ภาษาไทย ป. 2 เรื่อง อักษร และการประสมคำ
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 144.2K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้

 

อักษรและการประสมคำ

 

 

อักษรไทย
๑. พยัญชนะ มี ๔๔ ตัว ดังนี้

 

แบ่งตามระดับพื้นเสียงได้ ๓ หมู่ เรียกว่า อักษร ๓ หมู่ หรือ ไตรยางค์
 

อักษรสูง มี ๑๑ ตัว

ข   ฃ   ฉ   ฐ   ถ   ผ   ฝ   ศ   ษ   ส   ห

วิธีจำ  ไข่ ใส่ ถุง ฝา ฉิ่ง หก ผาง ฐาน เฃต ศึกษา

อักษรกลาง มี ๙ ตัว

ก   จ   ฎ   ฏ   ด   ต   บ   ป   อ

วิธีจำ   ไก่ จิก เฎ็ก ฏาย (เด็ก ตาย) บน ปาก โอ่ง

อักษรต่ำมี ๒๔ ตัว

ค   ฅ   ฆ   ง   ช   ซ  ฌ  ญ  ฑ   ฒ   ณ   ท   ธ   น   พ  ฟ   ภ   ม   ย   ร   ล  ว   ฬ   ฮ

วิธีจำ  พยัญชนะที่เหลือจากอักษรสูงและอักษรกลาง

 

การใช้พยัญชนะในภาษาไทย

     ๑. พยัญชนะไทยส่วนใหญ่อยู่ในบรรทัด ยกเว้น ช ซ ป ฝ ฟ ศ ส ฬ ฮ ที่มีหางยาวเหนือบรรทัด และ ญ ฎ ฏ ฐ ที่มีหางยาวลงมาใต้บรรทัด

     ๒. พยัญชนะไทยส่วนใหญ่มีหัวเป็นวง แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ

- พยัญชนะหัวเข้า มี ๑๖ ตัว ได้แก่ ง ฌ ญ ฒ ณ ด ต ถ ผ ฝ ย ร ล ว ส อ ฮ

- พยัญชนะหัวออก มี ๒๖ ตัว ได้แก่ ข ฃ ค ฅ ฆ จ ฉ ช ซ ฎ ฏ ฐ ฑ ท น บ ป พ ฟ ภ ม ร ศ ษ ห ฬ

     ๓. พยัญชนะไทยที่ไม่มีหัว มี ๒ ตัว คือ ก และ ธ

 

๒. สระ ตามตำราเดิมกล่าวว่าสระไทยมี ๒๑ รูป ๓๒ เสียง ได้แก่

 

สระ

  

ปัจจุบันราชบัณฑิตยสถานระบุว่า มีเพียง ๒๑ หน่วยเสียง ดังนี้

สระเดี่ยว (๑๘)

สระประสม (๓)

สระเกิน (๘)

อะ อา อิ อี อุ อู อึ อือ เอะ เอ แอะ แอ โอะ โอ เอาะ ออ เออะ เออ

เอียะ-เอีย   ž  ๑ หน่วย

เอือะ-เอือะž  ๑ หน่วย

อัวะ-อัว     ž  ๑ หน่วย

อำ ไอ ไอ เอา ฤ ฤา ฦ ฦา(มีเสียงที่ซ้ำกับสระเดี่ยว)

 

สระแบ่งได้เป็น ๒ ชนิด (อ้างอิงตามตำราเดิม )

 

๑. สระเสียงสั้น (๑๘ เสียง)

๒. สระเสียงยาว (๑๔ เสียง)

