สำนวนไทย
ในชีวิตประจำวันของคนเรามีการใช้สำนวนไทยอย่างมาก โดยเฉพาะไนการสื่อสารของมนุษย์ ดังนั้นการศึกษาเกี่ยวกับสำนวนไทยจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ในที่นี้จะได้ทราบถึงสาเหตุของการเกิดสำนวนไทยมีความเป็นมาอย่างไร สำนวนไทยมีลักษณะของคำเป็นอย่างไร และสำนวนไทยมีประโยชน์และมีความจำเป็นมากน้อยเพียงใดในชีวิตประจำวันของมนุษย์
ที่เกิดสำนวนไทย
ที่เกิดสำนวนไทยมีมูลเหตุจากหลายทางด้วยกัน เป็นต้นว่า เกิดจากธรรมชาติ เกิดจากการกระทำ ความประพฤติ การกินอยู่ของคน เกิดจากแบบแผนประเพณีและวัฒนธรรม เกิดจากศาสนา เกิดจากนิยาย นิทาน ตำนานหรือประวัติวัติศาสตร์ เกิดจากกีฬา ารละเล่นหรือการแข่งขัน และมูลเหตุอื่นๆอีก ซึ่งพอสรุปประการสำคัญ ๆ เป็นตัวอย่างได้ดังนี้ เช่น
ข้าวคอยฝน, ฝนตกไม่ทั่วฟ้า, คลื่นใต้น้ำ, น้ำซึมบ่อทราย,ไม้งามกระรอกเจาะ, ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น
2. เกิดจากสัตว์ เช่น
ไก่แก่แม่ปลาช่อน, ขี่ช้างจับตั๊กแตน, ปลากระดี่ได้น้ำ, วัวแก่เคี้ยวหญ้าอ่อน, เสือซ่อนเล็บ, หมาหยอกไก่
3. เกิดจากการกระทำ ความประพฤติ การปฏิบัติและการกินอยู่ของคน เช่น
ขึ้นต้นไม้ปะรังแตน, ขึ้นต้นไม้ช่วยแรงคาถา, ไกลปีนเที่ยง, ปิดทองหลังพระ, ชักใบให้เรือเสีย, พายเรือคนละที, นอนตาไม่หลับ, หาเช้ากินค่ำ
4. เกิดจากอวัยวะต่าง ๆ เช่น
ใจลอย, ตาเล็กตาน้อย, ตีนเท่าฝาหอย, ปากยังไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม, มืออยู่ไม่สุข, หัวรักหัวใคร่
5. เกิดจากของกินของใช้ เช่น
ข้าวแดงแกงร้อน, ไข่ในหิน, ฆ้องปากแตก, ผ้าขี้ริ้วห่อทอง, ลงเรือลำเดียวกัน, บ้านเคยอยู่ อู่เคยนอน
6. เกิดจากแบบแผนประเพณีและวัฒนธรรม เช่น
ช้างเท้าหลัง, ตื่นก่อนนอนหลัง, เข้าตามตรอกออกตามประตู, เป็นทองแผ่นเดียวกัน, ฝังรกฝังราก, คนตายขายคนเป็น
7. เกิดจากศาสนา เช่น
กรวดน้ำคว่ำขัน, ขนทรายเข้าวัด, ตักบาตรถามพระ, บุญทำกรรมแต่ง, เทศน์ไปตามเนื้อผ้า, ผ้าเหลืองร้อน
8. เกิดจากนิทาน ตำนาน วรรณคดี หรือประวัติศาสตร์ เช่น
กระต่ายหมายจันทร์, กบเลือกนาย, ชักแม่น้ำทั้งห้า, ฤษีแปลงสาร, ดอกพิกุลจะร่วง, ปากพระร่วง
9. เกิดจากการละเล่น กีฬาหรือการแข่งขัน เช่น
ไก่รองบ่อน, งงเป็นไก่ตาแตก, รุกฆาต, ดูตาม้าตาเรือ, ลูกไก่,ว่าวขาดลมลอย
ประโยชน์ในการศึกษาสำนวนโวหาร
1. ทำให้ใช้ภาษาในการเขียน ความเรียงต่าง ๆ ได้ดีขึ้น เป็นการช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับความเรียงที่เขียนขึ้น
2. ทำให้ได้คติสอนใจ ในด้านต่าง ๆ เช่น
- ด้านการเรียน ตัวอย่างเช่น "รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม” “ฝนทั่งให้เป็นเข็ม” “ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด”
- ด้านการคบค้าสมาคม ตัวอย่างเช่น “คบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ” “คบเด็กสร้างบ้าน คบหัวล้านสร้างเมือง”
- ด้านการครองเรือน ตัวอย่างเช่น “ความในอย่านำออก ความนอกอย่านำเข้า” “ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ปลูกอู่ตามใจผู้นอน”
- ด้านความรัก ตัวอย่าง “ยามรักน้ำต้มผักก็ว่าหวาน” “รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ” “รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี”
3. ทำให้ทราบความเป็นอยู่ของคนในสังคม ในสมัยที่เกิดสำนวนโวหารนั้น ว่ามีความเป็นอยู่ อย่างไร ตัวอย่างเช่น “อัฐยายซื้อขนมยาย” “แบ่งสันปันส่วน” “หมูไปไก่มา”
4. เป็นการรักษาวัฒนธรรมทางภาษาอันเป็นมรดกที่ล้ำค่าของไทยไว้ให้ลูกหลานภาคภูมิใจ