ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้
1. การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์
ในปลายสมัยธนบุรีเกิดการจลาจลในกรุงธนบุรี สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกจึงยกทัพกลับเพื่อมาระงับการจลาจล ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 และพระองค์ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี มีพระนามใหม่ว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หรือรัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี
1.1 ย้ายราชธานี
กรุงธนบุรีไม่เหมาะสมที่จะเป็นที่ตั้งของราชธานี ให้ย้ายราชธานีไปอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา โดยมีเหตุผลสำคัญดังนี้
1. พระราชวังเดิมของกรุงธนบุรีมีอาณาเขตคับแคบขยายเขตพระราชวังออกไปไม่ได้
2. ที่ตั้งของกรุงธนบุรีอยู่บนท้องคุ้งของแม่น้ำเจ้าพระยา น้ำจึงกัดเซาะตลิ่งพังอยู่ตลอดทำให้ไม่สามารถสร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ ได้
3. กรุงธนบุรีไม่เหมาะสมแก่ยุทธศาสตร์เป็นเมืองอกแตก เพราะมีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านกลางกรุง
1.2 ปัจจัยที่มีผลต่อความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองของไทยสมัยรัตนโกสินทร์
1. มีที่ตั้งในทางยุทธศาสตร์เหมาะสม
2. มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเกษตร มีดินและน้ำอุดมสมบูรณ์
3. เป็นศูนย์กลางการค้า
4. พระปรีชาสามารถของรัชกาลที่ 1 และพระอนุชา คือ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ทรงยกทัพปกป้องพระนครไว้ได้ เมื่อครั้งพม่ายกทัพโจมตีเพื่อมิให้ไทยตั้งตัวได้
5. ประเทศเพื่อนบ้านมีปัญหาภายในประเภทและต้องแก้ปัญหาของประเทศตนเอง
1.3 บทบาทของพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีในการสร้างสรรค์ความเจริญและความมั่นคงของชาติ
รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีทุกพระองค์ล้วนมีบทบาทสำคัญในการสร้างความเจริญและความมั่นคงของอาณาจักร ดังนี้
1.3.1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
1.3.2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
1.3.3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
1.3.4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
1.3.5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
1.3.6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
1.3.7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
1.3.8 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
1.3.9 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
2. พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง
ด้านการเมืองการปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ แบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ระหว่าง พ.ศ. 2325–2394 สมัยปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย ระหว่าง พ.ศ. 2394–2475 และสมัยประชาธิปไตย ระหว่างพ.ศ. 2475–ปัจจุบัน
2.1 การเมืองการปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พ.ศ. 2325–2394
2.1.1 รูปแบบการปกครอง
พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจสูงสุดและเด็ดขาดในการปกครองประเทศ โดยมีการบังคับบัญชา ดังนี้
1. การปกครองราชธานี มีอัครมหาเสนาบดี 2 ตำแหน่ง คือ สมุหพระกลาโหมและสมุหนายก และมีเสนาบดี 4 ตำแหน่งที่เรียกว่า จตุสดมภ์
2. การปกครองหัวเมือง แบ่งหัวเมืองออกเป็น 2 ประเภท คือ
1) หัวเมืองชั้นใน คือ หัวเมืองที่อยู่รอบราชธานี เป็นหัวเมืองชั้นจัตวา
2) หัวเมืองชั้นนอก คือ เมืองที่อยู่ไกลจากราชธานี แบ่งออกเป็นเมืองชั้นเอก โท ตรี
3. การปกครองประเทศราช เมืองประเทศราช คือ หัวเมืองต่างชาติซึ่งเจ้าเมืองนั้น ๆ จะปกครองตนเอง แต่ต้องส่งเครื่องบรรณาการมาถวายแก่เมืองราชธานีตามระยะเวลาที่กำหนด และส่งกำลังทหารมาช่วยยามศึกสงคราม
2.1.2 กระบวนการยุติธรรม
รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้ชำระกฎหมายให้ถูกต้องตามกฎหมาย กฎหมายฉบับนี้จึงมีชื่อว่า “กฎหมายตรา สามดวง” ใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศมาจนถึงรัชกาลที่ 5
2.2 การเมืองการปกครองสมัยปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย พ.ศ. 2394–2475
2.2.1 การปฏิรูปการปกครอง
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ชาติตะวันตกได้ขยายอิทธิพลเข้ามาเพื่อครอบครองประเทศในเอเชียเป็นอาณานิคมของตน รัชกาลที่ 4 และรัชกาลต่อ ๆ มา จึงทรงพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ให้เจริญทัดเทียมนานาอารยประเทศ เพื่อป้องกันมิให้ประเทศตะวันตกมีข้ออ้างในการครอบครองไทยเป็นอาณานิคม
2.3 การเมืองการปกครองสมัยประชาธิปไตย พ.ศ. 2475– ปัจจุบัน
2.3.1 การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 สาเหตุสำคัญที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ได้แก่
1) เศรษฐกิจตกต่ำ
2) แนวคิดที่ได้รับจากตะวันตก
3) อิทธิพลของสื่อมวลชน
2.3.2 วิกฤติการณ์ทางการเมืองหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ความขัดแย้งเรื่องเค้าโครงการเศรษฐกิจ ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 คณะราษฎรได้พยายามที่จะปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ราษฎรส่วนใหญ่มากที่สุด โดยมอบหมายให้หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) เป็นผู้ร่างเค้าโครงการเศรษฐกิจ
2.3.3 การเมืองไทยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้สงคราม เดิมไทยอยู่ฝ่ายเดียวกับญี่ปุ่นย่อมตกเป็นฝ่ายแพ้สงครามเช่นกัน แต่ขบวนการเสรีไทยเข้ามาแก้ไขสถานการณ์ช่วยให้ประเทศไทยรอดพ้นจากสถานะประเทศผู้แพ้สงครามได้เพราะแสดงให้เห็นว่าคนไทยบางส่วนไม่เห็นด้วยกับการเข้าร่วมสงครามครั้งนี้
3. พัฒนาการด้านสังคม
3.1 สังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พ.ศ. 2325–2394
3.1.1 โครงสร้างทางสังคม
ระบบศักดินาเป็นพื้นฐานในการจัดระบบสังคมตามในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นระบบที่กำหนดฐานะของคนในสังคมโดยใช้จำนวนที่นาเป็นเครื่องวัด มีการแบ่งกลุ่มคนในสังคมออกเป็นชนชั้นต่าง ๆ 5 ชนชั้น ได้แก่
1. พระมหากษัตริย์
2. เจ้านาย
3. ขุนนาง
4. ไพร่
5. ทาส
3.1.2 การทำนุบำรุงพระศาสนา
1. การทำสังคายนาพระไตรปิฎก
2. การกวดขันพระธรรมวินัย
3. การส่งสมณทูตไปลังกา
4. การสถาปนาธรรมยุติกนิกาย
5. การสร้างและบูรณะวัดวาอาราม
3.1.3 การศึกษา
ศูนย์กลางการศึกษาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมี 3 แห่ง คือ
1. วัง
2. วัด
3. บ้าน
3.2 สังคมไทยสมัยการปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย พ.ศ. 2394–2475
3.2.1 การปรับปรุงโครงสร้างสังคม
ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูปโครงสร้างสังคมไทยใหม่ให้สอดคล้องกับอารยธรรมตะวันตก ป้องกันอิทธิการขยายอำนาจจากชาติตะวันตก ด้วยการยกเลิกระบบไพร่และเลิกทาส โดยดำเนินการแบบค่อยเป็นค่อยไป ดังนี้
1. การเลิกระบบไพร่ คือ รัชกาลที่ 5 ทรงดำเนินการเลิกระบบไพร่เปลี่ยนเป็นพลเมือง
2. การเลิกทาส รัชกาลที่ 5 ทรงดำเนินการเลิกทาส
3.2.2 การพัฒนาสาธารณูปโภค
1. การพัฒนาสาธารณูปโภคในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงพัฒนาสาธารณูปโภคด้านการคมนาคมขนส่ง
2. การพัฒนาสาธารณูปโภคในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงสานต่อการพัฒนาสาธารณูปโภคจากรัชกาลที่ 4
3. การพัฒนาสาธารณูปโภคในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงสานต่อการพัฒนาสาธารณูปโภคจากรัชกาลที่ 5
3.2.3 การทำนุบำรุงพระศาสนา
3.2.4 การจัดการศึกษา
3.3 สังคมไทยสมัยประชาธิปไตย พ.ศ. 2475–ปัจจุบัน
3.3.1 โครงสร้างสังคมไทย
หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคมไทย ดังนี้
1. สถาบันพระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์ทรงดำรงฐานะเป็นองค์ประมุข อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ
2. พระบรมวงศานุวงศ์ พระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ปฏิบัติตนภายใต้รัฐธรรมนูญ
3. ข้าราชการ ข้าราชการมีบทบาทในการปกครองบ้านเมือง และข้าราชการทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎหมายภายใต้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกับประชาชนทั่วไป
