บทเรียนออนไลน์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงกับระบบสหกรณ์
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 4.4K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้

 

 

 

 

1. การพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
    สภาพปัญหาท้องถิ่นในปัจจุบัน ที่สำคัญ คือ
    ปัญหาเศรษฐกิจ พบในคนจน ผู้ใช้แรงงาน เกษตรกร หรือผู้ประกอบการรายย่อย
    ปัญหาด้านสังคม การหลั่งไหลมาของวัฒนธรรมนอกและเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะกับชุมชน
    ปัญหาด้านสุขภาพ ความไม่รู้และความจน
    ปัญหาด้านภัยธรรมชาติ สมาชิกในท้องถิ่นจัดระบบภูมิคุ้มกันภัยธรรมชาติ

 

 

 

    ปัญหาด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน แบ่งได้ 3 ด้าน ดังนี้
        – ปัญหาการมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครอง
        – ปัญหาการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ
        – ปัญหาการมีส่วนร่วมทางสังคม
    แนวทางแก้ไขปัญหาและพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
        – สร้างแรงผลักดัน
        – การปรับเปลี่ยน
        – การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
        – การทำแผนชุมชน
        – ประยุกต์ปฏิบัติจริง
        – วิถีพัฒนายั่งยืน
2. ความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงกับระบบสหกรณ์
    แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนา
    เน้นพัฒนาให้ประชาชนและชุมชนชนบทมีความเป็นอยู่ที่ดีและพึ่งตนเองได้ โดยมีแนวทางการพัฒนาสู่ความยั่งยืน คือ
        – พัฒนาศักยภาพคน
        – พัฒนาแบบองค์รวม
        – พัฒนาตามแนวพระราชดำริ

 

  

 

    แนวคิดเกี่ยวกับระบบสหกรณ์ มี 7 ประการ ได้แก่
        - เป็นสมาชิกโดยสมัครใจและเปิดกว้าง
        – ควบคุมโดยสมาชิกตามหลักประชาธิปไตย
        – การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจของสมาชิก
        – ปกครองตนเองและอิสระ สมาชิก
        – ศึกษา ฝึกอบรม
        – ร่วมมือระหว่างสหกรณ์
        – เอื้ออาทรต่อชุมชน
    สหกรณ์ในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พระองค์ทรงมีแนวทางการแก้ปัญหา 4 ขั้นตอน คือ
        – ช่วยเหลือด้านทรัพย์สิน
        – หาทางให้เกษตรกรประกอบอาชีพ
        – ช่วยเหลือด้านเทคโนโลยี
        – ส่งเสริมให้ตั้งสหกรณ์

 

 

    การส่งเสริมสหกรณ์ควรคำนึงถึง 4 ด้าน ได้แก่
        – ด้านสมาชิกสหกรณ์
        – ด้านการจัดการองค์กรสหกรณ์
        – ด้านธุรกิจสหกรณ์
        – ด้านสวัสดิการ

 

 

    แนวทางส่งเสริมสหกรณ์ในพื้นที่โครงการจากพระราชดำริตามแนวพระราชดำริ มีดังนี้
    ปฏิบัติตามแนวพระราชดำริการพัฒนาชนบท พัฒนาอย่างน้อย 2 ประการ คือ
        – สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน
        – ส่งเสริมสิ่งที่ขาดแคลน
    ปฏิบัติตามแนวพระราชดำริในการพัฒนาเกษตร คือ
        – ให้เกษตรกรพึ่งตนเอง
        – มิพึ่งพาพืชเกษตรอย่างเดียว
        – ให้เกษตรกรเจริญก้าวหน้าช้าๆ
        – ใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ
        – ประหยัด
        – อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
        – พัฒนาเลี้ยงสัตว์ไปกับการเพาะปลูกรูปเกษตรกรแบบผสมผสาน
    การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงกับระบบสหกรณ์ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
    แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน มีขั้นตอนดังนี้
        – ยึดชุมชนเป็นหลัก
        – ใช้กิจกรรมทางเศรษฐกิจ
        – สร้างเครือข่าย
        – การจัดตลาดนัดชุมชน
        – การจัดประชุมประชาคม

 

 

    แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน มี 3 ส่วน ได้แก่
    ส่วนที่ 1 การสร้างความเชื่อ
        – การบริหารจัดการ คณะกรรมการบริหารกลุ่ม สมาชิกกลุ่ม
        – การใช้ทุน
        – การผลิต
        – การตลาด
    ส่วนที่ 2 แนวทางการพัฒนา
        – การพัฒนาการบริหารจัดการ
        – การพัฒนาเงินทุน
        – การพัฒนาการผลิต
        – การพัฒนาตลาด
    ส่วนที่ 3 การดำเนินงาน ดำเนินโครงการและกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
    แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงกับระบบสหกรณ์ ความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงกับสหกรณ์ จำแนกได้ดังนี้
        – การพึ่งตนเอง
        – การช่วยเหลือกัน
        – การสร้างพลังให้เข้มแข็ง
    แนวทางการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงกับสหกรณ์ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ได้แก่
        – การพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจ
        – การพึ่งตนเองด้านสังคม
        – การพึ่งตนเองด้านทรัพยากรธรรมชาติ
        – การพึ่งตนเองด้านเทคโนโลยี
        – การพึ่งพาตนเองด้านจิตใจ

 

 

แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th