การตั้งชื่อพายุ
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 284.9K views



หลักการตั้งชื่อพายุ
 

                 โดยหลักเกณฑ์ในการตั้งชื่อพายุ เดิมทีประเทศสหรัฐฯ จะเป็นผู้ตั้งชื่อพายุของทั่วโลกมาโดยตลอด เพราะเป็นประเทศเดียวที่มีความเพียบพร้อมทางเทคโนโลยีทางดาวเทียมตรวจสภาพ อากาศ ดูความเคลื่อนไหวของพายุ

               การตั้งชื่อพายุสมัยก่อนนั้นจะใช้ชื่อผู้หญิงในการตั้ง เพราะฟังแล้วจะดูอ่อนโยนอ่อนหวาน ทำให้ดูรุนแรงน้อยลง ในกรณีที่ผู้ตั้งชื่อเป็นนักเดินเรือ ก็จะตั้งชื่อพายุเพื่อคลายความคิดถึง ถึงคนที่เป็นที่รัก แต่ภายหลังก็มีนักสิทธิสตรีในสหรัฐฯ ออกมาประท้วงว่าการตั้งชื่อพายุทำให้ภาพลักษณ์ของผู้หญิงโหดร้าย ภายหลังจึงมีการตั้งชื่อผู้ชายด้วย

 


            กระทั่งปี ค.ศ.2000 ได้มีการเปิดโอกาสให้ประเทศต่างๆ จากทุกโซนของโลกเสนอชื่อพายุได้ประเทศละ 10 ชื่อ โดยกำหนดให้ใช้ภาษาท้องถิ่นในแต่ละประเทศในการตั้งชื่อพายุ
 

เกณฑ์การตั้งชื่อ 

1. เมื่อมีพายุที่มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางของพายุมากกว่า 34 น็อต หรือ 63 กม./ชม. พายุนั้นจะถูกตั้งชื่อ

2. ชื่อของพายุจะเริ่มใช้ที่คอลัมน์ที่หนึ่งตัวบนสุดก่อน เช่น เมื่อมีพายุเกิดขึ้นมีความเร็วลมสูงสุด ใกล้จุดศูนย์กลาง ตามที่กำหนด ในข้อ 1. เป็นตัวแรกของปี พายุนั้นจะมีชื่อว่า "Damrey (ดอมเรย์)"

3. เมื่อมีพายุตัวต่อไปเกิดขึ้นอีก และมีความเร็วลมสูงสุดใกล้จุดศูนย์กลางตามที่กำหนดในข้อ 1. พายุนั้นจะใช้ชื่อที่อยู่ถัดลงมา ในคอลัมน์ที่ 1 เช่น พายุตัวที่สองจะมีชื่อว่า "Longwang (หลงหวาง)"

4. เมื่อใช้จนหมดคอลัมน์ให้ใช้ชื่อแรกของคอลัมน์ที่อยู่ถัดไป เช่น พายุที่เกิดหลังพายุ "Trami (ทรามี)" จะใช้ชื่อ "Kongrey (กองเรย์)"

5. เมื่อใช้จนหมดคอลัมน์ที่ 5 ให้กลับมาใช้ชื่อแรกของคอลัมน์ที่ 1 เช่น พายุที่เกิดหลังพายุ "Saola (เซลลา)" จะใช้ชื่อ "Damrey (ดอมเรย์)"

 

           ในส่วนของประเทศไทย ตั้งอยู่ในโซนมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกตอนบน และทะเลจีนใต้ ร่วมกับสมาชิกประเทศอื่นๆ ได้แก่กัมพูชา, จีน, เกาหลีเหนือ-ใต้, ฮ่องกง, ญี่ปุ่น, ลาว, มาเก๊า, มาเลเซีย ไมโครนีเซีย (รัฐอิสระอยู่บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือหมู่เกาะอินโดนีเซีย) ฟิลิปปินส์, สหรัฐฯ และเวียดนาม

