บทเรียนออนไลน์ วิชาสังคมศึกษา เรื่อง การสถาปนาอาณาจักรอยุธยาและการเมืองการปกครองสมัยอยุธยา
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 208.7K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้ 

 

การสถาปนาอาณาจักรอยุธยา

 

1. การสถาปนาอาณาจักรอยุธยา

แคว้นละโว้และแคว้นสุพรรณภูมิรวมกันเป็นอาณาจักรอยุธยาและมีพระมหากษัตริย์พระองค์แรก คือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ตั้งอยู่บริเวณหนองโสน บนเกาะอยุธยา 

 

แผนที่กรุงศรีอยุธยา

 

     1.1 ประวัติความเป็นมาของพระเจ้าอู่ทอง

มี 2 แนวคิด คือ

          1. พระเจ้าอู่ทองทรงอพยพมาจากเมืองอื่นและสถาปนากรุงศรีอยุธยาภายหลัง

          2. พระเจ้าอู่ทองทรงปกครองบริเวณใกล้เคียงกรุงศรีอยุธยามา

     1.2 ปัจจัยที่เอื้อต่อการสถาปนากรุงศรีอยุธยา

          1. ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่

          2. การเป็นศูนย์กลางการคมนาคม

          3. ความมั่นคงทางยุทธศาสตร์

          4. ช่องว่างทางการเมือง

     1.3 ปัจจัยที่เอื้อต่อความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรอยุธยา

          1. ลักษณะทางกายภาพ มีแม่น้ำไหลผ่าน 3 สาย

          2. ทำเลที่ตั้ง เป็นศูนย์กลางการค้าที่เชื่อมระหว่างตะวันตกและตะวันออก

          3. การรับอารยธรรมเดิม

          4. พระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์

     1.4 พระมหากษัตริย์อยุธยา

พระมหากษัตริย์อยุธยามี 33 พระองค์ จากราชวงศ์ต่าง ๆ 5 ราชวงศ์ ดังนี้

 

ลำดับ

ราชวงศ์

พระนามพระมหากษัตริย์

.. ที่ครองราชย์

1

อู่ทอง

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)

1893–1912

2

อู่ทอง

สมเด็จพระราเมศวร (ครองราชย์ครั้งที่ 1)

1912–1913

3

สุพรรณภูมิ

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพ่องั่ว)

1913–1931

4

สุพรรณภูมิ

สมเด็จพระเจ้าทองลัน

1931–1931

 

อู่ทอง

สมเด็จพระราเมศวร (ครองราชย์ครั้งที่ 2)

1931–1938

5

อู่ทอง

สมเด็จพระรามราชาธิราช

1938–1952

6

สุพรรณภูมิ

สมเด็จพระนครินทราธิราช

1952–1967

7

สุพรรณภูมิ

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา)

1967–1991

8

สุพรรณภูมิ

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

1991–2031

9

สุพรรณภูมิ

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3

2031–2034

10

สุพรรณภูมิ

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2

2034–2072

11

สุพรรณภูมิ

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (หน่อพุทธางกูร)

2072–2076

12

สุพรรณภูมิ

พระรัษฎาธิราช

2076–2077

13

สุพรรณภูมิ

สมเด็จพระไชยราชาธิราช

2077–2089

14

สุพรรณภูมิ

พระยอดฟ้า หรือพระแก้วฟ้า

2089–2091

15

สุพรรณภูมิ

สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ

2091–2111

16

สุพรรณภูมิ

สมเด็จพระมหินทราธิราช

2111–2112

17

สุโขทัย

สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช

2112–2133

18

สุโขทัย

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

2133–2148

19

สุโขทัย

สมเด็จพระเอกาทศรถ

2148–2153

20

สุโขทัย

พระศรีเสาวภาคย์

2153–2154

21

สุโขทัย

สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม

2154–2171

22

สุโขทัย

สมเด็จพระเชษฐาธิราช

2171–2172

23

สุโขทัย

พระอาทิตยวงศ์

2172–2172

24

ปราสาททอง

สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง

2172–2199

25

ปราสาททอง

สมเด็จเจ้าฟ้าไชย

2199–2199

26

ปราสาททอง

สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา

2199–2199

27

ปราสาททอง

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

2199–2231

28

ปราสาททอง

สมเด็จพระเพทราชา

2231–2246

29

บ้านพลูหลวง

สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ)

2246–2251

30

บ้านพลูหลวง

สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ

2251–2275

31

บ้านพลูหลวง

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

2275–2301

 

ที่มา:วิลาสวงศ์ พงศะบุตร และวุฒิชัย มูลศิลป์, ลำดับพระมหากษัตริย์, ใน สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ฉบับเสริมการเรียนรู้ เล่ม 3, พิมพ์ครั้งที่ 3, 2549, หน้า 18–19.