4. ราษฎร ราษฎรทั่วไปต่างมีสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคตามกฎหมาย ภายใต้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และมีสิทธิสมัครเข้ารับราชการ
3.3.2 ความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
เมื่อจอมพล ป. พิบูลสงครามขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี เมืองไทยได้เข้าสู่ยุคสร้างชาติ โดยเครื่องมือในการสร้างชาติประกอบด้วยรัฐนิยม ซึ่งเป็นเหมือนคำสั่งของรัฐบาลที่บอกความต้องการว่าจะให้ประชาชนปฏิบัติตนอย่างไร
3.3.3 ศาสนา
สังคมไทยให้เสรีภาพในทางศาสนา โดยประชาชนส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา
3.3.4 การศึกษา
รัฐบาลเริ่มขยายการศึกษาภาคบังคับระดับประถมศึกษา และปรับปรุงการศึกษา โดยแยกระดับการศึกษาออกเป็น สามัญศึกษา อาชีวศึกษา อุดมศึกษา พลศึกษา และการศึกษาผู้ใหญ่ การพัฒนาการศึกษานี้ส่งผลต่อการสร้างคนเข้าสู่ระบบราชการ
4. พัฒนาการด้านเศรษฐกิจ
4.1 สภาพเศรษฐกิจไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พ.ศ. 2325–2398
เศรษฐกิจเป็นแบบยังชีพเช่นเดียวกับอยุธยา สินค้าส่งออกมีปริมาณเพิ่มขึ้นและมีการค้ากับหลายประเทศ รวมทั้งเริ่มมีการใช้ระบบเจ้าภาษีนายอากร
4.2 สภาพเศรษฐกิจไทยหลังเปิดความสัมพันธ์กับชาติตะวันตก พ.ศ. 2398–2475
4.2.1 เศรษฐกิจสมัยรัชกาลที่ 4
1. การทำสนธิสัญญาเบาว์ริง
ในสมัยรัชกาลที่ 4 พระองค์ทรงเปลี่ยนแปลงนโยบายด้านการต่างประเทศ ด้วยการสร้างความสัมพันธ์กับชาติตะวันตกให้มากขึ้น
4.2.2 เศรษฐกิจสมัยรัชกาลที่ 5
1. สภาพเศรษฐกิจในสมัยรัชกาลที่ 5 เศรษฐกิจยังขยายตัวสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เป็นการผลิตเพื่อการค้า พืชทางเศรษฐกิจ คือ ข้าว
2. การปฏิรูปการเงินและการธนาคาร รัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูปการเงินการธนาคาร
4.2.3 เศรษฐกิจสมัยรัชกาลที่ 6–7
1. การพัฒนาเศรษฐกิจสมัยรัชกาลที่ 6
1) การร่วมลงทุนในธุรกิจอุตสาหกรรม
2) การส่งเสริมทางด้านการเกษตร
3) การตั้งสถาบันการเงิน
4) การเปลี่ยนแปลงมาตราชั่ง ตวง วัด
2. ปัญหาเศรษฐกิจในสมัยรัชกาลที่ 6 พ.ศ. 2460 ประเทศไทยเกิดอุทกภัย และเกิดฝนแล้งอย่างหนักใน พ.ศ. 2462 ทำให้การทำนาเสียหาย ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนข้าวที่จะใช้บริโภคภายในประเทศ
3. สภาพเศรษฐกิจสมัยรัชกาลที่ 7 ฐานะทางเศรษฐกิจและการคลังของประเทศยังประสบปัญหาขาดดุล
4.3 สภาพเศรษฐกิจไทยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475–ปัจจุบัน
หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะราษฎรได้ประกาศหลัก 6 ประการ ซึ่งมีหลักการทางด้านเอกราชทางเศรษฐกิจกับหลักการวางแผนทางเศรษฐกิจ การเมืองในช่วงนั้นเป็นการประนีประนอมระหว่างคณะราษฎรกับกลุ่มข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เดิม แต่การประนีประนอมสิ้นสุดลงเมื่อหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) ได้เสนอเค้าโครงการเศรษฐกิจต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและคณะกรรมการราษฎร
นโยบายต่างประเทศของไทยในสมัยปัจจุบัน
ปัจจุบันประเทศไทยพยายามใช้นโยบายเป็นกลาง คือ มีความสัมพันธ์กับนานาประเทศโดยไม่ได้ยึดความแตกต่างทางลัทธิการเมืองเป็นหลัก แต่ยึดผลทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญและมุ่งสร้างความร่วมมือช่วยเหลือกันในกลุ่มประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน รวมทั้งในองค์การระหว่างประเทศที่ไทยเป็นสมาชิก
คำสำคัญ
การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์
รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
การเมืองการปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พ.ศ. 2325–2394
การเมืองการปกครองสมัยปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย พ.ศ. 2394–2475
การเมืองการปกครองสมัยประชาธิปไตย พ.ศ. 2475–ปัจจุบัน
การเลิกระบบไพร่
การเลิกทาส
โครงสร้างสังคมไทย
การทำสนธิสัญญาเบาว์ริง
แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th