          ทั้งนี้ชื่อพายุจะแบ่งเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 28 ชื่อ ชื่อพายุแต่ละชื่อ จะเรียงตามชื่อประเทศของลำดับตัวอักษรภาษาอังกฤษ เริ่มจากกัมพูชา เรื่อยไปจนถึงเวียดนามซึ่งเป็นอันดับสุดท้าย โดยไทยเราอยู่อันดับที่ 12 เมื่อใช้หมด 1 กลุ่มก็จะขึ้นชื่อแรกในกลุ่มที่ 2 เรียงกันเรื่อยไปจนครบทุกกลุ่ม แล้วจึงกลับมาใช้ชื่อแรกของกลุ่มที่ 1 ใหม่อีกครั้ง

             ด้วยเหตุนี้ ทางกรมอุตุนิยมวิทยาจึงได้ตั้ง คณะกรรมการพิจารณารายชื่อ และความหมายของชื่อขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนเสนอชื่อพายุใน ภาษาไทยที่ที่ประชุมของ ศูนย์เตือนภัยพายุไต้ฝุ่นร่วม หรือ เจทีดับบลิวซี (Joint Typhoon Warning Center (JTWC)) ซึ่งตั้งอยู่ที่เกาะกวม ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก โดยมีสมาชิกอีก 14 ประเทศในโซนเดียวกันมาร่วมประชุม จนได้ชื่อพายุของไทยตามลำดับได้แก่ พระพิรุณ, ทุเรียน, วิภา, รามสูร, เมขลา, มรกต, นิดา, ชบา, กุหลาบ และขนุน

 

 


รายชื่อพายุทั้งหมด 

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนที่ใช้ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตกและทะเลจีนใต้
 

Column 1

Column 2

Column 3

Column 4

Column 5

DAMREY (ดอมเรย)

KONG-REY (กองเรย)

NAKRI (นากรี)

KROVANH (กรอวาญ)

SARIKA (สาริกา)

HAIKUI (ไห่คุ้ย)

YUTU (ยู่ทู่)

FENGSHEN (ฟงเฉิน)

DUJUAN (ตู้เจี้ยน)

HAIMA (ไหหม่า)

KIROGI (ไคโรจิ)

TORAJI (โทราจิ)

KALMAEGI (คัลเมจิ)

MUJIGAE (มูจีแก)

MEARI (มิอะริ)

KAI-TAK (ไคตั๊ก)

MAN-YI (มานหยี่)

FUNG-WONG (ฟองวอง)

CHOI-WAN (ฉอยหวั่น)

MA-ON (หมาง้อน)

TEMBIN (เทมบิง)

USAGI (อุซางิ)

KAMMURI (คัมมุริ)

KOPPU (คอบปุ)

TOKAGE (โทะคาเงะ)

BOLAVEN (โบลาเวน)

PABUK (ปาบึก)

PHANFONE (พันฝน)

CHAMPI (จำปี)

NOCK-TEN (นกเตน)

 SANBA (ซันปา)

WUTIP (หวู่ติ๊บ)

VONGFONG (หว่องฟง)

IN-FA(อินฟา)

MUIFA (หมุ่ยฟ้า)

JELAWAT (เจอลาวัต)

SEPAT (เซอปัต)

NURI (นูรี)

MELOR (เมอโลร์)

MERBOK (เมอร์บุก)

EWINIAR (เอวิเนียร์)

FITOW (ฟิโทว์)

SINLAKU (ซินลากอ)

NEPARTAK (เนพาร์ตัก)

NANMADOL (นันมาดอล)

MALIKSI (มาลิกซี)

DANAS (ดานัส)

HAGUPIT (ฮากุปิต)

LUPIT (ลูปีต)

TALAS (ตาลัส)

GAEMI (แกมี)

NARI (นารี)

JANGMI (ชังมี)

MIRINAE (มิรีแน)

NORU (โนรู)

PRAPIROON (พระพิรุณ)

WIPHA (วิภา)

