ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้
คำราชาศัพท์
คำราชาศัพท์ คือ คำเฉพาะที่ใช้กับพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ พระภิกษุสงฆ์ รวมถึงสุภาพชนด้วย
๑. คำราชาศัพท์ที่ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์
แบ่งเป็นคำนามราชาศัพท์ คำสรรพนามราชาศัพท์ และคำกริยาราชาศัพท์ เช่น
๑) คำนามราชาศัพท์ แบ่งเป็นหมวดต่าง ๆ ดังนี้
หมวดร่างกาย เช่น
คำราชาศัพท์ |
คำสามัญ |
พระเศียร พระเกศา พระพักตร์ พระเนตร |
ศีรษะ ผม หน้า ดวงตา |
หมวดเครือญาติ เช่น
คำราชาศัพท์ |
คำสามัญ |
พระราชบิดา, พระบิดา, พระชนก พระราชชนนี, พระมารดา, พระชนนี พระราชโอรส, พระโอรส พระราชธิดา, พระธิดา พระอัยกา พระอัยยิกา, พระอัยกี |
พ่อ แม่ ลูกชาย ลูกสาว ปู่, ตา ย่า, ยาย |
หมวดของใช้ เครื่องประดับ และเครื่องแต่งกาย เช่น
คำราชาศัพท์ |
คำสามัญ |
พระเขนย พระกลด พระสาง พระฉาย ฉลองพระเนตร |
หมอน ร่ม หวี กระจก แว่นตา |
๒) คำสรรพนามราชาศัพท์ ในที่นี้หมายถึงบุรุษสรรพนาม ซึ่งเป็นคำที่ใช้พูดติดต่อสื่อสารกัน
คำราชาศัพท์ |
คำสามัญ |
ข้าพระพุทธเจ้า ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท พระองค์ |
ฉัน (บุคคลธรรมดาพูดกับพระมหากษัตริย์ - สรรพนามบุรุษที่ ๑) คุณ (บุคคลธรรมดาพูดกับพระมหากษัตริย์ - สรรพนามบุรุษที่ ๒) เขา (บุคคลธรรมดาพูดถึงพระมหากษัตริย์ - สรรพนามบุรุษที่ ๓) |
๓) คำกริยาราชาศัพท์ แบ่งเป็นคำกริยาที่เป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว กับคำที่เติม ทรง ไว้ด้านหน้าเพื่อให้เป็นคำราชาศัพท์ ดังนี้
คำราชาศัพท์ |
คำสามัญ |
คำราชาศัพท์ |
คำสามัญ |
ประชวร บรรทม ประสูติ |
เจ็บป่วย นอน เกิด |
ทรงม้า ทรงดนตรี ทรงงาน |
ขี่ม้า เล่นดนตรี ทำงาน |
๒. หลักเกณฑ์การใช้คำราชาศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์
๑. คำกริยาบางคำเป็นคำราชาศัพท์อยู่แล้ว เช่น บรรทม เสวย โปรด ประชวร ไม่ต้องใช้ ทรง นำหน้า
๒. เติมคำว่า ทรง นำหน้าเพื่อทำคำกริยาสามัญ เช่น ทรงถือ ทรงวาด
๓. ใช้คำว่า พระบรม กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และใช้คำว่า บรม กับพระบรมราชินีนาถ
๔. คำบางคำมีลักษณะใกล้เคียงกัน ต้องใช้ให้ถูกต้อง เช่น
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว – พระเจ้าอยู่หัว
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ – สมเด็จพระบรมราชินีนาถ
เกร็ดควรรู้
คำราชาศัพท์มี ๒ ลักษณะ คือ คำที่เป็นคำราชาศัพท์อยู่แล้ว และคำที่ทำให้เป็นคำราชาศัพท์โดยเติมบางคำเข้าไปข้างหน้า เช่น ทรงแสดง พระฉาย พระราชดำรัส
๓. ประโยชน์ของการศึกษาคำราชาศัพท์
๑. ใช้คำราชาศัพท์ได้ถูกต้องเหมาะสมกับระดับของบุคคล
๒. เข้าใจข้อความที่มีคำราชาศัพท์ได้
๓. รู้คำศัพท์กว้างขวาง เป็นประโยชน์ต่อการอ่านวรรณคดีต่าง ๆ
แหล่งสืบค้นข้อมูล
นักเรียนสามารถศึกษาเรื่องคำราชาศัพท์เพิ่มเติมได้ที่ www.royin.go.th
คำสุภาพ
คำสุภาพ คือ คำที่สุภาพไพเราะ เหมาะสมกับกาลเทศะและฐานะของบุคคล
๑. ลักษณะของคำสุภาพ
๑) ไม่เป็นคำห้วน ๆ คำหยาบคาย คำด่า คำสแลง หรือคำผวนที่มีความหมายไปในทางที่ไม่ดี
๒) คำบางคำไม่ใช่คำหยาบคาย แต่ก็ไม่นิยมใช้ในภาษาเขียน เช่น ไฟไหม้ เป็นภาษาพูด อัคคีภัย เป็นภาษาเขียน
๒. การใช้คำสุภาพ
๑) ใช้ให้ตรงความหมายและระดับของบุคคล เช่น
คำสามัญ |
บุคคลทั่วไป |
พระสงฆ์ |
กษัตริย์ |
กิน ตาย |
กิน, รับประทาน ถึงแก่กรรม |
ฉัน มรณภาพ |
เสวย สวรรคต |
๒) คำสุภาพบางคำ นิยมใช้ในภาษาเขียน ไม่นิยมใช้ในภาษาพูด เช่น
ภาษาพูด (คำสามัญ) |
ภาษาเขียน (คำสุภาพ) |
หัว ตีน |
ศีรษะ เท้า |
๓) ใช้คำสรรพนามให้เหมาะสมตามเพศและฐานะ เช่น
ฉัน - บุคคลที่มีฐานะเท่ากัน และผู้ที่มีอายุเท่ากัน หรือต่ำกว่า
ท่าน - บุคคลที่มีฐานะสูงกว่า และผู้ที่มีอายุสูงกว่า
แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th