บทเรียนออนไลน์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง หลักฐานทางประวัติศาสตร์
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 163.4K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้

 

หลักฐานทางประวัติศาสตร์

 

1. ประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์
แบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก่ หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งตามความสำคัญได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ หลักฐานชั้นต้น และหลักฐานชั้นรอง
2. หลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาและสมัยธนบุรี

 

โบราณสถานเป็นหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรและเป็นหลักฐานชั้นต้น หนังสือประวัติศาสตร์ เป็นหลักฐานชั้นรอง

 


     2.1 หลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา
          1. พระราชพงศาวดาร แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
               1) พระราชพงศาวดารที่ผ่านกระบวนการชำระ
               2) พระราชพงศาวดารที่ไม่ผ่านกระบวนการชำระ คือ พงศาวดารที่ให้ข้อมูลตามที่บันทึกไว้

 

 

          2. จดหมายเหตุโหร

 

ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก

 

          3. จดหมายเหตุชาวต่างชาติ

 

จดหมายเหตุลา ลูแบร์

 

          4. วรรณกรรม
          5. หลักฐานทางโบราณคดี
     2.2 หลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยธนบุรี
          1. พระราชพงศาวดาร เช่น พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา

 

พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี

 

          2. เอกสารชาวต่างชาติ เช่น ชิงสื่อลู่
          3. บันทึกจากเรื่องบอกเล่า
3. การตรวจสอบและประเมินหลักฐาน
แบ่งเป็น 2 แบบ ได้แก่
     3.1 การประเมินภายนอก
     พิจารณาจาก
          1. อายุของหลักฐาน
          2. ผู้สร้างหรือผู้เขียนหลักฐาน
          3. จุดมุ่งหมายของหลักฐาน
          4. รูปเดิมของหลักฐาน
     3.2 การประเมินภายใน
การประเมินภายใน คือ พิจารณาสาระ โดยเปรียบเทียบกับหลักฐานอื่น ว่าเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
4. การตีความหลักฐาน
     4.1 ประเภทของการตีความหลักฐาน มี 2 ลักษณะ คือ
          1. การตีความขั้นต้น ผู้ตีความควรมีพื้นฐานต่อไปนี้
               1) การใช้ถ้อยคำและสำนวนโวหาร
               2) อิทธิพลของทัศนคติ ค่านิยม และสภาพแวดล้อมในช่วงเวลาที่บันทึกหลักฐาน
               3) จุดมุ่งหมายของหลักฐาน
          2. การตีความขั้นลึก เป็นการตีความเพื่อหาความหมายที่แฝงอยู่ ซึ่งไม่ได้บอกตรง ๆ
     4.2 ข้อควรปฏิบัติในการตีความหลักฐาน
          1. ตีความด้วยใจเป็นกลาง
          2. ตีความในขอบเขตของหลักฐาน
          3. ตีความตามยุคสมัยของหลักฐาน
     4.3 ความสำคัญของการตีความหลักฐาน
การตีความทำให้ได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และนำไปเทียบเคียงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตได้ใกล้เคียงที่สุด
     4.4 ลักษณะของข้อมูลที่ได้จากการตีความหลักฐาน
          1. ความจริง
          2. ข้อเท็จจริง
          3. ความคิดเห็น
ความคิดเห็นทางประวัติศาสตร์ ต้องเป็นความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญในส่วนนั้น ๆ หากนำไปอ้างอิงต้องระบุว่าเป็นความคิดเห็นของใคร มีความคิดเห็นอย่างไร เช่น ความคิดเห็นเกี่ยวกับศิลาจารึกของ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

 

คำสำคัญ
พระราชพงศาวดาร
จดหมายเหตุโหร
จดหมายเหตุชาวต่างชาติ

 

แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th