ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้
1. นโยบายต่างประเทศและรัฐที่มีความสัมพันธ์กับอยุธยา
1.1 นโยบายต่างประเทศสมัยอยุธยา
1. ด้านการเมือง ต้องขยายอำนาจไปยังสุโขทัย นครศรีธรรมราช และเมืองอื่น ๆ เพื่อให้อาณาจักรมีความมั่นคง
2. ด้านเศรษฐกิจ อยุธยามีการติดต่อค้าขายกับรัฐอื่น ขณะเดียวกันก็ขยายอำนาจไปยังรัฐใกล้เคียง
1.2 รัฐที่มีความสัมพันธ์กับอาณาจักรอยุธยา แบ่งได้ 3 กลุ่ม คือ รัฐเพื่อนบ้าน รัฐในเอเชียตะวันออก และชาติตะวันตก
2. ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับรัฐเพื่อนบ้าน
1. อาณาจักรสุโขทัย อยุธยามีการทำสงครามหลายครั้ง เพื่อยึดครองอาณาจักรสุโขทัย
2. อาณาจักรล้านนา (เชียงใหม่) อยุธยามีความพยายามในการขยายอำนาจไปยังอาณาจักรล้านนาหลายครั้ง
3. อาณาจักรมอญ มีอาณาเขตติดต่อกับอยุธยาทำให้มอญมีลักษณะเป็นรัฐกันชน ระหว่างไทยกับพม่า
4. อาณาจักรพม่า พม่าและไทยผลัดกันเข้ายึดครองประเทศราช เมื่อฝ่ายใดยึดได้อีกฝ่ายก็จะตีเอาคืน เช่น ล้านช้าง ล้านนา หัวเมืองมอญ สงครามระหว่างไทยกับพม่าเกิดขึ้นหลายครั้งและยืดเยื้อจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ตารางแสดงสงครามระหว่างไทยกับพม่าในสมัยอยุธยา
ครั้งที่ |
พ.ศ. |
ในสมัยของ |
สงครามที่เกิดขึ้น |
|
กษัตริย์ไทย |
กษัตริย์พม่า |
|||
1 |
2081 |
สมเด็จพระไชยราชาธิราช |
พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ |
– พม่าตีเมืองเชียงกราน ไทยตีคืนได้ |
2 |
2091 |
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ |
พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ |
– สงครามครั้งนี้ไทยสูญเสียพระสุริโยทัย |
3 |
2106 |
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ |
พระเจ้าบุเรงนอง |
– สงครามช้างเผือก ไทยเสียช้างเผือกและต้องส่งตัวประกันไปพม่า |
4 |
2112 |
สมเด็จพระมหินทราธิราช |
พระเจ้าบุเรงนอง |
– สงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 |
5 |
2127 |
สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช |
พระเจ้านันทบุเรง |
– พระนเรศวรประกาศอิสรภาพและได้ทรงพระแสงปืนยิงข้ามแม่น้ำสะโดงถูกแม่ทัพหน้าพม่าเสียชีวิต |
6 |
2127 |
สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช |
พระเจ้านันทบุเรง |
– ไทยรบชนะพระยาพะสิมที่เมืองสุพรรณบุรี |
7 |
2128 |
สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช |
พระเจ้านันทบุเรง |
– ไทยรบชนะพระเจ้าเชียงใหม่ที่บ้านสระเกศ แขวงเมืองวิเศษชัยชาญ |
8 |
2129 |
สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช |
พระเจ้านันทบุเรง |
– พม่าล้อมกรุงศรีอยุธยา แต่ต้องถอยทัพกลับ |
9 |
2133 |
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช |
พระเจ้านันทบุเรง |
– พระมหาอุปราชคุมทัพมาถึงกาญจนบุรี ไทยซุ่มโจมตีแตกพ่ายไป |
10 |
2135 |
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช |
พระเจ้านันทบุเรง |
– สงครามยุทธหัตถี สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงฟันพระมหาอุปราชาสิ้นพระชนม์ |
11 |
2135 |
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช |
พระเจ้านันทบุเรง |
– ไทยตีเมืองทวายและตะนาวศรีคืนมา |
12 |
2137 |
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช |
พระเจ้านันทบุเรง |
– ไทยส่งกองทัพไปช่วยมอญที่สวามิภักดิ์ต่อไทย – รบชนะพม่า |
13 |
2138 |
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช |
พระเจ้านันทบุเรง |
– สมเด็จพระนเรศวรมหาราชยกทัพไปตีกรุงหงสาวดีครั้งที่ 1 ไม่สำเร็จ |
14 |
2142 |
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช |
พระเจ้านันทบุเรง |
– สมเด็จพระนเรศวรยกทัพไปตีกรุงหงสาวดีครั้งที่ 2 แต่พระเจ้าตองอูตีกรุงศรีอยุธยาแตกเสียก่อน สมเด็จพระนเรศวรยกทัพตามไปตีเมืองตองอูแต่ไม่สำเร็จ |
15 |
2147 |
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช |
พระเจ้านยองยัน |
– สมเด็จพระนเรศวรคุมทัพไปตีเมืองอังวะ แต่สวรรคตระหว่างทาง |
16 |
2156 |
สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม |
พระเจ้าอนอคะเปตลุน |
