ภาษาไทย ป. 6 เรื่อง ประโยค
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 242.6K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้

 

 

ประโยค

 

 

ประโยค

 

ชนิดและหน้าที่ของคำ กลุ่มคำคำและพยางค์

 

 

พยางค์
พยางค์ คือ เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ จะมีหรือไม่มีความหมายก็ได้ แต่หากเปล่งออกมาแล้วมีความหมายจะเรียกว่า คำ

 

 

พยางค์

 

 

ส่วนประกอบของพยางค์
มี ๔ ส่วน ได้แก่ เสียงพยัญชนะ เสียงสระ เสียงวรรณยุกต์ และเสียงพยัญชนะท้ายหรือตัวสะกด (จะมีหรือไม่มีก็ได้)

 

ตัวอย่าง

พยางค์

เสียงพยัญชนะ

เสียงสระ

เสียงวรรณยุกต์

เสียงพยัญชนะท้ายหรือตัวสะกด

ถ้วย

ถอ

อัว

โท

ยอ

 

 

ส่วนประกอบของพยางค์

 

 

คำ
คำ คือ เสียงที่เปล่งออกมาแล้วมีความหมาย ประกอบด้วยพยางค์ตั้งแต่หนึ่งพยางค์ขึ้นไป ถือว่าเป็นหน่วยย่อยที่สุดของภาษาที่มีความหมาย

 

เกร็ดควรรู้

คำ ๑ พยางค์ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า คำพยางค์เดียว ส่วนคำที่มีมากกว่าหนึ่งพยางค์ นอกจากจะเรียกตามจำนวนพยางค์แล้ว ยังสามารถเรียกว่า คำหลายพยางค์ ได้อีกด้วย

 

กลุ่มคำหรือวลี

กลุ่มคำหรือวลี คือ กลุ่มของคำที่รวมกันแล้วมีความหมาย แต่ยังไม่สมบูรณ์ สามารถทำหน้าที่ได้ทั้งภาคประธาน ภาคแสดง และบทขยาย

 

ประโยค
ประโยค คือ กลุ่มคำที่มีใจความครบถ้วนสมบูรณ์ว่าใคร ทำอะไร หรือเกิดขึ้นอย่างไร

 

ส่วนประกอบของประโยค

 

 

ส่วนประกอบของประโยคภาคประธานและภาคแสดง

 

 

ประโยคหนึ่ง ๆ มีส่วนประกอบสำคัญ ๒ ส่วน ดังนี้

 

 

ประโยค ภาคประธาน ภาคแสดง

 

 

ประโยคสามารถแบ่งได้หลายรูปแบบ แต่ในที่นี้จะแบ่งตามโครงสร้างของประโยคได้เป็น ๓ ชนิด ดังนี้

 

ประโยคสามัญ
ประโยคสามัญหรือประโยคความเดียว คือ ประโยคที่มีประธานและกริยาหลักเพียงตัวเดียว จะมีบทขยายหรือไม่มีก็ได้

 

ประโยคสามัญประโยคสามัญ

 

 

ตัวอย่าง

ประโยค

ภาคประธาน

ภาคแสดง

ประธาน

บทขยายประธาน

กริยา

กรรม

บทขยายกรรม

บทขยายกริยา

คนเดิน

คน

-

เดิน

-

-

-

ต้นไม้ใหญ่หัก

ต้นไม้

ใหญ่

หัก

-

-

-

ลุงขับรถคันนั้นเร็ว

ลุง

-

ขับ

รถ

คันนั้น

เร็ว

 

ประโยครวม

 

 

ประโยครวม

 

 

ประโยครวมประโยครวม

 

 

ประโยครวม คือ ประโยคที่นำประโยคสามัญตั้งแต่ ๒ ประโยคขึ้นไปมารวมกัน โดยมีคำสันธานเป็นตัวเชื่อม แบ่งออกเป็น ๔ ชนิด ตามลักษณะเนื้อความ ได้แก่
๑. ประโยครวมที่มีเนื้อความคล้อยตามกัน
๒. ประโยครวมที่มีเนื้อความขัดแย้งกัน
๓. ประโยครวมที่มีเนื้อความเป็นเหตุเป็นผลกัน
๔. ประโยครวมที่มีเนื้อความเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง

 

ประโยคซ้อน
ประโยคซ้อน คือ ประโยคที่มีประโยคหลัก ๑ ประโยค เป็นใจความสำคัญ และมีประโยคย่อยทำหน้าที่ขยายเนื้อความประโยคหลัก โดยมีประพันธสรรพนามหรือคำบุพบทเป็นคำเชื่อม 

 

ข้อสังเกต ประโยครวมจะใช้คำสันธานเป็นคำเชื่อม ส่วนประโยคซ้อนจะใช้ประพันธสรรพนามหรือคำบุพบทเป็นคำเชื่อม

 

เกร็ดควรรู้

ประโยคหลักบางทีเรียกว่า มุขยประโยค (อ่านว่า มุก-ขะ-ยะ-ประ-โหยก)

ประโยคย่อยบางทีเรียกว่า อนุประโยค (อ่านว่า อะ-นุ-ประ-โหยก)

 

ประโยคเพื่อการสื่อสาร

 

 

ประโยคเพื่อการสื่อสาร

 

 

ประโยคเพื่อการสื่อสาร คือ ประโยคที่ใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน แบ่งเป็น ๖ ชนิด ได้แก่
๑. ประโยคบอกเล่า
๒. ประโยคคำถาม มักมีคำว่า ใคร อะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อใด ฯลฯ อยู่ในประโยค
๓. ประโยคปฏิเสธ มักมีคำว่า ไม่ ไม่ใช่ ไม่ได้ ฯลฯ อยู่ในประโยค
๔. ประโยคขอร้อง มักมีคำว่า โปรด กรุณา ช่วย ฯลฯ อยู่ในประโยค
๕. ประโยคคำสั่ง มักมีคำว่า ห้าม อย่า ต้อง จง ฯลฯ อยู่ในประโยค
๖. ประโยคแสดงความต้องการ มักมีคำว่า อยาก ต้องการ ปรารถนา ฯลฯ อยู่ในประโยค 

 

แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th