ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้
1. การทำงานกับสมาชิกในครอบครัว
หลักการทำงานร่วมกัน
หลักการทำงานร่วมกันต้องอาศัยกระบวนการทำงานและการจัดการที่ดี เพื่อให้งานมีประสิทธิภาพ
ประโยชน์ของการทำงานตามกระบวนการและการจัดการที่ดี
– รู้จักการทำงานเป็นขั้นตอน และทำให้ควบคุมงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
– เตรียมการแก้ปัญหาได้ล่วงหน้า
– สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
– สามารถทำงานได้สำเร็จและมีคุณภาพ
วิธีการทำงานตามกระบวนการทำงาน มีดังนี้
1. การวางแผน
2. การปฏิบัติงาน
3. การตรวจสอบผลงาน
4. การปรับปรุงและแก้ไข
หลักการทำงานกับสมาชิกในครอบครัว
– วางแผนโดยแบ่งหน้าที่ตามความถนัดและความสามารถ
– ปฏิบัติงานตามกระบวนการทำงาน
– รักษามารยาทและมีคุณธรรม
มารยาทและคุณธรรมในการทำงาน
มารยาทในการทำงาน
– มีความรับผิดชอบ และรอบคอบ
– มีน้ำใจ และความสามัคคี
– มีทัศนคติ และมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
– เสนอและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
– ไม่ตะโกนและพูดคุยในเวลาทำงาน
คุณธรรมในการทำงาน
– มีความรับผิดชอบ
– ขยัน
– มีความซื่อสัตย์
– ประหยัด
– มีความรู้สึกที่ดีต่อการทำงาน
2. การดูแลรักษาเสื้อผ้า
การซักผ้าและการตากผ้า
การซักผ้าด้วยมือ มีกระบวนการทำงาน ดังนี้
1. การวางแผน เขียนแผนที่ความคิดเพื่อให้เห็นภาพรวมของงาน
2. การปฏิบัติงาน ลงมือซักผ้าด้วยมือโดยเริ่มจากแยกแช่ผ้าสีตกและผ้าสีไม่ตกในน้ำเปล่า ขยี้ผ้าแล้วนำมาแช่ในน้ำผสมผงซักฟอก ซักผ้าทีละชิ้นโดยใช้แปรงขัด หลังจากนั้นนำมาซักในน้ำเปล่าอีกครั้งจนผ้าสะอาด เสร็จแล้วบิดผ้าแล้วนำไปตาก
3. การตรวจสอบผลงาน ตรวจสอบว่าผ้าสะอาดหรือไม่
4. การปรับปรุงและแก้ไข หากว่าพบว่าผ้ายังไม่สะอาดให้นำไปซักอีกครั้ง
การพับผ้า
เมื่อผ้าแห้งแล้วให้เก็บมาแยกประเภท ดังนี้
– เสื้อผ้าที่ต้องรีด เช่น เสื้อนักเรียน ให้พับใส่กระตร้าเพื่อรอรีด
– เสื้อผ้าที่ไม่ต้องรีด เช่น ผ้าเช็ดตัว ให้พับเก็บใส่ตู้เสื้อผ้าให้เรียบร้อย
การรีดผ้า
เป็นการทำให้ผ้าเรียบโดยอาศัยความร้อน กระบวนการทำงาน มีขั้นตอนดังนี้
1. การวางแผน เขียนแผนที่ความคิดเพื่อให้เห็นภาพรวมของงาน
2. การปฏิบัติงาน ลงมือรีดผ้าโดยเริ่มจากการฉีดน้ำพรมเสื้อผ้า เสียบปลั๊กเตารีดรอให้ร้อนแล้วนำมารีดเสื้อผ้าให้เรียบ
3. การตรวจสอบผลงาน ตรวจสอบว่าเสื้อผ้าเรียบหรือไม่
4. การปรับปรุงและแก้ไข หากเสื้อผ้ายังไม่เรียบให้นำมารีดใหม่อีกครั้ง
การซ่อมแซมเสื้อผ้า
อุปกรณ์ที่ใช้ซ่อมแซมเสื้อผ้า มีดังนี้
– เข็มเย็บผ้า
– เข็มหมุด
– ด้าย
– กรรไกร
ตัวอย่างการซ่อมแซมเสื้อผ้า
การซ่อมแซมกระดุมเสื้อหลุด มีกระบวนการดังนี้
1. การวางแผน เขียนแผนที่ความคิดเพื่อให้เห็นภาพรวมของงาน
2. การปฏิบัติงาน ลงมือซ่อมแซมกระดุมที่หลุด เริ่มจากการตำแหน่งที่กระดุมหลุด แล้วเย็บกระดุมเสื้อโดยการร้อยด้ายขมวดปม นำกระดุมไปวางหงาย แทงเข็มลงช่องกระดุมเย็บให้ครบทุกช่องจนแน่น แล้วพันปลายเข็มเพื่อเก็บด้าย
3. การตรวจสอบผลงาน ตรวจดูความแน่นของกระดุม
4. การปรับปรุงและแก้ไข หากกระดุมที่เย็บยังไม่แน่นหรือวางไม่ตรงกัน ให้เลาะออกแล้วเย็บใหม่
การซ่อมแซมเสื้อที่มีรอยขาด มีกระบวนการดังนี้
1. การวางแผน เขียนแผนที่ความคิดเพื่อให้เห็นภาพรวมของงาน
2. การปฏิบัติงาน ซ่อมแซมโดยการปะผ้า เริ่มจากเล็มด้ายที่รุ่ยบริเวณรอยขาดออก หาเศษผ้าขนาดสี่เหลี่ยมที่ใหญ่กว่ารอยขาดมาทาบที่เสื้อด้านนอกแล้วใช้เข็มหมุดกลัดรอบๆ เนาผ้าโดยดึงเข็มหมุดออกทีละตัว ขึงผ้าให้ตึงแล้วสอยถี่ ๆ รอบเศษผ้าที่ปะ ดึงด้ายเนาออก ใช้กรรไกรขลิบเล็มรอยขาดด้านใน พับรอยขาดเข้าข้างในแล้วเนาโดยรอบ จากนั้นสอยถี่ๆให้ติดกับตัวเสื้อ เสร็จแล้วดึงด้ายเนาออก
3. การตรวจสอบผลงาน ตรวจดูความเรียบร้อย
4. การปรับปรุงและแก้ไข ถ้าสอยด้ายไม่เรียบร้อยให้เลาะแล้วสอยใหม่
3. การปลูกพืช
การปลูกผักบุ้งจีน มีกระบวนการทำงานดังนี้
1. การวางแผน เขียนแผนที่ความคิดเพื่อให้เห็นภาพรวมของงาน
2. การปฏิบัติงาน ลงมือปลูกผักบุ้งจีนโดยเริ่มจากเตรียมเมล็ดพันธุ์ที่แข็งแรงและแปลงปลูกให้พร้อม แล้วจึงหว่านผักบุ้งจีนลงแปลงปลูก ควรดูแลรักษาโดยการกำจัดวัชพืชและใส่ปุ๋ย หลังจากนั้น 25–30 วันจึงเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ จัดการกับผลผลิตได้โดยการนำผักบุ้งจีนที่ปลูกได้ไปขาย
3. การตรวจสอบผลงาน ตรวจดูความเรียบร้อยของแปลงปลูก
4. การปรับปรุงและแก้ไข หากพบวัชพืชให้รีบกำจัดทิ้ง
แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th