MEKKHALA (เมขลา)

NIDA (นิดา)

KULAP (กุหลาบ)

MARIA (มาเรีย)

FRANCISCO (ฟรานซิสโก)

HIGOS (ฮีโกส)

OMAIS (โอไมส์)

ROKE (โรคี)

SON TINH (เซินตินห์)

LEKIMA (เลกีมา)

BAVI (บาหวี่)

CONSON (โกนเซิน)

SONCA (เซินกา)

BOPHA (โบพา)

KROSA (กรอซา)

MAYSAK (ไม้สัก)

CHANTHU (จันทู)

NESAT (เนสาด)

WUKONG (หวู่คง)

HAIYAN (ไห่เยี่ยน)

HAISHEN (ไห่เฉิน)

DIANMU (เตี้ยนหมู่)

HAITANG (ไห่ถาง)

SONAMU (โซนามุ)

PODUL (โพดอล)

NOUL (นูล)

MINDULLE (มินดอนเล)

NALGAE (นาลแก)

SHANSHAN (ซานซาน)

LINGLING (เหล่งเหลง)

DOLPHIN (ดอลฟิน)

LIONROCK (ไลออนร็อก)

BANYAN (บันยัน)

YAGI (ยางิ)

KAJIKI (คะจิกิ)

KUJIRA (คุจิระ)

KOMPASU (คอมปาซุ)

WASHI (วาชิ)

LEEPI   (หลี่ผี)

FAXAI (ฟ้าใส)

CHAN-HOM (จันหอม)

NAMTHEUN (น้ำเทิน)

PAKHAR (ปาข่า)

BEBINCA (เบบินคา)

PEIPAH (เพผ่า)

LINFA (หลิ่นฟ้า)

MALOU (หม่าโหล)

SANVU (ซันหวู่)

RUMBIA (รุมเบีย)

TAPAH (ตาปาห์)

NANGKA (นังกา)

MERANTI (เมอรันตี)

MAWAR (มาวาร์)

SOULIK (ซูลิก)

MITAG (มิแทก)

SOUDELOR (เซาเดโลร์)

FANAPI (ฟานาปี)

GUCHOL (กูโชล)

CIMARON (ซิมารอน)

HAGIBIS (ฮากิบิส)

MOLAVE (โมลาเว)

MALAKAS (มาลากัส)

TALIM (ตาลิม)

JEBI (เชบี)

NEOGURI (นิวกูรี)

GONI (โกนี)

MEGI (เมกี)

DOKSURI (ด็อกซูหริ)

MANGKHUT (มังคุด)

RAMMASUN (รามสูร)

ATSANI (อัสนี)

CHABA (ชบา)

KHANUN (ขนุน)

UTOR (อูตอร์)

MATMO (แมตโม)

ETAU (เอตาว)

AERE (แอรี)

VICENTE (วีเซนเต)

TRAMI (จ่ามี)

 HALONG (หะลอง)

VAMCO (หว่ามก๋อ)

SONGDA (ซงด่า)

SAOLA (ซาวลา)

------------------------------------------------------------
 

หมายเหตุ  :   1. เริ่มใช้ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2554 (จากการประชุมคณะกรรมการพายุไต้ฝุ่น ครั้งที่ 43 วันที่ 17- 22 มกราคม 2554  ณ เกาะเจจู สาธารณรัฐเกาหลี)

                     2. การตั้งชื่อใช้หมุนเวียนกันไปตามลำดับตัวอักษรและลำดับ column  เมื่อถึงชื่อสุดท้ายคือ SAOLA   จะเริ่มต้นที่ column 1 ใหม่คือ DAMREY (ตัวอักษร Q ไม่ใช้ตั้งชื่อ)

 

ที่มา : วิกิพีเดีย และ thaipbs และกรมอุตุนิยมวิทยาไทย และ https://www.oknation.net/blog/pen/2007/08/06/entry-2
ภาพประกอบจาก https://pixabay.com/th/