ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้
คำไทยแท้
คำไทยแท้ คือ คำภาษาไทยดั้งเดิม มีลักษณะดังต่อไปนี้
๑. เป็นคำพยางค์เดียวที่มีความหมายสมบูรณ์
๒. ใช้ตัวสะกดตรงตามมาตรา
๓. ใช้วรรณยุกต์เพื่อเปลี่ยนความหมายของคำ
๔. คำลักษณนามอยู่หลังคำบอกจำนวนนับ
๕. คำขยายอยู่หลังคำที่ถูกขยาย
๖. ไม่นิยมใช้ตัวการันต์และคำควบกล้ำ
๗. ไม่ใช้พยัญชนะ ฆ ฌ ญ ฎ ฏ ฑ ฒ ณ ธ ภ ศ ษ ฬ ยกเว้นบางคำ
๘. ซ้ำคำเพื่อให้ความหมายต่างกัน
๙. คำที่ใช้สระใอไม้ม้วน ๒๐ คำ และสระไอไม้มลายบางคำ
คำยืมภาษาต่างประเทศ
๑. คำยืมภาษาบาลีและสันสกฤต
มักใช้เฉพาะคำศัพท์ทางศาสนาและวรรณคดี โดยคำยืมภาษาบาลีและสันสกฤตมีลักษณะดังนี้
๑. เป็นคำหลายพยางค์
๒. ตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา
๓. นิยมใช้ตัวการันต์
๔. ประสมด้วยพยัญชนะ ฆ ฌ ญ ฎ ฏ ฑ ฒ ณ ธ ภ ศ ษ ฬ
๕. เป็นคำที่มีพยัญชนะสะกด ๒ ตัว แต่ออกเสียงเพียงตัวเดียว
การอ่านคำยืมภาษาบาลีสันสกฤต มีหลักดังนี้
๑. ไม่ออกเสียงสระที่กำกับอยู่ที่ตัวสะกด
๒. คำหลายพยางค์ ต้องออกเสียงพยัญชนะท้ายของพยางค์แรก
๒. คำยืมภาษาเขมร
ไทยกับเขมรมีการยืมคำมาใช้ตั้งแต่สมัยโบราณ โดยคำยืมภาษาเขมรมีลักษณะดังนี้
๑. มักขึ้นต้นด้วย บัง บัน บำ และ บรร
๒. มักขึ้นต้นด้วยเสียงสระ อำ
การอ่านคำยืมภาษาเขมร มีหลักดังนี้
๑. ออกเสียงตามรูปคำ
๒. ออกเสียงพยางค์ที่ ๒ เหมือนมี ห นำ
๓. คำยืมภาษาจีน
ไทยยืมคำภาษาจีนมาใช้ผ่านทางการค้าขายตั้งแต่สมัยโบราณ โดยคำยืมภาษาจีนมีลักษณะดังนี้
๑. เป็นคำพยางค์เดียว
๒. ใช้เสียงวรรณยุกต์แยกความหมายของคำ
การอ่านคำยืมภาษาจีน มีหลักดังนี้
๑. ออกเสียงให้ใกล้เคียงกับภาษาเดิม
๒. ปรับการออกเสียงให้เหมาะสมกับการออกเสียงของคนไทย
๔. คำยืมภาษาอังกฤษ
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ไทยติดต่อค้าขายกับอังกฤษจึงรับคำภาษาอังกฤษเข้ามาใช้เรียกเทคโนโลยีต่าง ๆ โดยลักษณะการนำคำภาษาอังกฤษมาใช้ในภาษาไทยมีดังนี้
๑. ใช้คำทับศัพท์ คือ การออกเสียงเหมือนคำภาษาเดิมโดยตรง เพราะยังไม่มีคำภาษาไทยใช้
๒. ใช้คำไทยที่บัญญัติขึ้นแทนคำภาษาอังกฤษ
๓. ใช้ทั้งคำภาษาอังกฤษเดิมและศัพท์บัญญัติ แบ่งเป็น ๒ กรณี ดังนี้
๑) มีคำภาษาไทยใช้แล้ว แต่นิยมใช้ทั้ง ๒ ภาษา
๒) มีคำภาษาไทยใช้แล้ว แต่นิยมใช้คำภาษาอังกฤษเพราะความคุ้นเคย
๔. ใช้คำไทยแทรกเข้าไป
นอกจากนี้ไทยเรายังยืมคำภาษาอื่น ๆ มาใช้อีกหลายภาษา เช่น ภาษาชวา ทมิฬ เปอร์เซีย โปรตุเกส พม่า
แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th