ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้
๑. พระพุทธศาสนาในประเทศเพื่อนบ้าน
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้านและการนับถือพระพุทธศาสนาของประเทศเพื่อนบ้านในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม ดังนี้
– กลุ่มประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา ได้แก่ พม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม
– กลุ่มประเทศที่ประชากรบางส่วนนับถือพระพุทธศาสนา ได้แก่ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
พระพุทธศาสนาในพม่า
พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้าสู่พม่าในพุทธศตวรรษที่ ๖ มีหลักฐานว่าชาวมอญได้ตั้งอาณาจักรรามัญประเทศ มีเมืองสะเทิมเป็นเมืองหลวงได้นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทมาเป็นเวลานานส่วนทางเหนือที่อาณาจักรพุกามนับถือนิกายตันตระ พระเจ้าอนุรุทธมีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูพระพุทธศาสนา เช่น
– ส่งสมณทูตไปติดต่อกับลังกาและนำพระไตรปิฎกฉบับสมบูรณ์จากลังกามาชำระตรวจทาน
– อุปถัมภ์ศิลปกรรมทางพระพุทธศาสนา
– ทำให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาของชาวพม่า
ใน พ.ศ. ๒๕๐๕ รัฐบาลนายพล เนวินได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตยเป็นสังคมนิยม ได้ประกาศไม่ให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ
พระพุทธศาสนาในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ชาวล้านช้างอยู่ในอาณาจักรอ้ายลาว ได้นับถือพระพุทธศาสนาที่ได้รับอิทธิพลมาจากจีน มีการทรงทำนุบำรุงศาสนา เลิกนับถือผีสางเทวดาและหันมานับถือพระพุทธศาสนา ลาวมีแดนติดต่อกับไทย มีพระภิกษุสามเณรจากลาวเข้ามาศึกษาพระปริยัติธรรมในไทยและพระมหากษัตริย์ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภ์ เมื่อได้รับเอกราชแล้ว ทางราชการได้ร่วมมือกับประชาชนฟื้นฟูพระพุทธศาสนาอย่างเต็มที่ ลาวอยู่ในการปกครองระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ทำให้พระสงฆ์เผยแผ่หลักธรรมไม่ได้ และได้รับการปฏิบัติเหมือนคนทั่วไป เมื่อเหตุการณ์บ้านเมืองลดความตึงเครียดลง จึงเริ่มฟื้นฟูพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
ประชาชนนิยมนับถือศาสนาพราหมณ์นิกายไศวะและนิกายไวษณพ และนับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายาน เพราะได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอินเดียและเป็นเมืองขึ้นของจีน พุทธศตวรรษที่ ๑๕ เกิดการจลาจล ทำให้การนับถือพระพุทธศาสนาลดลงมาก จนพระเจ้าดินห์โบดินห์รวบรวมประเทศเป็นปึกแผ่นได้สำเร็จ พระพุทธศาสนาก็ได้รับการฟื้นฟูและเจริญรุ่งเรืองอีกครั้ง มีการส่งสมณทูตไปขอคัมภีร์พระพุทธศาสนาจากจีน ระหว่าง พ.ศ. ๑๙๕๗–๑๙๗๔ จีนได้ทำลายวัดและคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา
