หรือโท ไม่ใช้เสียงสามัญและเสียงตรี
     - คำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ และ ๔ นิยมใช้เสียงสามัญ 

 

แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th