ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้
1. ตลาด
ความหมายของตลาด ในทางเศรษฐศาสตร์หมายถึง กิจกรรมซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย
ประเภทของตลาด แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ มีลักษณะ5 ประการ คือ
– ผู้ซื้อและผู้ขายมีจำนวนมาก
– สินค้ามีลักษณะเหมือนกันมาก
– ผู้ผลิตสามารถเลิกล้มกิจการได้โดยง่ายและผู้ผลิตรายใหม่เข้าสู่ตลาดได้ง่าย
– สินค้าสามารถโยกย้ายไปยังภูมิภาคได้เต็มที่
– ข้อมูลเกี่ยวกับตลาดเป็นที่เปิดเผยทั่วไป
ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ แบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ
– ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด
– ตลาดผู้ขายน้อยราย
– ตลาดผูกขาด
2. กลไกราคา ประกอบด้วย
อุปสงค์
ความหมายของอุปสงค์ เป็นความต้องการของผู้บริโภค
กฎของอุปสงค์ คือ ถ้าราคาสินค้าลดลง ปริมาณที่ผู้ซื้อจะซื้อสินค้ามากขึ้น หรือเมื่อราคาสูงขึ้นปริมาณที่ผู้ซื้อจะซื้อสินค้าลดลง ซึ่งปัจจัยสำคัญที่กำหนดความต้องการซื้อของผู้บริโภค มีดังนี้
– ราคาของสินค้าและบริการ
– รายได้ของผู้บริโภค
– รสนิยมของผู้บริโภค
– ราคาสินค้าอื่นที่เกี่ยวข้อง
– ฤดูกาล
อุปทาน
ความหมายของอุปทาน เป็นความสามารถในการผลิตหรือเสนอขายสินค้าและบริการ
กฎของอุปทาน คือ ถ้าราคาสินค้าสูงขึ้น จำนวนสินค้าที่เสนอขายย่อมมากขึ้น ถ้าราคาสินค้าลดต่ำลง จำนวนสินค้าที่เสนอขายก็จะลดลง ซึ่งตัวกำหนดอื่นที่มีการเปลี่ยนแปลงแล้วทำให้อุปทานของสินค้าเปลี่ยนแปลง ได้แก่
– กรรมวิธีในการผลิต
– ราคาของปัจจัยการผลิต
– การคาดคะเนของราคาสินค้า
– ภาษีหรือเงินช่วยเหลือ
การกำหนดราคาในระบบเศรษฐกิจ มีองค์ประกอบดังนี้
– ราคาดุลยภาพ
– การเปลี่ยนแปลงของราคาดุลยภาพ
การเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าและบริการ เกิดจากความต้องการซื้อและการเสนอขายเปลี่ยนแปลง
3. ปัญหาทางเศรษฐกิจ
ปัจจุบันมีปัญหาทางเศรษฐกิจหลายปัญหา เช่น
ภาวะเงินเฟ้อ
ความหมายของภาวะเงินเฟ้อ เป็นภาวะที่เกิดขึ้นจริงที่ระดับราคาสินค้าโดยทั่วไปเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง
สาเหตุของการเกิดเงินเฟ้อ
– การที่ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น
– การที่ประชาชนมีความต้องการซื้อสินค้าและบริการเพิ่มสูงขึ้น
ผลกระทบภาวะเงินเฟ้อได้แก่
– ค่าครองชีพของประชาชนโดยทั่วไปสูงขึ้น ประชาชนส่วนใหญ่จะมีงานทำ มีรายได้สูง ไม่เป็นภาระรายรับในรูปภาษีอากรของรัฐบาลจะเพิ่มขึ้น
– กระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม
แนวทางการแก้ไขปัญหาภาวะเงินเฟ้อ ได้แก่
การแก้ไขปัญหาภาวะเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ ใช้มาตรการต่าง ๆ ดังนี้
– นโยบายการเงิน
– นโยบายการคลัง
การแก้ไขปัญหาภาวะเงินเฟ้อด้านอุปทาน ได้แก่
– การลดต้นทุนการผลิต
– การกระตุ้นการผลิต
หน่วยงานที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแลเกี่ยวกับเงินเฟ้อ มี 2 หน่วยงาน คือ
– กระทรวงพาณิชย์
– ธนาคารแห่งประเทศไทย
ภาวะเงินฝืด
ความหมายของภาวะเงินฝืด เป็นภาวการณ์ทางเศรษฐกิจที่ระดับรายได้ประชาชาติหรือผลิตภัณฑ์มวลรวมลดลงอย่างต่อเนื่อง
สาเหตุของภาวะเงินฝืด
– ธนบัตรในระบบเศรษฐกิจน้อยเกินไป
– ปริมาณเงินที่หมุนเวียนอยู่ในระบบเศรษฐกิจมีน้อย
– รัฐบาลเก็บภาษีในอัตราสูง
– สถาบันการเงินชะลอการปล่อยสินเชื่อให้แก่ระบบเศรษฐกิจ
– ธนาคารกลางดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด
– รัฐบาลใช้นโยบายงบประมาณแบบเกินดุล
ผลกระทบของภาวะเงินฝืด มีผลกระทบต่อบุคคลหลายกลุ่ม ดังนี้
กลุ่มผู้ได้ประโยชน์จากภาวะเงินฝืด ได้แก่
– กลุ่มผู้มีรายได้ประจำ
– กลุ่มผู้ที่มีรายได้จากดอกเบี้ย หุ้นกู้ ผู้ถือหุ้น
– กลุ่มผู้ที่เก็บเงินไว้กับตัวเอง
– กลุ่มผู้มีรายได้จากค่าเช่า
กลุ่มผู้เสียประโยชน์จากภาวะเงินฝืด ได้แก่
– กลุ่มเจ้าของกิจการ
– กลุ่มพ่อค้านักธุรกิจ
– กลุ่มลูกหนี้
– กลุ่มผู้เช่า
– กลุ่มผู้รับค่าจ้างรายวัน
– กลุ่มผู้ที่มีรายได้ไม่แน่นอน
แนวทางการแก้ไขปัญหาภาวะเงินฝืด ได้แก่
– การใช้นโยบายทางการเงิน
– การใช้นโยบายทางการคลัง
– มาตรการอื่น ๆ
การว่างงาน
ความหมายของการว่างงาน คือ ภาวะที่ผู้อยู่ในกำลังแรงงานไม่มีงาน
สาเหตุของการว่างงาน มี 4 ประการ คือ
– การว่างงานตามปกติในตลาดแรงงาน
– การว่างงานเนื่องจากโครงสร้าง
– การว่างงานเนื่องจากวัฏจักรเศรษฐกิจ
– การว่างงานเนื่องจากค่าแรงไม่ยืดหยุ่น
ผลกระทบของการว่างงาน
– ทำให้ผลผลิตรวมลดลง
– ทำให้การบริโภคและการลงทุนลดลง
– ทำให้การกระจายรายได้เหลื่อมล้ำ
– ทำให้ฐานะการคลังของรัฐบาลลดลง
– ทำให้เกิดปัญหาสังคม
– ทำให้เสถียรภาพของรัฐบาลไม่มั่นคง
แนวทางการแก้ไขปัญหาการว่างงาน
– การใช้นโยบายการคลัง
– การใช้นโยบายการเงิน
แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th