ในช่วงที่เวียดนามถูกยึดครองจากฝรั่งเศส เพราะฝรั่งเศสส่งเสริมคริสต์ศาสนา โดยออกกฎเกณฑ์ต่าง ๆ จนมีการก่อตั้งพุทธสมาคมเพื่อความหลุดพ้นแห่งชาติ ในพ.ศ. ๒๐๗๖–๒๓๔๔ พระพุทธศาสนาได้กลายเป็นเครื่องมือแสวงหากำลังสนับสนุน ไม่นานนักคอมมิวนิสต์เข้ามายึดครองเวียดนาม พระพุทธศาสนาได้ถูกกีดกันอย่างเข้มงวด
พระพุทธศาสนาในสาธารณรัฐอินโดนีเซีย
อาณาจักรศรีวิชัยเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาจนถึงกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๖ อาณาจักรเสื่อมลง พระพุทธศาสนาก็ได้รับผลกระทบด้วย ศาสนาพราหมณ์จึงมาแทนที่ ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ กษัตริย์ของอาณาจักรมัชปาหิต หันไปนับถือศาสนาอิสลาม ห้ามเผยแผ่พระพุทธศาสนา และให้ศาสนาอิสลามเป็นอาณาจักรประจำชาติ ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๕ ได้รับความร่วมมือจากจีน และได้นับถือนิกายเถรวาท และท่านพุทธรักขิตะได้ติดต่อไปยังรัฐบาลพม่า ไทย ลาว กัมพูชา เพื่อส่งพระสงฆ์ไปช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนาปัจจุบันได้นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทอย่างแพร่หลาย
พระพุทธศาสนาในมาเลเซีย
พระพุทธศาสนาในเข้ามาประมาณพุทธศตวรรษที่ ๙–๑๐ ประชาชนนับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายานมานานหลายร้อยปี สมัยพ่อขุนรามคำแหง พ.ศ. ๑๘๓๗ สุโขทัยได้เผยแผ่ในแหลมมลายู แต่ประชาชนยังยึดมั่นอยู่ในพระพุทธศาสนานิกายมหายาน พ.ศ. ๑๗๕๐ กษัตริย์มลายูหันไปนับถือศาสนาอิสลาม และทำลายศาสนสถาน พระพุทธรูป และเทวรูป บังคับให้หันมานับถือศาสนาอิสลาม หลังจากที่ได้เอกราชจากอังกฤษใน พ.ศ. ๒๕๐๐ พระพุทธศาสนาในมาเลเซียได้รับการฟื้นฟู
พระพุทธศาสนาในสาธารณรัฐสิงคโปร์
พระพุทธศาสนาที่เผยแผ่เข้ามาสู่สิงคโปร์เป็นนิกายมหายาน ต่อมาพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทได้เผยแผ่เข้ามา นิกายที่คนนับถือมากที่สุดคือ นิกายมหายาน มีวัดทางพระพุทธศาสนาถึง ๑๑๒ วัด ส่วนวัดนิกายเถรวาทที่สำคัญ ๆ ได้แก่ วัดไทยและวัดลังกา
ความสำคัญของพระพุทธศาสนาที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน
แนวทางสร้างความเข้าใจอันดีกับมิตรประเทศของพระเจ้าอโศกมหาราชในศิลาจารึพระองค์ สรุปได้ดังนี้
– หลักสังคหวัตถุ 4 เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจไว้ในความสามัคคี
– หลักสาราณียธรรม 6 เป็นหลักคำสอนที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ทำให้มีความเคารพต่อกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
๒. ความสำคัญของพระพุทธศาสนา
ความสำคัญของพระพุทธศาสนาต่อสังคมไทย
– ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะเป็นรากฐานของวัฒนธรรม
– ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะเป็นเอกลักษณ์และมรดกของชาติ
ความสำคัญของพระพุทธศาสนากับการพัฒนาชุมชนและการจัดระเบียบสังคม
ความสำคัญของพระพุทธศาสนากับการพัฒนาชุมชน
