ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้
1. การผลิตสินค้าและบริการ
ความหมายและความสำคัญของการผลิตสินค้าและบริการ
การผลิต เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงหรือแปรรูปปัจจัยการผลิตให้เป็นสินค้าและบริการ ซึ่งในการตัดสินใจเลือกใช้ทรัพยากรดังกล่าว ผู้ผลิตต้องคำนึงถึงปัจจัยด้านทุน ด้านความคุ้มค่า และด้านคุณธรรม
สินค้า แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
– สินค้าไร้ราคา เป็นสิ่งที่มีตามธรรมชาติ และโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
– สินค้าทางเศรษฐศาสตร์ ใช้บำบัดความต้องการมนุษย์
ซึ่งการผลิตสินค้าแบ่งเป็น 3 ขั้น คือ
– ขั้นปฐมภูมิ ใช้ประโยชน์จากธรรมชาติโดยตรง ไม่ซับซ้อน และผลผลิตที่ได้จะไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าอื่น
– ทุติยภูมิ การนำผลผลิตขั้นปฐมภูมิมาดัดแปลงเป็นสินค้าใหม่
– ตติยภูมิ ส่งผลผลิตขั้นปฐมภูมิและทุติยภูมิไปสู่ผู้บริโภค และ อำนวยความสะดวก
การบริการ ซึ่งเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ แบ่งได้เป็น
– การบริการส่วนบุคคล มุ่งสู่ผู้บริโภคโดยตรง
– การบริการส่วนธุรกิจ มุ่งสู่ธุรกิจโดยตรง
หลักการผลิตสินค้าและบริการอย่างมีประสิทธิภาพ มีดังนี้
– ด้านบุคลากร ใช้หลักการแบ่งงาน
– ด้านการจัดการ ได้แก่ การวางแผนและควบคุมการผลิต
– ด้านปัจจัยการผลิต ได้แก่ การเลือกสินค้าหรือบริการที่ใช้
2. ปัจจัยการผลิตสินค้าและบริการ ประกอบด้วย
– ที่ดิน ผลตอบแทนได้แก่ ค่าเช่า
– แรงงาน ผลตอบแทน คือ ค่าจ้าง
– ทุน ผลตอบแทน ได้แก่ ดอกเบี้ย
– ผู้ประกอบการ ผลตอบแทน คือ กำไร
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการผลิตสินค้าและบริการ คือ
– ปัจจัยทางด้านทุน
– ปัจจัยด้านความคุ้มค่า
– ปัจจัยด้านคุณธรรม
เทคโนโลยีการผลิตสินค้าและบริการ
ความหมายของเทคโนโลยี การนำเทคโนโลยีมาผลิตสินค้าและบริการ หมายถึง ความรู้และการถ่ายทอดความรู้การใช้ทรัพยากร โดยเฉพาะความรู้ที่มีประโยชน์ต่อการผลิตและกระจายผลผลิต
แหล่งที่มา เทคโนโลยี มาจาก 2 แหล่ง ได้แก่
– ทรัพยากรมนุษย์
– เครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิต
การนำเทคโนโลยีมาผลิตสินค้าและบริการ ทำให้ผลผลิตที่มีคุณภาพและปริมาณสูงขึ้น
ผลของการใช้เทคโนโลยีในการผลิตสินค้าและบริการ
– ผลต่อผู้ผลิต ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายต่อหน่วยการผลิตลดลง และผลผลิตมาก
– ผลต่อผู้บริโภค ผู้บริโภคที่รายได้จำกัดมีโอกาสซื้อสินค้าราคาต่ำ หรือราคาเท่าเดิมแต่บริโภคมากขึ้น
การผลิตสินค้าและบริการในท้องถิ่น
โครงสร้างการผลิตของไทย แบ่งเป็น 3 สาขา คือ
– ภาคเกษตรกรรม เพราะประชากรของไทยมักประกอบอาชีพเกษตรกรรม
– ภาคอุตสาหกรรม ทำให้เศรษฐกิจประเทศขาดเสถียรภาพ
– ภาคบริการ เสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ
ปัญหาจากการผลิต
– ภาคเกษตรกรรม ประสบปัญหาขาดทุน
– ภาคอุตสาหกรรม ได้แก่ การที่สินค้าไทยแข่งขันกับประเทศอื่นไม่ได้
– ภาคบริการ ได้แก่ ปัญหาวิกฤตการเมืองในประเทศที่ยืดเยื้อ
การวิเคราะห์ทุนในการผลิต
ปัจจัยสำคัญในการผลิตสินค้าและบริการ คือ ทุน ซึ่งทุนการผลิต 3 ด้าน ดังนี้
– ทุนทางสังคม ประกอบด้วย คน องค์ความรู้ วัฒนธรรม และสถาบัน
– ทุนทางเศรษฐกิจ ประกอบด้วย ทุนทางกายภาพ ทุนการเงิน
– ทุนทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย ทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อม
3. การคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค
ความหมายของผู้บริโภค ผู้ที่มีความสามารถซื้อสินค้าและบริการเพื่อใช้ประโยชน์ส่วนตัวหรือครัวเรือน
หลักการในการเลือกซื้อสินค้าและบริการ ได้แก่
