คำนาม
คือคำอิสระที่ไม่สามารถผันได้ เป็นคำที่ใช้เรียกคน สัตว์ สิ่งของต่างๆ สามารถนำไปเป็นประธานของประโยคได้ แบ่งออกเป็น
1.คำสามัญนาม ( 普通名詞 : futsu doushi ) เป็นคำใช้เรียกคนสัตว์สิ่งของทั่วไป เช่น
- 山 (yama : ภูเขา)
川 (kawa : แม่น้ำ)
人 (hito : คน)
鳥 (tori : นก)
2.คำวิสามัญนาม ( 固有名詞 : koyuu meishi ) เป็นคำที่เจาะจงเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น
- 富士山 (fujisan : ภูเขาฟูจิ)
東京タワー (tokyou tawaa : หอโตกียว)
3.ตัวเลข จำนวน ( 数詞 : suushi ・ 数量詞 : suuryoushi ) เพื่อบอกจำนวน ปริมาณ หรือลำดับ เช่น
- 一年 (ichinen : หนึ่งปี)
二つ (futatsu : สองชิ้น)
三位 (san-i : ที่สาม)
いくつ (ikutsu : เท่าไร)
คำนามตัวเลขและจำนวน แตกต่างจากคำนามประเภทอื่น คือสามารถจัดเป็นคำขยายคำแสดง (連用修飾語 : renyou shuushokugo) คือสามารถใช้กับคำแสดงได้โดยไม่ต้องมีคำช่วย เช่น
- 漢字を 3つ書きます
kanji o mitsukakimasu
เขียน คันจิ 3 ตัว
4.時詞・時名詞 เป็นคำนามแสดงเวลา ซึ่งถือเป็นคำขยายคำแสดง (renyou shuushokugo) คือสามารถใช้กับคำแสดงได้โดยไม่ต้องมีคำช่วย เช่น
- 今 (ima : ขณะนี้)
春 (haru : ฤดูใบไม้ร่วง)
さっき (sakki : เมื่อสักครู่)
5.คำนามที่มีแต่รูปฟอร์ม (形式名詞 : keishiki meishi) เป็นคำที่แทบจะไม่มีความหมายในตัวเอง เป็นเพียงการเหลือไว้ตามไวยากรณ์เพื่อใช้คู่กับคำช่วยขยายคำนามเท่านั้น เช่น
- こと (koto) ため (tame) もの (mono)
ほど (hodo) ころ (koro)
คำเหล่านี้เดิมจะเขียนด้วยคันจิ แต่ปัจจุบันโดยทั่วไปจะเขียนด้วยฮิรางานะ ยกตัวอย่างเช่น
- 手紙を書く こと が苦手です
tegami o kaku koto ga nigate desu
เขียนจดหมายไม่เก่ง
6.คำนามที่แปลงรูปมา ( 転成名詞 : tensei meishi ) เป็นคำนามที่แปลงมาจากคำกริยาหรือคำคุณศัพท์ เช่น
考え (kangae : ความคิด)
近く (chakaku : ที่ใกล้ๆ)
白 (shiro : สีขาว)
หน้าที่ของคำนาม
1.เป็นประธานของประโยค
- ソムチャイさん はタイ人です
Somuchai san wa taijin desu
คุณสมชาย เป็นคนไทย
2.เป็นภาคแสดงในประโยค
- その人は ソムチャイさん です
Sono hito wa Somuchai san desu
คนนั้นคือ คุณสมชาย
3.เป็นคำขยายในประโยค
- ここは ソムチャイさん の家です
Koko wa Somuchai san no ie desu
ที่นี่คือบ้านของ คุณสมชาย
4.เป็นคำอิสระในประโยค
- ソムチャイさん、彼は私の友達です
Somuchai san, kare wa watashi no tomodachi desu
คุณสมชาย เขาเป็นเพื่อนของฉัน
คำสรรพนาม
เป็นคำนามชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่ใช้แทนคำนามในการชี้คน สัตว์ สิ่งของ ประกอบด้วย
1.คำสรรพนามบุคคล ( 人代名詞 : jindaimeishi ) เป็นคำใช้แทนบุคคล เช่น
- 私 (watashi : ฉัน ผม ข้าพเจ้า)
あなた (anata : เธอ คุณ)
かれら (karera : เขาเหล่านั้น)
だれ (dare : ใคร)
2.คำสรรพนามบ่งชี้ ( 指示代名詞 : shiji daimeishi ) เพื่อใช้แทนเรื่องราว สิ่งของ สถานที่ และทิศทาง เช่น
これ (kore : อันนี้)
それ (sore : อันนั้น)
あれ (are : อันโน้น)
どれ (dore : อันไหน)
あちら (achira : ทางนั้น)
ประเภท | บุรุษที่ 1 | บุรุษที่ 2 | บุรุษที่ 3 | ไม่เจาะจง | |||
ระยะใกล้ | ระยะกลาง | ระยะไกล | |||||
คำสรรพนามบุคคล | watashi boku ore |
anata kimi omae |
konokata koitsu |
sonokata soitsu |
anokata aitsu kare |
donata doitsu dare |
|
คำสรรพนามบ่งชี้ | สิ่งของ | kore | sore | are | dore | ||
สถานที่ | koko | soko | asoko | doko | |||
ทิศทาง | kochira | sochira | achira | dochira |
Credit: www.j-campus.com