ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้
1. กระบวนการทำงาน
ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่
ขั้นตอนที่ 1 การวางแผน
ขั้นตอนที่ 2 การปฏบัติงาน
ขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบผลงาน
ขั้นตอนที่ 4 การปรับปรุงแก้ไข
ประโยชน์ของการทำงานตามกระบวนการทำงาน
– ฝึกรู้จักการทำงานเป็นขั้นตอน
– ประหยัดเวลา
– ป้องกันปัญหาที่เกิดระหว่างการปฏิบัติงาน
2. การใช้ทรัพยากรและพลังงาน
การใช้น้ำแบบประหยัด
– รองน้ำใส่แก้วขณะแปรงฟัน
– อาบน้ำจากฝักบัว
– ใช้โถส้วมระบบกดน้ำน้อย
– ล้างจานในกะละมัง และนำไปรดน้ำต้นไม้
– ล้างผักผลไม้ในอ่าง
– ทำความสะอาดโดยการกวาดแทนการใช้สายยางฉีดน้ำ
– ซักผ้าครั้งละมากๆ
– ปิดน้ำหลังใช้เสร็จ
การใช้ไฟฟ้าแบบประหยัดพลังงาน
– ใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ที่มีกำลังวัตต์ต่ำ และปิดไฟทุกครั้งหลังเลิกใช้งาน
– ไม่เปิดปิดโทรทัศน์บ่อยๆ และปิดโทรทัศน์พร้อมถอดปลั๊กทุกครั้งเมื่อเลิกดู
– ใช้พัดลมตั้งโต๊ะแทนพัดลมเพดาน ปิดและถอดปลั๊กออกทุกครั้งหลังเลิกใช้งาน
– รีดผ้าครั้งละหลายๆชิ้น เมื่อรีดเสร็จควรปิดสวิตซ์และดึงปลั๊กออก
การใช้ทรัพยากรในการทำงานแบบประหยัด
– ใช้วัสดุในการทำงานอย่างพอเหมาะ เช่น ไม่ใช้น้ำยาล้างจานมากเกินไป
– นำวัสดุเหลือใช้มาทำประโยชน์ เช่น นำเศษผ้ามาทำเป็นถุงมือจับของร้อน
3. การดูแลรักษาของใช้ส่วนตัว
วิธีการดูแลเสื้อผ้า
– ใช้เสื้อผ้าอย่างระมัดระวัง เช่น สวมผ้ากันเปื้อนขณะปรุงอาหาร
– ทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ
– ซ่อมแซมเสื้อผ้าที่ชำรุด
– จัดเก็บให้เรียบร้อย
วิธีการดูแลรักษาเครื่องแต่งกาย
– ถุงเท้า ควรซักและตากให้แห้งทุกครั้ง
– รองเท้า ถ้าเป็นรองเท้าหนังให้ขัดให้สะอาดจนขึ้นเงา ส่วนรองเท้าผ้าใบนำไปซักให้สะอาด แล้วนำไปตากแดด
– หมวก ถ้าเป็นหมวกผ้าให้นำไปซักและตากให้แห้ง ส่วนหมวกสานให้ใช้แปรงปัดฝุ่นออก
– เข็มขัด ถอดปลายเข็มขัดออก แล้วนำไปแขวนหรือม้วนเก็บ
วิธีการดูแลรักษาของใช้ส่วนตัวที่ใช้ทุกวัน
– ผ้าเช็ดตัว เมื่อใช้แล้วผึ่งให้แห้ง ควรซักสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
– ผ้าเช็ดหน้า ต้องเปลี่ยนทุกวัน เมื่อใช้แล้วให้นำไปซัก
– หวี เมื่อใช้แล้วเช็ดให้แห้ง และล้างทำความสะอาดสัปดาห์ละครั้ง
– แปรงสีฟัน เมื่อใช้แล้วล้างให้สะอาด ลวกน้ำร้อน แล้วซับให้แห้ง
4. การจัดตู้เสื้อผ้า โต๊ะเขียนหนังสือ และกระเป๋านักเรียน
