ภาษาไทย ป. 4 เรื่อง การสะกดคำ
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 190.8K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้

 

 

การสะกดคำ

 

 

๑. คำในแม่ ก กา

 

คำในแม่ ก กา

 

คำในแม่ ก กา คือ คำที่ไม่มีตัวสะกด

 

๒. มาตราตัวสะกด

มาตราตัวสะกด คือ เสียงพยัญชนะสุดท้ายของพยางค์หรือคำ แบ่งเป็น ๘ มาตรา ได้แก่

     ๑. แม่กก คือ คำที่มี ก ข ค ฆ เป็นตัวสะกด ออกเสียงเหมือน สะกด

     ๒. แม่กง คือ คำที่มี เป็นตัวสะกด ออกเสียงเหมือน สะกด

     ๓. แม่กด คือ คำที่มี จ ช ซ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ติ ตุ ตร ถ ท ธ รถ ศ ษ ส เป็นตัวสะกด ออกเสียงเหมือน สะกด

     ๔. แม่กบ คือ คำที่มี บ ป พ ฟ ภ เป็นตัวสะกด ออกเสียงเหมือน สะกด

     ๕. แม่กน คือ คำที่มี ญ ณ น ร ล ฬ เป็นตัวสะกด ออกเสียงเหมือน สะกด

     ๖. แม่กม คือ คำที่มี ม มิ เป็นตัวสะกด ออกเสียงเหมือน สะกด

     ๗. แม่เกย คือ คำที่มี เป็นตัวสะกด ออกเสียงเหมือน สะกด

     ๘. แม่เกอว คือ คำที่มี เป็นตัวสะกด ออกเสียงเหมือน สะกด

 

มาตราตัวสะกด

  

คำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา คือ คำที่มีตัวสะกดตรงตามชื่อมาตรา ได้แก่ คำที่มี ก ง ด บ น ม ย ว เป็นตัวสะกด

คำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา คือ คำที่มีตัวสะกดเป็นพยัญชนะตัวอื่นที่ไม่ตรงตามชื่อมาตรา แต่ออกเสียงเหมือนมาตราตัวสะกดนั้น ๆ ซึ่งมีเพียง ๔ มาตรา คือ แม่กก แม่กด แม่กบ และแม่กน

 

๓. การผันอักษร

 

การผันอักษร

 

อักษร ๓ หมู่ หรือไตรยางศ์ คือ การแยกพยัญชนะตามระดับเสียง แบ่งเป็น ๓ หมู่ คือ

 

อักษรสูง มี ๑๑ ตัว

ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห

อักษรกลาง มี ๙ ตัว

ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ

อักษรต่ำ มี ๒๔ ตัว

ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ

                                      

อักษร ๓ หมู่

 

คำเป็น มีลักษณะดังนี้

๑. ประสมด้วยสระเสียงยาวในแม่ ก กา หรือประสมด้วยสระอำ ใอ ไอ เอา

๒. มีตัวสะกดในแม่กง กน กม เกย เกอว

คำตาย มีลักษณะดังนี้

๑.  ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา

๒.  มีตัวสะกดในแม่กก กด กบ

  

คำตายในการผันอักษร

 

     ๓.๑ การผันอักษรสูง

คำเป็น ผันได้ ๓ เสียง มีพื้นเสียงเป็นเสียงจัตวา คำตาย ผันได้ ๒ เสียง มีพื้นเสียงเป็นเสียงเอก

  

พื้นเสียง

 

อักษรสูงคำตาย

 

 

     ๓.๒ การผันอักษรกลาง

คำเป็น ผันได้ ๕ เสียง มีพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ คำตาย ผันได้ ๔ เสียง มีพื้นเสียงเป็นเสียงเอก

     ๓.๓ การผันอักษรต่ำ

คำเป็น ผันได้ ๓ เสียง มีพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ คำตายที่ประสมสระเสียงสั้น ผันได้ ๓ เสียง มีพื้นเสียงเป็นเสียงตรี คำตายที่ประสมสระเสียงยาว ผันได้ ๓ เสียง มีพื้นเสียงเป็นเสียงโท

 

 

การผันอักษรต่ำคำตาย

 

การผันอักษร

 

 

๔. คำพ้อง

คำพ้อง คือ คำที่มีลักษณะบางอย่างร่วมกัน แบ่งออกเป็น ๓ ชนิด ได้แก่ คำพ้องรูป คำพ้องเสียง และคำพ้องความหมาย