การพัฒนาชุมชนด้านวัตถุ พระสงฆ์ไม่ได้ลงมือปฏิบัติเอง แต่เป็นผู้ริเริ่มและให้คำปรึกษา หลักธรรมของพระพุทธศาสนาก็มีส่วนช่วยในการส่งเสริมและพัฒนาชุมชนให้มีความเจริญก้าวหน้า เกิดความสงบสุขขึ้นในชุมชน เช่น อปริหานิยธรรม ๗ ดังนี้
– ประชุมกัน
– เข้าประชุม เลิกประชุม และช่วยกันทำกิจกรรม
– ไม่บัญญัติสิ่งที่ขัดต่อหลักการ
– เคารพนับถือและรับฟัง
– ไม่ข่มเหงรังแก
– เคารพปูชนียสถานและปูชนียวัตถุ
– อารักขา และปกป้องพระสงฆ์ผู้ทรงศีล
การพัฒนาชุมชนด้านจิตใจ ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระสงฆ์ด้วยความศรัทธา ต้องพัฒนาคนในชุมชนมีคุณธรรมและจริยธรรม หลักธรรมของพระพุทธศาสนาที่ช่วยกันสร้างสรรค์และพัฒนาชุมชนหรือสังคมด้านจิตใจ เช่น อารยวัฒิ ๕ ดังนี้
– งอกงามด้วยศรัทธา
– งอกงามด้วยศีล
– งอกงามด้วยสุตะ
– งอกงามด้วยปัญญา
ความสำคัญของพระพุทธศาสนากับการจัดระเบียบสังคมไทย มี ๒ วิธี ดังนี้
– การออกกฎหมาย เพื่อควบคุมความประพฤติในสังคม
– การให้การศึกษาอบรม เป็นการปลูกจิตสำนึกในสังคมให้รู้จักคุณและโทษ
๓. พุทธประวัติ
การผจญมาร ทรงค้นหาความจริงว่า ความทุกข์ของชีวิตเกิดขึ้นมาได้อย่างไร และจะทำอย่างไรเพื่อให้รอดพ้นทุกข์ได้ พระอาทิตย์ตกดิน จอมมารวสวัตดี ได้ขัดขวางการทำความดีของพระองค์ แต่พระองค์ก็เอาชนะได้ด้วยความนิ่ง จึงได้บำเพ็ญเพียรต่อได้บรรลุญาณ เมื่อตรัสรู้แล้วก็ยังนั่งประทับที่โคนต้นพระศรีมหาโพธินั้นเป็นเวลา ๗ วัน ระหว่างประทับมีเรื่องเล่าว่า พญามารได้แสดงเป็นสตรีเพศวัยต่าง ๆ เพื่อจะนำพระพุทธเจ้ามาอยู่ในอำนาจ แต่ไม่สำเร็จเพราะพระองค์ได้ทรงแสดงพระวาจาประกาศความเป็นผู้สิ้นกิเลสไม่สนพระทัย ธิดามารทั้ง ๓ ซึ่งมาร ในพระพุทธศาสนา ประกอบด้วย
– กิเลสมาร หมายถึง มารคือกิเลสยั่วยุให้คิดในกามคุณ
– ขันธมาร หมายถึง มารเป็นความหลงใหลที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น
– อภิสังขารมาร หมายถึง มารที่ขัดขวางมิให้หลุดพ้น
– เทวปุตตมาร หมายถึง มารคือเทวบุตร เหนี่ยวรั้งไม่ให้ล่วงพ้น
– มัจจุมาร หมายถึง มารคือความตาย
การตรัสรู้ ตรัสรู้อริยสัจ ๔ เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
การสั่งสอนธรรม ประกาศพระศาสนาและมีผู้เลื่อมใสศรัทธาจำนวนมาก ก่อให้เกิดพุทธบริษัท ๔ ในเวลาต่อมา การศึกษาเกี่ยวกับการผจญมาร การตรัสรู้ และการสั่งสอนธรรมของพระพุทธเจ้าทำให้เห็นถึงความพยายาม ตลอดจนวิธีการสั่งสอนธรรม ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้
๔. ชาดก
พระองค์ทรงสอนทุกเรื่องให้ข้อคิดและคติธรรม เช่น
– มิตตวินทุกะชาดก ให้ข้อคิดเรื่อง เป็นคนสอนยากและเห็นกงจักรเป็นดอกบัว ย่อมเป็นที่รำคาญของผู้อื่น
– ราโชวาทชาดก ให้ข้อคิดเรื่อง การเป็นผู้นำที่ดีต้องประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดีและเป็นที่พึ่งให้กับผู้ตามได้ จึงจะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
แหล่งที่มา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th