บทเรียนออนไลน์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง พระพุทธ
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 78.8K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้



 

1. การสังคายนา เป็นการทำนุบำรุงศาสนา ซึ่งการสังคายนาพระไตรปิฎกทำก่อนสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช และหลังสมัยพระองค์ก็สังคายนาในอินเดียและประเทศอื่น 11 ครั้ง ซึ่งจากการสังคายนาพระไตรปิฎก 11 ครั้ง มีสาเหตุพอสรุปได้ คือ การสังคายนายุคแรก เพื่อความมั่นคงในพระพุทธศาสนา และ ยุคหลัง เพื่อจารึกพระไตรปิฎกเป็นลายลักษณ์อักษร และตรวจสอบความถูกต้อง 

 

การสังคายนา 

               

2. การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศไทย เกิดหลังการสังคายนาครั้งที่ 3 มีการส่งคณะสมณทูตเผยแผ่พระพุทธศาสนา 9 สาย ซึ่งสายที่ 8 มาที่ดินแดนสุวรรณภูมิ ทำให้ไทยนับถือพระพุทธศาสนา ส่วนพระพุทธศาสนาในไทยเริ่มรุ่งเรืองตั้งแต่ สมัยสุโขทัย สมัยล้านนา สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี สมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งก็คือปัจจุบัน 

 

คณะสมณฑูตทั้ง9 

 

3. ความสำคัญของพระพุทธศาสนาต่อสังคมไทย คือ

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ

– ชาวไทยนับถือพระพุทธศาสนา

– พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ

– ความหมายในสีธงชาติ

– ใช้พุทธศักราชเป็นทางการ และกำหนดวันหยุดพระพุทธศาสนา 

 

วิถีชีวิตคนไทย 

 

พระพุทธศาสนาเป็นสถาบันหลักของสังคมไทย 

 

สถาบันหลักของสังคม 

         

พระพุทธศาสนาเป็นสภาพแวดล้อมที่กว้างขวางและครอบคลุมสังคมไทย 

 

สภาพแวดล้อมทางกายภาพและสภาพแวดล้อมทางสังคม 

 

 พระพุทธศาสนามีสภาพแวดล้อมครอบคลุมสังคมไทย 

 

พระพุทธศาสนาเป็นหลักในการพัฒนาตนเองและครอบครัว เช่น

– อิทธิบาท

– วุฑฒิธรรม

– ฆราวาสธรรม 

 

พระพุทธศาสนาเป็นหลักในการพัฒนาตนเอง

 

4. พุทธประวัติ เป็นเรื่องราวของพระพุทธเจ้า ได้แก่

– การประสูติ  เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จพระราชดำเนิน 7 ก้าว มีดอกบัวใต้ฝ่าพระบาท ทรงยกหัตถ์ขวาและเปล่งวาจาว่า เราเป็นผู้เลิศ ยิ่งใหญ่ ประเสริฐที่สุด หาผู้ใดเสมอไม่มี ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของเรา เราจะไม่เกิดอีก                                                                      

พุทธประวัติ 

 

– การเห็นเทวทูต พระองค์จึงพอพระทัย และตัดสินใจจะผนวช 

 

เทวทูต

 

– การแสวงหาความรู้ ในช่วงศึกษาสำนักอาจารย์ต่างๆ และเอาส่วนดีมารวมกัน และเห็นว่าการทรมานกายอาจพ้นทุกข์ จึงบำเพ็ญทุกรกิริยา 

 

เจ้าชายสิทธัตถะนั่งสมาธิ

 

– การบำเพ็ญทุกรกิริยา พระอินทร์ได้ปรากฏกายถือพิณสามสายดีดให้ฟัง สายที่ 1 ขึงลวดตึงจนขาด สายที่ 2 หย่อนจนดีดไม่ดัง สายที่ 3 ไม่หย่อน ไม่ตึง ขึงพอดี จึงเกิดเสียงไพเราะ จึงบำเพ็ญเพียรทางจิตแทน หลังตรัสรู้ ทรงเริ่มประกาศศาสนา 45 ปีจึงปรินิพพาน วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6

 

บำเพ็ญทุกรกิริยา

 

5. ชาดก เป็นเรื่องราวก่อนที่จะประสูติและตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าและให้ข้อคิดหรือคติเตือนใจมากมาย  เช่น

– อัมพชาดก มีคติคือ ผู้ไม่รู้คุณครูอาจารย์เป็นคนเสื่อม ทำการงานก็เสื่อม ส่วนคนกตัญญูรู้คุณคนเป็นคนเจริญ

 

ชากด 

 

– ติตติรชาดก  มีคติคือ นรชนใดฉลาดในธรรม นอบน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ ย่อมได้รับการสรรเสริญในปัจจุบันนี้และในอนาคต                                                                                                                                                                                              

สัตว์ 3 สหาย 

 

แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th