 

 

คำพ้อง

 

 

คำพ้อง

 

 

     ๔.๑ คำพ้องรูป

คำพ้องรูป คือ คำที่เขียนเหมือนกัน แต่ออกเสียงต่างกัน และมีความหมายต่างกัน เช่น เพลา (เพ-ลา)/เพลา (เพลา)

     ๔.๒ คำพ้องเสียง

คำพ้องเสียง คือ คำที่ออกเสียงเหมือนกัน แต่เขียนต่างกัน และมีความหมายต่างกัน เช่น โจษ โจท โจทย์ โจทก์

ในภาษาไทยมีบางคำที่เขียนเหมือนกัน อ่านเหมือนกัน แต่ความหมายต่างกัน เราเรียกว่า คำพ้องรูปพ้องเสียง เช่น

 

คำ

คำอ่าน

ความหมาย

ขัน

ขัน

ภาชนะสำหรับตักหรือใส่น้ำ

ขัน

ขัน

ทำให้ตึงหรือแน่นด้วยการหมุน

 

 

คำพ้องรูปพ้องเสียง

 

 

     ๔.๓ คำพ้องความหมาย

คำพ้องความหมาย คือ คำที่มีความหมายเหมือนกัน แต่ออกเสียงและเขียนต่างกัน เรียกอีกอย่างว่าคำไวพจน์ เช่น

                     คำพ้องความหมาย                                                        ความหมาย

                     ผกา บุปผา มาลี มาลา สุมาลี                                               ดอกไม้

 

๕. คำที่มี ร ล เป็นพยัญชนะต้น

พยัญชนะต้น ร และ ล เมื่อประสมสระและตัวสะกดที่เหมือนกัน ต้องอ่านออกเสียงต่างกัน เพราะมีความหมายต่างกัน เช่น รัก-ลัก 

 

 

คำที่มี ร ล เป็นพยัญชนะต้น

 

 

๖. คำที่มีอักษรควบ

 

 

คำที่มีอักษรควบ

 

 

อักษรควบ คือ คำที่มีพยัญชนะต้น ๒ ตัว ประสมกับสระและตัวสะกดเดียวกัน เวลาอ่านจะออกเสียงควบกัน แบ่งเป็น ๒ ชนิด คือ

 

อักษรควบ

 

 

๑. อักษรควบแท้ คือ คำที่มีพยัญชนะตัวแรกเป็น ก ข ค ต ป ผ พ และพยัญชนะตัวหลังเป็น ร ล หรือ ประสมกับสระและตัวสะกดเดียวกัน เวลาอ่านจะออกเสียงควบกัน เช่น กระพรวน กลั่นแกล้ง แกว่งไกว

๒. อักษรควบไม่แท้ คือ คำที่มีพยัญชนะตัวแรกเป็น จ ซ ท ศ ส และพยัญชนะตัวหลังเป็น อ่านออกเสียงได้ ๒ ลักษณะ ได้แก่

     ๑) อ่านออกเสียงเฉพาะพยัญชนะตัวหน้าตัวเดียว ไม่ออกเสียงตัว ร ได้แก่ คำที่มีพยัญชนะตัวแรกเป็น จ ซ ศ ส และพยัญชนะตัวหลังเป็น เช่น จริง เศร้า ไซร้ สร้าง

     ๒) อ่านออกเสียง ซ ได้แก่ คำที่มีพยัญชนะตัวแรกเป็น และพยัญชนะตัวหลังเป็น เช่น ทรุดโทรม พุทรา

 

อักษรควบ

 

 

๗. คำที่มีอักษรนำ

 

อักษรนำ

 

 

     ๑. คำที่มี ห นำ คือ คำที่มี นำ ง ญ ณ น ม ย ร ล ว ฬ เวลาอ่านจะออกเสียงพยัญชนะตัวหลัง ให้มีเสียงวรรณยุกต์เหมือน เช่น เหงา หญ้า  หนี  หมอน

     ๒. คำที่มี อ นำ ย ในภาษาไทยมีใช้อยู่ ๔ คำ คือ อย่า  อยู่   อย่าง   อยาก

     ๓. คำที่มีอักษรสูงหรืออักษรกลางนำ โดยมีพยัญชนะตัวหลังเป็น ง ณ น ม ย ร ล ว เวลาอ่านจะออกเสียง ๒ พยางค์ พยางค์แรกมีเสียงอะกึ่งเสียง พยางค์หลังอ่านเหมือนคำที่มี นำ เช่น กนก ฉงน ปรอท

