ภาษาไทย ป. 6 เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำ
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 442.2K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้

 

 

ชนิดและหน้าที่ของคำ

 

 

เรียนรู้เรื่องคำ

 

คำกริยากับคำวิเศษณ์คำนามกับคำสรรพนาม

 

 

คำอุทานคำบุพบทกับคำสันธาน

 

 

คำนาม
คำนาม คือ คำเรียกคน พืช สัตว์ สิ่งของ สถานที่ หรืออาการต่าง ๆ แบ่งได้ ๕ ชนิด ดังนี้
๑. สามานยนาม คือ คำนามที่ไม่เฉพาะเจาะจง

 

 

สามานยนาม

 

 

๒. วิสามานยนาม คือ คำนามที่ชี้เฉพาะเจาะจง 

 

วิสามานยนาม

 

 

๓. ลักษณนาม คือ คำนามที่บอกลักษณะของคำด้านหน้า

 

 

ลักษณนาม

 

 

ข้อสังเกต ลักษณนามมักตามหลังคำบอกจำนวน ส่วนสมุหนามมักอยู่หน้าคำนาม

 

๔. สมุหนาม คือ คำนามที่บอกหมวดหมู่ของคำที่อยู่ด้านหลัง

 

 

สมุหนาม

 

 

๕. อาการนาม คือ คำนามที่บอกกิริยาอาการของคน สัตว์ และสิ่งของ
     - การ + คำกริยา เพื่อบอกการกระทำ
     - ความ + คำวิเศษณ์ เพื่อบอกความรู้สึก

 

 

อาการนาม

 

 

อาการนาม

 

 

อาการนาม

 

 

หน้าที่ของคำนาม
๑. เป็นประธานอยู่ในภาคประธานของประโยค โดยเป็นผู้กระทำหรือแสดงอาการในประโยค
๒. เป็นกรรมอยู่ในภาคแสดงของประโยค โดยเป็นสิ่งที่ถูกกระทำ
๓. เป็นบทขยาย โดยขยายประธานในภาคประธานและขยายกรรมในภาคแสดง

 

 

หน้าที่ของคำนาม

 

 

คำสรรพนาม
คำสรรพนาม คือ คำที่ใช้แทนคำนามที่กล่าวมาแล้ว เพื่อจะได้ไม่ต้องกล่าวซ้ำอีก แบ่งได้ ๖ ชนิด ดังนี้   

๑. บุรุษสรรพนาม คือ คำสรรพนามที่ใช้เรียกบุคคล แบ่งได้ ๓ ลักษณะ ได้แก่
     - บุรุษที่ ๑ แทนผู้พูด
     - บุรุษที่ ๒ แทนผู้ฟัง
     - บุรุษที่ ๓ แทนผู้ที่ถูกกล่าวถึง

 

บุรุษสรรพนาม


๒. ปฤจฉาสรรพนาม คือ คำสรรพนามที่ใช้แสดงคำถาม มักใช้คำว่า ใคร อะไร ที่ไหน

 

 

ปฤจฉาสรรพนาม

 

 

๓. วิภาคสรรพนาม คือ คำสรรพนามที่ใช้ชี้ซ้ำหรือแยกส่วนคำนามที่อยู่ด้านหน้า มักใช้คำว่า ต่าง บ้าง กัน

 

 

วิภาคสรรพนาม

 

 

๔. อนิยมสรรพนาม คือ คำสรรพนามที่ใช้คำแสดงคำถามมาแทนคำนามโดยไม่กำหนดชี้เฉพาะ และไม่ถือว่าเป็นประโยคคำถาม

 

 

อนิยมสรรพนาม

 

 

๕. นิยมสรรพนาม คือ คำสรรพนามที่ใช้แทนคำนามเพื่อบอกระยะใกล้-ไกล มักใช้คำว่า นี่ นั่น โน่น

 

 

นิยมสรรพนาม

 

 

๖. ประพันธสรรพนาม คือ คำสรรพนามที่ใช้แทนคำนามด้านหน้าเพื่อเชื่อมกับอีกประโยคหนึ่งให้ต่อเนื่องกัน มักใช้คำว่า ผู้ ที่ ซึ่ง อัน

 

 

ประพันธสรรพนาม

 

 

หน้าที่ของคำสรรพนาม

 

 

คำสรรพนาม

 

 

๑. เป็นประธานในภาคประธานของประโยค
๒. เป็นกรรมในภาคแสดงของประโยค
๓. เป็นบทขยายในภาคประธานและภาคแสดงของประโยค

 

ข้อสังเกต คำสรรพนามที่ทำหน้าที่เป็นบทขยายของประโยค มักจะอยู่หลังกริยา เป็น อยู่ คือ 

 

 

คำสรรพนาม

 

 

๔. เป็นคำเชื่อมในประโยคซ้อน โดยใช้ประพันธสรรพนามเชื่อมประโยคให้มีความต่อเนื่องกัน 

 

คำสรรพนามที่ทำหน้าที่เป็นคำเชื่อมในประโยคซ้อน

 

 

คำกริยา
คำกริยา คือ คำที่แสดงการกระทำของภาคประธาน แบ่งได้ ๔ ชนิด ได้แก่
๑. อกรรมกริยา คือ คำกริยาที่มีความหมายสมบูรณ์ ไม่ต้องมีกรรมมารับ

 

 

อกรรมกริยา

 

 

