ทศพิธราชธรรม หลักธรรมประจำพระองค์
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 11.9K views





เมื่อครั้งขึ้นครองราชย์ในปีพุทธศักราช ๒๔๘๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตรัสว่า

“เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”



     นับจากวันนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงยึดหลักทศพิธราชธรรมในการบริหารปกครองบ้านเมืองตลอดระยะเวลาแห่งการครองราชย์

     ทศพิธราชธรรม หรือ ทศพิธราชธรรม 10 คือ จริยวัตร 10 ประการ ที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรมประจำพระองค์ หรือเป็นคุณธรรมประจำตนของผู้ปกครองบ้านเมืองให้มีความเป็นไปโดยธรรมและยังประโยชน์สุขให้เกิดแก่ประชาชนจนเกิดความชื่นชมยินดี ซึ่งความจริงแล้วไม่ได้จำเพาะเจาะจงสำหรับพระเจ้าแผ่นดินหรือผู้ปกครองแผ่นดินเท่านั้น บุคคลธรรมดาที่เป็นผู้บริหารระดับสูงในทุกองค์กรก็พึงใช้หลักธรรมเหล่านี้

     ทศพิธราชธรรมมีที่มาจากพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ข้อมูลจากเว็บไซต์ easyinsurance.com อธิบายไว้ว่า ในสมัยพุทธกาลก็เช่นเดียวกับทุกวันนี้ คือ มีผู้ปกครองปกครองประเทศโดยขาดความยุติธรรม ประชาชนถูกกดขี่ข่มเหง ถูกเอารัดเอาเปรียบ ถูกทรมาน ถูกกลั่นแกล้งถึงตาย ถูกบังคับเก็บภาษีมากจนเกินขอบเขต และถูกลงโทษด้วยวิธีการลงโทษที่โหดเหี้ยมทารุณ พระพุทธเจ้าทรงสลดพระทัยต่อการกระทำอันไร้มนุษยธรรมเหล่านี้

     ในอรรกถาธรรมบท (ธัมมปัฏฐกภา) บันทึกไว้ว่า ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงทรงมุ่งพระทัยสู่ปัญหาว่าทำอย่างไรถึงจะมีรัฐบาลดี ๆ ได้ โดยทัศนะต่าง ๆ ของพระองค์จะเป็นที่เข้าใจได้ก็ต่อเมื่อได้พิจารณาถึงภูมิหลังของด้านสังคมเศรษฐกิจและการเมืองของยุคพุทธกาลประกอบไปด้วย พระองค์ทรงแสดงให้เห็นว่าทั่วทั้งประเทศจะเกิดความฟอนเฟะ เสื่อมโทรม และไร้สุข เมื่อหัวหน้ารัฐบาล คือ กษัตริย์ เสนาบดี และข้าราชการ มีแต่ความฟอนเฟะ และขาดความยุติธรรม เพราะว่าการที่ประเทศจะมีความสงบสุขได้นั้น จะต้องมีรัฐบาลที่ปกครองด้วยความยุติธรรม ซึ่งวิธีการที่จะก่อให้เกิดรัฐบาลเช่นนี้ได้นั้นผู้ปกครองจะต้องยึดหลักคำสอนว่าด้วย “ กิจวัตรของพระราชา 10 ประการ ” หรือ "ทศพิธราชธรรม" นั่นเอง


     หลักทศพิธราชธรรมทั้ง 10 ข้อ มีดังนี้
     1.ทาน คือ การให้ หมายถึงการให้ การเสียสละ นอกจากเสียสละทรัพย์สิ่งของแล้ว ยังหมายถึงการให้น้ำใจแก่ผู้อื่นด้วย
                     https://www.trueplookpanya.com/knowledge/detail/17509-028609


     2.ศีล คือ ความประพฤติที่ดีงาม ทั้ง กาย วาจา และใจ ให้ปราศจากโทษ ทั้งในการปกครอง อันได้แก่ กฎหมายและนิติราชประเพณี และในทางศาสนา

                   https://www.trueplookpanya.com/knowledge/detail/17510-028610


     3.บริจาค คือ การเสียสละความสุขส่วนตน เพื่อความสุขส่วนรวม

                   https://www.trueplookpanya.com/knowledge/detail/17511-028611


     4.ความซื่อตรง คือ ความซื่อตรงในฐานะที่เป็นผู้ปกครอง ดำรงอยู่ในสัตย์สุจริต

                   https://www.trueplookpanya.com/knowledge/detail/17512-028612


     5.ความอ่อนโยน คือ การมีอัธยาศัยอ่อนโยน เคารพในเหตุผลที่ควร มีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโสและอ่อนโยนต่อบุคคลที่ เสมอกันและต่ำกว่า

                   https://www.trueplookpanya.com/knowledge/detail/17513-028613


     6.ความเพียร คือ ความมีความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน โดยปราศจากความเกียจคร้าน

                  https://www.trueplookpanya.com/knowledge/detail/17514-028614


     7.ความไม่โกรธ คือ ไม่แสดงความโกรธให้ปรากฏ ไม่มุ่งร้ายผู้อื่นแม้จะลงโทษผู้ทำผิดก็ทำตามเหตุผล

                  https://www.trueplookpanya.com/knowledge/detail/17516-028615


     8.ความไม่เบียดเบียน คือ ไม่บีบคั้น ไม่ก่อทุกข์หรือเบียดเบียนผู้อื่น

                  https://www.trueplookpanya.com/knowledge/detail/17517-028616


     9.ความอดทน คือ การมีความอดทนต่อสิ่งทั้งปวง รักษาอาการ กาย วาจา ใจให้เรียบร้อย

                  https://www.trueplookpanya.com/knowledge/detail/17518-028617


     10.ความยุติธรรม คือ ความหนักแน่น ถือความถูกต้อง เที่ยงธรรมเป็นหลัก ไม่เอนเอียงหวั่นไหวด้วยคำพูด อารมณ์ หรือลาภสักการะใดๆ

                 https://www.trueplookpanya.com/knowledge/detail/17519-028618



ที่มา ข้อมูล : https://www.manager.co.th/

        ภาพ https://www.oknation.net/