 

เกร็ดควรรู้

คำบางคำมีอักษรสูงหรืออักษรกลางนำ แต่พยางค์หลังไม่ออกเสียงเหมือนคำที่มี ห นำ ไม่จัดเป็นอักษรนำ เช่น กวี (กะ-วี) ขมา (ขะ-มา)

 

๘. คำที่ประวิสรรชนีย์และไม่ประวิสรรชนีย์

 

 

คำที่ประวิสรรชนีย์และไม่ประวิสรรชนีย์

 

 

คำที่ประวิสรรชนีย์ จะมีรูปสระอะ เวลาอ่านจะออกเสียงอะ เต็มเสียง เช่น  มะพร้าว กะปิ กระทะ

คำที่ไม่ประวิสรรชนีย์ จะไม่ปรากฏรูปสระอะ เวลาอ่านจะออกเสียงอะ กึ่งเสียง เช่น  ขยัน ฉลอง ชนิด ถนน อร่อย

            

๙. คำประสม

 

คำประสม

 

 

คำประสม คือ การนำคำตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปมาประสมกัน ได้คำที่มีความหมายใหม่หรือมีความหมายแนวเดิม เช่น น้ำ + ใจ = น้ำใจ

 

๑๐. คำย่อ

 

คำย่อ

 

 

คำย่อ คือ คำหรืออักษรที่ใช้แทนคำเต็ม มีเครื่องหมายมหัพภาค (.) กำกับ เวลาอ่านต้องอ่านคำเต็ม

 

๑๑. เครื่องหมายวรรคตอน

 

 

เครื่องหมายวรรคตอน

 

 

เครื่องหมายวรรคตอน คือ เครื่องหมายที่ใช้กำกับข้อความ เช่น

๑. “   ” เรียกว่า อัญประกาศ ใช้เขียนหน้าและหลังข้อความที่เป็นคำพูด หรือยกมาจากที่อื่น

๒. (   ) เรียกว่า นขลิขิต ใช้เขียนเพื่อขยายความข้อความที่อยู่ด้านหน้า

๓. ” เรียกว่า บุพสัญญา ใช้เขียนแทนข้อความที่ซ้ำกับด้านบน

๔. ! เรียกว่า อัศเจรีย์ ใช้เขียนหลังคำอุทานหรือคำเลียนเสียง

 

 

อัศเจรีย์

 

 

๕. ____ เรียกว่า สัญประกาศ ใช้ขีดเส้นใต้ข้อความที่ต้องการเน้น

๖. . เรียกว่า มหัพภาค ใช้กำกับคำย่อ ตัวเลขหัวข้อ และใช้คั่นระหว่างตัวเลขกับตัวเลข

๗. ฯ เรียกว่า ไปยาลน้อย ใช้เขียนละคำที่รู้จักกันทั่วไป

๘. ฯลฯ เรียกว่า ไปยาลใหญ่ ใช้เขียนหลังข้อความที่แสดงความเป็นประเภทเดียวกัน และมีอีกเป็นจำนวนมาก

๙. ๆ เรียกว่า ไม้ยมก ใช้เขียนหลังคำหรือข้อความที่ต้องการให้อ่านซ้ำ

๑๐. - เรียกว่า ยัติภังค์ ใช้เขียนแยกคำเมื่อมีเนื้อที่จำกัด หรือแยกพยางค์เพื่อบอกคำอ่าน

๑๑. / เรียกว่า ทับ ใช้เขียนระหว่างตัวเลข เพื่อแบ่งจำนวนย่อยออกมาจากจำนวนใหญ่

๑๒. ‘   ’ เรียกว่า อัญประกาศเดี่ยว ใช้เขียนกำกับข้อความที่อยู่ในเครื่องหมายอัญประกาศ

 

แหล่งสืบค้นข้อมูล

นักเรียนสามารถค้นคว้าเรื่อง เครื่องหมายวรรคตอน ได้จากหนังสือ หลักเกณฑ์การใช้เครื่องมายวรรคตอนและเครื่องหมายอื่น ๆ หลักเกณฑ์การเว้นวรรค หลักเกณฑ์การเขียนคำย่อ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน หรือเว็บไซต์ www.royin.go.th

 


แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th