– ควรจะซื้ออะไร ควรไตร่ตรองก่อน
– ซื้ออย่างไร การซื้อสินค้ามีทั้งเงินสดและเงินผ่อน
– ซื้อเมื่อใด ควรซื้อสินค้าในเวลาที่เหมาะสม
– ซื้อที่ไหน ร้านค้าจำหน่ายสินค้าต่างกัน
การรักษาและคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้บริโภค สิทธิของผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 มี 5 ประการ คือ
– สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ
– สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ
– สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ
– สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา
– สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย
กฎหมายคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กระทรวงสาธารณสุข มีหน่วยงานที่รับผิดชอบ ดังนี้
– สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กำกับดูแลเรื่องอาหาร ยา และเครื่องสำอาง
– สำนักงานแพทยสภา รับเรื่องร้องเรียนการรักษาพยาบาล การบริการของแพทย์
– กองประกอบโรคศิลป์ รับเรื่องร้องเรียนการบริการของสถานพยาบาลภาคเอกชน
กระทรวงพาณิชย์ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ได้แก่
– กรมพัฒนาธุรกิจการค้า รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการชั่งตวงวัด
– กรมการค้าภายใน ดูแลด้านการกำหนดสินค้าและป้องกันการผูกขาด
– สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ดูแลเรื่องการประกันอุบัติเหตุ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีหน่วยงานที่รับผิดชอบ ดังนี้
– กรมปศุสัตว์ ดูแลกฎหมายเกี่ยวข้องและรับผิดชอบในการคุ้มครองผู้บริโภคเรื่องการควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์
– กรมวิชาการเกษตร ดูแลกฎหมายเกี่ยวข้องและรับผิดชอบการคุ้มครองผู้บริโภคเรื่องปุ๋ยและวัตถุอันตราย
กระทรวงอุตสาหกรรม หน่วยงานที่รับผิดชอบ
– สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ควบคุมคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์สินค้าอุตสาหกรรม
กระทรวงคมนาคม หน่วยงานที่รับผิดชอบ
– การเดินทางขนส่ง คือ กรมการขนส่งทางบก
กระทรวงมหาดไทย มีหน่วยงานรับผิดชอบ ดังนี้
– กรมโยธาธิการและผังเมือง รับผิดชอบในการคุ้มครองผู้บริโภคเรื่องการควบคุมอาคารและอาคารชุด
– กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น รับผิดชอบในการคุ้มครองผู้บริโภคเรื่องโรงแรม หอพัก และการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง
– กรมที่ดิน รับผิดชอบการคุ้มครองผู้บริโภคเรื่องการจัดสรรที่ดินและอาคารชุด
กระทรวงการคลัง ดูแลเรื่องการเงิน
สำนักงานตำรวจท่องเที่ยว รับเรื่องร้องเรียนจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค รับเรื่องร้องผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหาย เพราะการกระทำผู้ประกอบธุรกิจ
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค รับเรื่องร้องทุกข์และแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิผู้บริโภค
แนวทางการปกป้องสิทธิของผู้บริโภค
แนวทางปฏิบัติผู้บริโภคในการซื้อสินค้าหรือบริการ
– ผู้บริโภคต้องดูฉลากสินค้า
– สอบถามข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคุณภาพสินค้า
– ศึกษาเงื่อนไขหรือข้อจำกัดสินค้า
– ร้องขอให้หน่วยงานเกี่ยวข้องตรวจสอบคุณภาพและปริมาณสินค้า
– ศึกษารายละเอียดอื่น ที่อาจไม่ได้ระบุในฉลาก
แนวทางปฏิบัติหลังจากซื้อสินค้าหรือบริการ
– ผู้บริโภคเก็บพยานหลักฐานที่แสดงการถูกละเมิดสิทธิ
การเตรียมตัวเพื่อร้องทุกข์สำหรับผู้บริโภค
– การเตรียมเอกสาร หลักฐานของผู้ร้องเรียน
– การยื่นเรื่องร้องเรียน
แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th