๒. สกรรมกริยา คือ คำกริยาที่ต้องมีกรรมมารับความหมายจึงจะสมบูรณ์ 

๓. กริยานุเคราะห์ หรือกริยาช่วย คือ คำที่วางไว้หน้าคำกริยา เพื่อเสริมกริยาให้มีความหมายชัดเจนขึ้น

 

กริยานุเคราะห์

 

 

๔. วิกตรรถกริยา คือ คำกริยาที่มีความหมายไม่สมบูรณ์ ต้องใช้ส่วนเติมเต็ม ได้แก่ คำนาม คำสรรพนาม หรือคำวิเศษณ์มาขยายให้มีใจความสมบูรณ์

 

 

วิกตรรถกริยา

 

 

ข้อสังเกต คำกริยาที่ต้องมีส่วนเติมเต็ม ได้แก่ เป็น เหมือน คล้าย เท่า คือ มี เกิด ปรากฏ

 

หน้าที่ของคำกริยา
๑. เป็นกริยาหลักในภาคแสดงของประโยค

 

 

คำกริยา

 

 

๒. เป็นบทขยายกริยาหลักในภาคแสดงของประโยค

 

คำวิเศษณ์
คำวิเศษณ์ คือ คำที่ทำหน้าที่เป็นบทขยายส่วนต่าง ๆ ของประโยค แบ่งได้หลายชนิด เช่น
๑. ลักษณวิเศษณ์ ใช้บอกลักษณะต่าง ๆ
๒. กาลวิเศษณ์ ใช้บอกเวลา
๓. สถานวิเศษณ์ ใช้บอกสถานที่
๔. ประมาณวิเศษณ์ ใช้บอกจำนวนหรือลำดับ
๕. ปฤจฉาวิเศษณ์ ใช้ถามคำถาม
๖. ประติชญาวิเศษณ์ ใช้แสดงการขานรับ

 

 

ลักษณวิเศษณ์

 

 

ประติชญาวิเศษณ์

 

 

หน้าที่ของคำวิเศษณ์

 

 

คำวิเศษณ์

 

คำวิเศษณ์

 

 

๑. ขยายประธานในภาคประธานของประโยค
๒. ขยายกริยาในภาคแสดงของประโยค
๓. ขยายกรรมในภาคแสดงของประโยค
๔. ขยายบทขยายในภาคประธานและภาคแสดงของประโยค

 

คำบุพบท

 

 

คำบุพบท

 

 

คำบุพบท คือ คำที่ใช้เชื่อมคำหรือกลุ่มคำเพื่อแสดงความสัมพันธ์ภายในประโยค ทำหน้าที่ ดังนี้
๑. บอกความเกี่ยวข้องและสถานะของผู้พูดและผู้รับ มักใช้คำว่า กับ แก่ แด่ ต่อ

 

 

คำบุพบทบอกความเกี่ยวข้อง

 

 

๒. บอกตำแหน่งที่ตั้ง มักใช้คำว่า หน้า หลัง นอก ใน ใกล้ ไกล ฯลฯ

 

 

คำบุพบทบอกตำแหน่งที่ตั้ง

 

 

๓. บอกความเป็นเจ้าของ มักใช้คำว่า ของ แห่ง ฯลฯ

 

คำบุพบทบอกความเป็นเจ้าของ

 

 

๔. บอกช่วงเวลา มักใช้คำว่า ตั้งแต่ จน เมื่อ กระทั่ง ฯลฯ

 

 

คำบุพบทบอกช่วงเวลา

 

 

๕. บอกความประสงค์ มักใช้คำว่า เพื่อ สำหรับ ฯลฯ 

 

คำบุพบทบอกความประสงค์

 

 

คำสันธาน 

 

คำสันธาน

 

 

คำสันธาน คือ คำที่ใช้เชื่อมประโยคให้มีความสัมพันธ์กัน แบ่งได้ ๔ ประเภท ตามเนื้อความของประโยค ได้แก่
๑. เชื่อมเนื้อความคล้อยตามกัน มักใช้คำว่า และ พอ...ก็ แล้ว...ก็ เมื่อ...จึง ฯลฯ
๒. เชื่อมเนื้อความขัดแย้งกัน มักใช้คำว่า แต่ แต่ก็ กว่า...ก็ แต่ทว่า ฯลฯ
๓. เชื่อมเนื้อความเป็นเหตุเป็นผลกัน มักใช้คำว่า จึง เพราะ เพราะฉะนั้น ฯลฯ
๔. เชื่อมเนื้อความเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง มักใช้คำว่า หรือ หรือไม่ก็ มิฉะนั้น มิฉะนั้น...ก็ ฯลฯ

 

เกร็ดควรรู้

คำสันธานจะใช้ในประโยคความรวม

 

คำอุทาน

คำอุทาน คือ คำที่ใช้แสดงอารมณ์ความรู้สึกของผู้พูด แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด ได้แก่

 

 

คำอุทาน

 

 

๑. คำอุทานแสดงอารมณ์ความรู้สึก เช่น สงสัย ดีใจ ตกใจ เจ็บปวด
๒. คำอุทานเสริมบท คือ คำอุทานที่ใช้เสริมคำให้สละสลวยขึ้นโดยไม่มีความหมาย

 

เกร็ดควรรู้

คำอุทานแสดงอารมณ์ต้องมีเครื่องหมายอัศเจรีย์ (!) ๑ ตัว 

 

แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th