บทเรียนออนไลน์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง การสืบค้นความเป็นมาของท้องถิ่น
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 72K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้

 

การสืบค้นความเป็นมาของท้องถิ่น

 

1. หลักฐานทางประวัติศาสตร์
- หลักฐานชั้นต้น หมายถึง หลักฐานที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ๆ หรือเกิดจากบุคคลในสมัยนั้นได้บันทึกหรือบอกเล่าโดยตรง

 

จารึกเป็นหลักฐานชั้นต้น

 

- หลักฐานชั้นรอง หมายถึง หลักฐานที่มีการรวบรวมข้อมูลจากผู้อื่นที่ได้เล่าหรือเขียนขึ้นภายหลังเหตุการณ์นั้น ๆ

2. วิธีการสืบค้นความเป็นมาของท้องถิ่น
วิธีการทางประวัติศาสตร์ที่ใช้ในการศึกษาความเป็นมาของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในอดีตนั้น มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. การตั้งคำถามหรือกำหนดเรื่องที่จะศึกษา
2. การรวบรวมหลักฐาน

 

หอสมุดแห่งชาติ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

 

3. การตรวจสอบและประเมินหลักฐาน
4. การตีความหลักฐาน
5. การเรียบเรียงและการนำเสนอ

 

ป้ายนิเทศที่ใช้ในการนำเสนอผลการศึกษาทางประวัติศาสตร์

 

3. ความจริงกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์
ความจริง คือ สิ่งที่มั่นคงไม่เปลี่ยนแปลง
ข้อเท็จจริง คือ สิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้เมื่อมีข้อสนับสนุนอื่นที่ดีกว่าอันเดิม

 

ตัวอย่างข้อมูลทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่นที่แสดงความจริงกับข้อเท็จจริง
ศาลาลูกขุนนอก คือศาลหลวง คงจะอยู่ภายในกำแพงชั้นนอกไม่สู้ห่างนักคงจะอยู่มาทางตอนใกล้กำแพงด้านริมน้ำ ด้วยในที่นี้เมื่อขุดวังได้พบดินประจำผูกสำนวนมีตราเป็นรูปต่าง ๆ และบางก้อนก็มีรอยหยิกเล็บมือ (ความจริง) ศาลหลวงคงจะถูกไฟไหม้เมื่อกรุงเสีย ดินประจำผูกสำนวนจึงสุกเหมือนดินเผา (ข้อเท็จจริง)
ที่มา: หลวงประเสริฐอักษรนิติ์. พระราชพงศาวดารกรุงเก่า. กรุงเทพอ: แสงดาว, 2544.

 

แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th