ตามกระบวนการทำงาน มีขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การวางแผน มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้หยิบของได้ใช้อย่างสะดวก
ขั้นตอนที่ 2 การปฏิบัติงาน จัดตู้เสื้อผ้า โต๊ะเขียนหนังสือ และกระเป๋านักเรียนให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
ขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบผลงาน ตรวจสอบผลงานไว้เป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือไม่
ขั้นตอนที่ 4 ปรับปรุงแก้ไข เมื่อพบข้อบกพร่องให้ปรับปรุงแก้ไข
5. การต้อนรับบิดามารดาหรือผู้ปกครอง
การต้อนรับบิดามารดาหรือผู้ปกครองเมื่อท่านกลับบ้าน
– ยกมือไหว้พร้อมกล่าว”สวัสดี”
– ช่วยถือของ และนำน้ำเย็นมาให้ดื่ม
– หากมีคนมาหาหรือฝากข่าวไว้ ควรบอกท่านให้เรียบร้อย
– คอยช่วยเหลืองานต่าง ๆ
การต้อนรับบิดามารดาหรือผู้ปกครองในโอกาสที่ท่านได้รับเชิญจากทางโรงเรียน
– พาท่านไปนั่งในสถานที่ที่เตรียมไว้
– ไปแจ้งครูประจำชั้นให้ทราบ ก่อนพาผู้ปกครองไปพบ
– คอยอยู่รับใช้ใกล้ๆ
6. มารยาทในการรับประทานอาหาร
มีวิธีปฏิบัติดังนี้
– การนั่งรับประทานอาหาร ผู้ที่มาก่อนควรเข้าไปนั่งเก้าอี้ด้านในสุด และไม่ควรวางข้อศอกบนโต๊ะ หรือเอามือเท้าคาง ส่วนถ้าหากนั่งรับประทานอาหารกับพื้นผู้หญิงควรนั่งพับเพียบ ผู้ชายนั่งขัดสมาธิ
– ขณะรับประทานอาหาร ควรระวังไม่ให้ช้อนและส้อมกระทบกัน ใช้ช้อนกลางทุกครั้ง ตักอาหารพอดีคำ ไม่เคี้ยวอาหารเสียงดัง ดื่มน้ำที่อยู่ทางด้านขวามือของตน และหากจำเป็นต้องคายเศษอาหารควรหันหลังออกนอกวงแล้วคายใส่กระดาษเช็ดปาก
– เมื่อรับประทานอาหารเสร็จแล้ว ควรเขี่ยเศษอาหารรวมกันไว้ข้างจาน แล้วรวบช้อนส้อม
7.การใช้ห้องเรียนและห้องส้วม
การใช้ห้องเรียน ควรปฏิบัติดังนี้
– เดิน และปิดหรือเปิดประตูเบาๆ
– ไม่ลุกเดินไปมา ไม่พูดคุยเสียงดัง และไม่รับประทานอาหารในห้องเรียน
– เตรียมอุปกรณ์การเรียนให้พร้อม และมีน้ำใจต่อเพื่อนๆ
– เก็บเก้าอี้ให้เป็นระเบียบทุกครั้ง
– ตั้งใจเรียน
– ช่วยกันดูแลรักษาสิ่งของเครื่องใช้ และทำความสะอาดทุกวัน
การใช้ห้องส้วม ควรปฏิบัติดังนี้
– ตรวจดูอุปกรณ์ภายในห้องส้วมก่อนใช้
– ไม่ถ่ายออกนอกโถส้วม ไม่เหยียบโถส้วม และทำความสะอาดทุกครั้งเมื่อใช้เสร็จ
– ไม่ทิ้งวัสดุต่างๆลงโถส้วม
– ไม่ควรขีดเขียนฝาผนัง
– ตรวจดูเครื่องแต่งกายและล้างมือให้สะอาดก่อนออกจากห้องส้วม
แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th