ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้
1. ระบบเศรษฐกิจ
แบ่งเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่
ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม คือ
– เอกชนและประชาชนมีแรงจูงใจดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
– ทรัพยากรถูกนำมาใช้อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ
– สินค้ามีคุณภาพดีขึ้นและราคาถูกลง
– เจ้าของปัจจัยการผลิตใช้ปัจจัยการผลิตอย่างเสรี
ข้อเสียระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม คือ
– การกระจายรายได้ไม่เป็นธรรม
– ใช้ทรัพยากรสิ้นเปลือง ธุรกิจใหญ่มีโอกาสขจัดคู่แข่งทางการค้า
ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม คือ
– การกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม
– สวัสดิการทั่วถึง
ข้อเสียระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม คือ
– ผู้ดำเนินการไม่มีโอกาสเป็นเจ้าของกิจการ
– การยึดหรือโอนกิจการมาเป็นของรัฐ
– ภาษีอัตราสูง
ระบบเศรษฐกิจแบบผสม
ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบผสม คือ
– กระจายรายได้และจัดสรรทรัพยากรทั่วถึง
– ได้อัตราค่าจ้างตามความรู้ความสามารถ
– เอกชนมีบทบาท
– ผู้บริโภคมีโอกาสเลือกซื้อสินค้าและบริการ
ข้อเสียระบบเศรษฐกิจแบบผสม คือ
– รัฐสั่งการรีบด่วนไม่ได้
– เอกชนดำเนินการได้ยาก
– มักขาดประสิทธิภาพ
2. การค้าระหว่างประเทศ
ความหมายของการค้าระหว่างประเทศ เกิดขึ้นเพราะแต่ละประเทศมีความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบจากการผลิตสินค้าและบริการต่างกัน ลักษณะการค้าระหว่างประเทศมีดังนี้
– การส่งออก เป็นการส่งสินค้าหรือบริการในประเทศหนึ่งไปจำหน่ายประเทศอื่น
– การนำเข้า เป็นการซื้อสินค้าและวัตถุดิบประเทศอื่น
สาเหตุการค้าและการกระจายทรัพยากรในโลก ได้แก่
– ความแตกทางภูมิศาสตร์
– ความต่างทางทรัพยากรธรรมชาติ
– ความต่างเกี่ยวกับความได้เปรียบในการผลิต
3. การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ
หลักการและลักษณะกลุ่มประเทศทางเศรษฐกิจ มีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ5 ระดับ คือ
– เขตการค้าเสรี
– ตลาดร่วม
– สหภาพเศรษฐกิจ
– สหภาพเหนือชาติ
ผลกระทบจากการพึ่งพากันทางเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชีย
– ทำให้จัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
– ส่งเสริมการออมและการลงทุนภายในประเทศ
– ประชาชนมีมาตรฐานการครองชีพที่ดี
– การแข่งขันเพิ่มขึ้น
– บรรเทาปัญหาด้านการคลังของรัฐ
ปัญหาจากการค้าระหว่างประเทศ คือ
– ขาดดุลการค้า
– การเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิต
– การเลียนแบบการบริโภค
ตัวอย่างกลุ่มเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียง วัตถุประสงค์การก่อตั้ง ได้แก่
– ส่งเสริมความร่วมมือการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
– ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคง
– ส่งเสริมความร่วมมือ
เขตการค้าเสรีอาเซียน วัตถุประสงค์การตั้ง ได้แก่
– เพิ่มปริมาณการค้า
– สร้างแรงดึงดูดลงทุน
– เป็นฐานการที่ขีดความสามารถระดับโลก
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย–แปซิฟิก วัตถุประสงค์ ได้แก่
– พัฒนาและส่งเสริมระบบการค้าพหุภาคี
– สนับสนุนการขยายตัวเศรษฐกิจ
– ลดอุปสรรคและอำนวยความสะดวกการค้า
4. การแข่งขันทางการค้า
ความหมายและความสำคัญของการแข่งขันทางการค้า เป็นการแข่งขันในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ
การแข่งขันทางการค้าในประเทศ สรุปได้ 4 ลักษณะ ดังนี้
– การใช้อำนาจเหนือตลาด
– การตกลงร่วมกัน
– การรวมธุรกิจ
– การค้าไม่เป็นธรรม
การแข่งขันทางการค้าต่างประเทศ คล้ายการแข่งขันในประเทศแต่ไม่มีการรวมธุรกิจ
นโยบายการแข่งขันทางการค้า แต่ละประเทศมีนโยบายการแข่งขันการค้าและพฤติกรรมที่จำกัดหรือกีดกันการแข่งขันการค้าทั้งที่คล้ายและต่างกัน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
– การใช้อำนาจเหนือตลาด พฤติกรรมการใช้อำนาจเหนือตลาดแข่งขันการค้าประเทศต่างๆ
– การตกลงร่วมกัน เพื่อลดการแข่งขันการค้าประเทศต่างๆ
– การค้าที่ไม่เป็นธรรม พฤติกรรมการค้าที่ไม่เป็นธรรมประเทศต่างๆ
นโยบายการค้าระหว่างประเทศ แบ่งเป็น 2 นโยบาย คือ
– นโยบายการค้าเสรี เป็นนโยบายที่ส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
– นโยบายการค้าคุ้มกัน เป็นนโยบายคุ้มกันตลาดสินค้าในประเทศ
ผลกระทบการแข่งขันทางการค้า
– ด้านคุณภาพสินค้า ผู้ผลิตต้องลดต้นทุนการผลิตและรักษาระดับคุณภาพสินค้าและบริการ
– ด้านปริมาณการผลิต เกิดการผลิตปริมาณมากขึ้นและต้นทุนการผลิตลดลง
– ด้านราคาสินค้า ผู้ผลิตที่ส่งสินค้าออกมีรายได้เพิ่มและจำหน่ายสินค้าในราคาเหมาะสม
แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th