 -ะ

อ่านว่า

อะ

 -า

อ่านว่า

อา

 -ิ

อ่านว่า

อิ

 -ี

อ่านว่า

อี

 -ึ

อ่านว่า

อึ

 -ื

อ่านว่า

อือ

 -ุ

อ่านว่า

อุ

 -ู

อ่านว่า

อู

 เ-ะ

อ่านว่า

เอะ

 เ-

อ่านว่า

เอ

 แ-ะ

อ่านว่า

แอะ

 แ-

อ่านว่า

แอ

 โ-ะ

อ่านว่า

โอะ

 โ-

อ่านว่า

โอ

 เ-าะ

อ่านว่า

เอาะ

 -อ

อ่านว่า

ออ

 เ - อะ

อ่านว่า

เออะ

 เ-อ

อ่านว่า

เออ

 เ-ียะ

อ่านว่า

เอียะ

 เ-ีย

อ่านว่า

เอีย

 เ-ีอะ

อ่านว่า

เอือะ

 เ-ือ

อ่านว่า

เอือ

 -ัวะ

อ่านว่า

อัวะ

 -ัว

อ่านว่า

อัว

 ฤ

อ่านว่า

รึ

 ฤา

อ่านว่า

รือ

 

 

๑. สระเสียงสั้น (๑๘ เสียง)

๒. สระเสียงยาว (๑๔ เสียง)

 ฦ

อ่านว่า

ลึ

 ฦา

อ่านว่า

ลือ

 -ำ

อ่านว่า

อำ

 

 ใ

อ่านว่า

ไอ

 

 ไ

อ่านว่า

ไอ

 

 เ-า

อ่านว่า

เอา

 

 

การใช้สระในภาษาไทย
     ๑. สระคงรูป คือ สระที่ไม่เปลี่ยนรูป เมื่อประสมกับพยัญชนะ เช่น

 

ร       +        -ิ        +        ม        =        ริม            บ        +        -ัว        =       บัว

  

     ๒. สระเปลี่ยนรูป คือ สระที่เปลี่ยนรูป เมื่อประสมกับพยัญชนะมี ๔ ตัว ดังนี้

 

สระเปลี่ยนรูป

 

 

     ๓. สระลดรูป คือ สระที่ลดรูป เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ เช่น

 

สระลดรูป

 

๓. วรรณยุกต์
วรรณยุกต์ไทย คือเครื่องหมายแทนระดับสูง-ต่ำ เขียนบนพยัญชนะ ได้แก่

 

วรรณยุกต์

 

๔. เลขไทย
เลขไทยเป็นเอกลักษณ์ของไทยมีจำนวนเท่ากับเลขสากล (เลขอารบิก) ๑๐ ตัว

อารบิก

0

1

2

3

4

5

6

7

8

9

เลขไทย

คำอ่าน

ศูนย์

หนึ่ง

สอง

สาม

สี่

ห้า

หก

เจ็ด

แปด

เก้า

 

วิธีนำเลขไทยไปใช้ ได้แก่
๑. เขียนจำนวนตัวเลขทั่วไป เช่น ๑ ๒๔ ๓๖๕
๒. เขียนบ้านเลขที่ เช่น ๑๒/๓๔ ๕๖/๗๘๙
๓. เขียนหัวข้อต่าง ๆ เช่น ๑. ๑.๕ ๑) (๑)
๔. เขียนวัน เดือน ปี เช่น ๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๔ ๒๑/๗๘/๒๕๕๔

 

การประสมคำ
การประสมคำ คือ การนำพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์มารวมเป็นคำ
๑. การประสมคำที่มีพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์

คำ

พยัญชนะ

สระ

รูปวรรณยุกต์

เหา

เ-า

-      (เสียงจัตวา)


๒. การประสมคำที่มีพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และตัวสะกด

คำ

พยัญชนะ

สระ

รูปวรรณยุกต์

ตัวสะกด

ข้าม

-า

 

 

 

๓. การประสมคำที่มีพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และตัวการันต์

คำ

พยัญชนะ

สระ

รูปวรรณยุกต์

ตัวการันต์

เล่ห์

เ-

่ (เสียงโท)

ห์

 

 

 

๔. การประสมคำที่มีพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ตัวสะกด และตัวการันต์

คำ

พยัญชนะ

สระ

รูปวรรณยุกต์

ตัวสะกด

ตัวการันต์

สัตว์

-ะ

- (เสียงเอก)

ว์

 

สรุป
ความรู้เรื่อง อักษรและการประสม ช่วยพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนอย่างถูกต้อง

 

คำสำคัญ ๑. อักษรไทย ๒. พยัญชนะ ๓. สระ ๔. วรรณยุกต์ ๕. เลขไทย ๖. การประสมคำ

 

แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th