– พม่าตีเมืองทวาย ไทยขับไล่พม่าออกไป |
17 |
2157 |
สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม |
พระเจ้าอนอคะเปตลุน |
– พม่าตีเมืองเชียงใหม่ได้ |
18 |
2165 |
สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม |
พระเจ้าอนอคะเปตลุน |
– พม่าตีเมืองทวายได้ |
19 |
2205 |
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช |
พระเจ้าแปรหรือพระเจ้าปิเย |
– พม่าตีเมืองเชียงใหม่ได้ |
20 |
2206 |
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช |
พระเจ้าแปรหรือพระเจ้าปิเย |
– พม่าบุกเข้ามาที่เมืองไทรโยคไทยตีแตกกลับไป |
21 |
2207 |
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช |
พระเจ้าแปรหรือพระเจ้าปิเย |
– ไทยส่งกองทัพไปล้อมเมืองพุกาม ต่อมาขาดเสบียงอาหารต้องถอยกลับ |
22 |
2302 |
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ |
พระเจ้าอลองพญา |
– พม่าล้อมกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าอลองพญาประสบอุบัติเหตุ พม่าจึงถอยทัพ |
23 |
2307 |
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ |
พระเจ้ามังระ |
– พม่าตีได้หัวเมืองทางตะวันตกและหัวเมืองทางเหนือของไทย |
24 |
2310 |
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ |
พระเจ้ามังระ |
– สงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 |
5. อาณาจักรล้านช้าง (ลาว) อาณาจักรอยุธยาและอาณาจักรล้านช้างมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน หลักฐานคือ พระธาตุศรีสองรักที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย
6. อาณาจักรเขมร ทางด้านการเมือง เขมรเป็นประเทศราชของอยุธยา
7. หัวเมืองมลายู เน้นที่ผลประโยชน์ทางการค้า อยุธยาต้องการยึดครอง จึงส่งกองทัพไปตีมะละกาในสมัยสมเด็จพระอินทราชา สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 และสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทำให้มะละกากลายเป็นเมืองขึ้นของอยุธยา ต่อมาอยู่ภายใต้การยึดครองโปรตุเกส
3. ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับรัฐในเอเชียตะวันออก
1. จีน ดำเนินความสัมพันธ์กับจีนในระบบบรรณาการหรือจิ้มก้อง พระมหากษัตริย์จึงส่งคณะทูตและเครื่องบรรณาการไปจีน เพื่อให้จีนรับรองในฐานะของพระมหากษัตริย์
อยุธยาใช้ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเป็นหลัก โดยการส่งบรรณาการให้แก่จีนนั้น ถือเป็นการเปิดช่องทางการค้า
2. ญี่ปุ่น ชาวญี่ปุ่นมาตั้งหลักแหล่งในอยุธยาจำนวนมาก และยามาดา นางามาซา หนึ่งในชาวญี่ปุ่นที่ได้รับราชการในราชสำนักและได้รับบรรดาศักดิ์เป็นออกญาเสนาภิมุข ในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
4. ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับชาติตะวันตก
1. โปรตุเกส เป็นชาติตะวันตกชาติแรกที่ติดต่อกับอยุธยา จากการที่โปรตุเกสได้ยึดเมืองมะละกา จึงทำให้ได้ติดต่อเจริญสัมพันธไมตรี
2. สเปน สเปนกับไทยติดต่อทางการค้า แต่สำเภาไทยที่เดินทางไปสเปนไม่ได้รับการต้อนรับและถูกขัดขวาง พ่อค้าไทยจึงเลิกส่งเรือไปค้าขายที่สเปน ทำให้การค้ากับสเปนชะลอตัวลง
3. ฮอลันดา หรือดัตช์ แข่งขันทางการค้ากับโปรตุเกส พระเจ้าทรงธรรม ทำสัญญาการค้ากับฮอลันดา โดยให้สิทธิพิเศษแก่ฮอลันดาในการซื้อหนังสัตว์จากไทย ทำให้โปรตุเกสและอังกฤษไม่พอใจ
พระนารายณ์ผูกมิตรกับฝรั่งเศสเพื่อถ่วงดุลอำนาจฮอลันดา ความสัมพันธ์จึงยิ่งเสื่อมลงจนถึงสิ้นสมัยอยุธยา
4. อังกฤษ อังกฤษต้องการค้าขายแข่งกับฮอลันดาและโปรตุเกส แต่ไม่ประสบผลสำเร็จจึงยกเลิกสถานีการค้าที่อยุธยาใน พ.ศ. 2166 แต่อยุธยากับอังกฤษเริ่มมีความสัมพันธ์อีกครั้งในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพราะต้องการให้อังกฤษถ่วงดุลอำนาจกับฮอลันดา
5. ฝรั่งเศส เป็นชาติตะวันตกชาติสุดท้ายที่เข้ามาติดต่อกับอยุธยา โดยติดต่ออย่างเป็นทางการในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพื่อต้องการถ่วงดุลกับฮอลันดา
คำสำคัญ
รัฐกันชน
พระธาตุศรีสองรัก
บรรณาการ
จิ้มก้อง
ออกญาเสนาภิมุข
มะละกา
แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th