ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้
การที่ไทยมุ่งพัฒนาประเทศให้มีความทันสมัยทัดเทียมชาติตะวันตก ทำให้ไทยต้องผ่านเหตุการณ์ต่าง ๆ มากมาย ดังนี้
1. การเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1
สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2457 ในสมัยรัชกาลที่ 6 ประเทศคู่สงคราม คือ ฝ่ายมหาอำนาจกลาง (Central Powers) ได้แก่ เยอรมนี ออสเตรีย–ฮังการี และตุรกีกับฝ่ายสัมพันธมิตร (Allies) ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น และอีกหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย
ขณะสงครามเริ่มต้น เข้าร่วมสงครามกับฝ่ายพันธมิตร ถ้าฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับชัยชนะประเทศไทยจะสามารถเรียกร้องสิทธิต่าง ๆ ได้โดยเฉพาะการขอแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมที่ทำไว้กับนานาประเทศ
1.1 การประกาศสงครามและการส่งทหารไปร่วมรบ
หลังจากที่ไทยได้ประกาศสงครามไปแล้วก็ได้ส่งทหารอาสาเข้าร่วมในสมรภูมิยุโรปด้วย ทหารไทยได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเข้มแข็งและกล้าหาญ รัฐบาลฝรั่งเศสได้ให้ตราครัวซ์เดอแกร์ประดับธงชัยเฉลิมพลเพื่อเป็นเกียรติแก่กองทัพไทย
1.2 การเข้าร่วมสันนิบาตชาติ
หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson) แห่งสหรัฐอเมริกาได้เสนอให้ก่อตั้งองค์การสันนิบาตชาติขึ้น เพื่อเป็นองค์การกลางที่จะใช้แก้ปัญหากรณีพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติ โดยไทยได้รับเกียรติให้เป็นสมาชิกเริ่มก่อตั้งสันนิบาตชาติ
2. บทบาทของไทยในสงครามโลกครั้งที่ 2
ก่อนที่จะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เกิดกรณีพิพาทอินโดจีน ซึ่งเกิดจากปัญหาการปรับปรุงเขตแดนของไทยกับอินโดจีน ญี่ปุ่นได้เสนอตัวเป็นคนกลางไกล่เกลี่ยระหว่างไทยกับฝรั่งเศส เป็นผลให้ไทยได้ดินแดนบางส่วนในอินโดจีนคืนจากฝรั่งเศส
3. บทบาทของไทยในสงครามเย็น
เมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 มหาอำนาจแตกแยกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มประเทศเสรีประชาธิปไตย มีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำกลุ่ม ประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มนี้ เช่น ประเทศในยุโรปตะวันตก ประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สาธารณรัฐจีน (จีนคณะชาติ) ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ อีกกลุ่มหนึ่ง คือ กลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ มีสหภาพโซเวียตเป็นผู้นำ
4. ความร่วมมือของไทยกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
1. การจัดตั้งสมาคมแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือกันทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมระหว่างประเทศ ต่อมาเกิดกรณีพิพาทระหว่างมาเลเซียกับฟิลิปปินส์และมาเลเซียกับอินโดนีเซีย ทำให้สมาคมอาสาต้องล้มเลิกไป
2. การจัดตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมมือกันเสริมสร้างให้ภูมิภาคมีสันติภาพอันนำมาซึ่งความมั่นคง คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย สมาคมนี้ในปัจจุบันมีสมาชิกรวมทั้งหมด 10 ประเทศ โดยเพิ่มขึ้นมาอีก 5 ประเทศ ได้แก่ บรูไน เป็นสมาชิกใน พ.ศ. 2527 เวียดนาม พ.ศ. 2538 ลาวกับพม่า พ.ศ. 2540 และกัมพูชาเป็นสมาชิกประเทศสุดท้ายเมื่อ พ.ศ. 2542
5. บทบาทของไทยในสังคมโลกปัจจุบัน
ปัจจุบันประเทศไทยเน้นนโยบายต่างประเทศอย่างเป็นกลางและสนับสนุนสหประชาชาติในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในโลกด้วยวิธีการสันติ ขณะเดียวกันรัฐบาลไทยพยายามส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางระหว่างชาติทางด้านต่าง ๆ เช่น ศูนย์กลางการบินในภูมิภาค ศูนย์กลางการแพทย์นานาชาติ
คำสำคัญ
การเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1
การเข้าร่วมสันนิบาตชาติ
บทบาทของไทยในสงครามโลกครั้งที่ 2
บทบาทของไทยในสงครามเย็น
การจัดตั้งสมาคมแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การจัดตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
บทบาทของไทยในสังคมโลกปัจจุบัน
แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th