 

2. การเมืองการปกครองสมัยอยุธยาตอนต้น (.. 1893–1991)

การปกครองในสมัยอยุธยาปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระมหากษัตริย์จึงมีอำนาจสูงสุด และเป็นสถาบันหลักในการปกครอง

การปกครองเริ่มตั้งแต่สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) จนถึงสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา)

1. การปกครองส่วนกลาง จัดการปกครองแบบจตุสดมภ์ตามแบบเขมร คือ เวียง วัง คลัง นา

2. การปกครองหัวเมือง เป็นการปกครองที่กระจายอำนาจจากราชธานี แบ่งออกเป็น 4 ระดับ

1) เมืองลูกหลวง ตั้งอยู่รอบราชธานี 4 ทิศ

2) เมืองชั้นใน เป็นเมืองที่ขุนนางปกครอง จะถัดจากเมืองลูกหลวงออกไป

3) เมืองชั้นนอกหรือเมืองพระยามหานคร ปกครองสืบเชื้อสายจากเจ้าเมืองเดิม

4) ประเทศราช เป็นเมืองที่ปกครองตนเอง แต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการ

3. กฎหมายและการศาล กษัตริย์เป็นผู้ออกกฎหมายอิงกับพระมนูธรรมศาสตร์ที่รับมาจากอินเดีย

 

3. การเมืองการปกครองสมัยอยุธยาตอนกลาง (.. 1991–2231)

ตั้งแต่สมัยพระบรมไตรโลกนาถจนถึงสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2

1. การปกครองส่วนกลาง แยกการปกครองออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน

1) ฝ่ายทหาร มีสมุหพระกลาโหมเป็นผู้ดูแล

2) ฝ่ายพลเรือน มีสมุหนายกเป็นผู้ดูแลข้าราชการฝ่ายพลเรือนทั้งในราชธานีและหัวเมือง

3) ฝ่ายจตุสดมภ์ อยู่ภายใต้การดูแลของสมุหนายก ได้รับการปรับปรุงดังนี้

(1) กรมเวียงหรือกรมเมือง เปลี่ยนเป็น นครบาล

(2) กรมวัง เปลี่ยนเป็น ธรรมากรณ์

(3) กรมคลัง เปลี่ยนเป็น โกษาธิบดี

(4) กรมนา เปลี่ยนเป็น เกษตราธิการ

2. การปกครองหัวเมือง

1) เมืองชั้นใน ให้เมืองที่อยู่รอบราชธานีเป็นเมืองชั้นจัตวา

2) เมืองชั้นนอกหรือเมืองพระยามหานคร ให้ผู้สืบเชื้อสายของเมืองนั้น ๆ ปกครอง

3) ประเทศราช ให้เจ้านายพื้นเมืองเดิมปกครอง โดยส่งเครื่องราชบรรณาการ

3. กฎหมาย ยึดกฎหมายที่ใช้ตั้งแต่สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 และเพิ่มเติมกฎหมายหลายฉบับ

 

4. การเมืองการปกครองสมัยอยุธยาตอนปลาย (.. 2231–2310)

ในสมัยนี้มีการเปลี่ยนแปลงอำนาจ โดยให้พระคลังหรือโกษาธิบดีดูแลฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือนหัวเมืองฝ่ายใต้ ส่วนสมุหนายกดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือเช่นเดิม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเป็นสมัยใด

อยุธยามีการเปลี่ยนแปลงการปกครองบ่อยครั้ง เพื่อปรับให้เข้ากับสถานการณ์ทางการเมือง มีเป้าหมายในการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง และควบคุมหัวเมืองต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันก็ถ่วงดุลอำนาจไม่ให้เป็นภัยต่อพระมหากษัตริย์ แต่อำนาจโดยส่วนใหญ่ตกอยู่กับกลุ่มขุนนางและเจ้านาย ทำให้เกิดการแย่งชิงอำนาจทางการเมืองมาโดยตลอด

 

5. ความเสื่อมของอาณาจักรอยุธยา

5.1 ปัจจัยที่เป็นสาเหตุแห่งความเสื่อม

1. การแย่งชิงอำนาจของพวกขุนนางและเจ้านาย

2. ความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

3. ความเข้มแข็งของอาณาจักรพม่า

5.2 การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 .. 2112

การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 เกิดขึ้นเมื่อพระเจ้าบุเรงนองยกทัพใหญ่มาโจมตีกรุงศรีอยุธยา ขณะนั้นราชธานีกับเมืองพิษณุโลกมีความขัดแย้งกัน

อยุธยาตกเป็นประเทศราชของพม่าถึง 15 ปี พระนเรศวรจึงทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง

5.3 สงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 .. 2310

ไทยทำสงครามกับพม่าถึง 6 ครั้ง จนพระเจ้ามังระยกกองทัพมาตีอยุธยา 2 ทาง และเริ่มล้อมกรุง ก่อนที่กรุงจะแตก พระยาตาก (สิน) นำกองทัพฝ่าพม่าไปตั้งมั่นที่เมืองจันทบุรีรวบรวมพลและต่อเรือรบ แล้วยกกองทัพเรือมากู้เอกราชหลังจากเสีนกรุง 7 เดือน

 

คำสำคัญ

เวียง

วัง

คลัง

นา

เมืองลูกหลวง

เมืองชั้นใน

เมืองพระยามหานคร

ประเทศราช

สมุหพระกลาโหม

สมุหนายก

นครบาล

ธรรมากรณ์

โกษาธิบดี

เกษตราธิการ

 

แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th