วิษุวัต (Equinox)
เป็นคำศัพท์ทางดาราศาสตร์ หมายถึง ช่วงในขณะที่ดวงอาทิตย์อยู่ในตำแหน่งตรงได้ฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลกพอดี ซึ่งจะเกิดขึ้นปีละ 2 ครั้ง หรือ ในหนึ่งรอบที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ แกนหมุนของโลกที่เอียง (Earth's axial tilt) จะเลื่อนมาอยู่ในระนาบที่ได้ฉากกับตำแหน่งดวงอาทิตย์ เหตุการณ์นี้เรียกอีกอย่างว่า "วันราตรีเสมอภาค" หมายถึง เวลาตอนกลางคืนเท่ากับเวลากลางวันพอดี
ทิศทางของแสงอาทิตย์ที่ส่องถูกโลกในวันวิษุวัต ซึ่งเกิดขึ้นปีละ 2 ครั้ง
(ภาพไม่แสดงความเข้มน้อยของแสงสลัวเวลาเช้ามืดและหัวค่ำ)
ซึงถ้าโลกไม่เอียง 23.5 องศา แสงอาทิตย์จะส่งตรงกลางโลกตลอดกาล
กลางวันจะเท่ากับกลางคืนเสมอ
ไม่ว่าโลกจะโคจรไปอยู่ในส่วนใดของวงโคจรก็ตาม และจะไม่มีการเปลี่ยนฤดูกาล
พูดง่ายๆ วิษุวัต คือ ปรากฏการณ์ที่แสงจากดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรพอดี ทำให้เกิดกลางวันกลางคืนที่ยาวเท่ากัน ในหนึ่งปีจะเกิดสองหน คือ March equinox และ September equinox ซึ่งปรากฏการณ์นี้จะเป็นจุดแบ่งฤดูกาลของซีกโลกเหนือและใต้ ในตอนนั้นเราจะเห็นดวงอาทิตย์ทำมุมกับเส้นศูนย์สูตรของท้องฟ้าเท่ากับองศาของละติจูดพอดี ซึ่งถ้าเราไปอยู่ที่ขั้วโลกทั้งสอง ก็จะเห็นพระอาทิตย์ยี่สิบสี่ชั่วโมงเลย (แต่จะอยู่ที่ขอบฟ้าพอดี เพราะทำมุมฉาก)
ประเภทของวิษุวัต
- ศารทวิษุวัต (Autumnal equinox หรือ Fall equinox หรือ September equinox)
เกิดในวันที่ 22 หรือ 23 กันยายนของทุกปี ซึ่งตรงกับฤดูใบไม้ร่วงในเขตซีกโลกเหนือ ง่ายๆ คือ ซีกโลกเหนือจะย่างเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ และซีกโลกใต้ย่างเข้าฤดูใบไม้ร่วง
- วสันตวิษุวัต (Vernal equinox หรือ Spring equinox หรือ March equinox)
เกิดในวันที่ 20 หรือ 21 มีนาคมซึ่งตรงกับฤดูใบไม้ผลิของซีกโลกเหนือ ง่ายๆ คือ ซีกใต้เหนือจะย่างเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ และซีกโลกเหนือย่างเข้าฤดูใบไม้ร่วง
ในประเทศจีน เรียกวันวสันตวิษุวัตว่า วันชุนเฟินหรือวันชุงฮุง (春分) และมีประเพณีการตั้งไข่มากว่า 4,000 ปีแล้ว
วันวิษุวัต
วันวิษุวัต เกิดจากความเอียงของแกนโลก ขณะหมุนรอบดวงอาทิตย์ใน 1 ปี จะมีวันวิษุวัต 2 ครั้ง โดยครั้งแรกจะเกิดในเดือนมีนาคม คือตอนที่โลกกำลังโคจรหันด้านขั้วเหนือ (เนื่องจากโลกเอียง) ไปหาดวงอาทิตย์ วันวิษุวัตในเดือนมีนาคม จึงเป็นวันเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิ เพราะ 3 เดือนต่อจากนั้นจะช่วงที่ซีกโลกเหนือที่หันหาดวงอาทิตย์รับแสงแดดเต็มๆ
หลังจากถึงจุดสูงสุดในช่วงวันที่ 21-22 มิถุนายนแล้ว โลกจะเริ่มหันขั้วเหนือออกจากดวงอาทิตย์ และวันวิษุวัตครั้งที่ 2 ก็เกิดขึ้น ตั้งแต่วันนี้ทุกสิ่งจะเกิดตรงข้าม โลกจะกันขั้วใต้ให้ดวงอาทิตย์มากขึ้น นั่นคือซีกโลกเหนือเริ่มเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง และต่อด้วยหน้าหนาวนั่นเอง
วันวิษุวัต จึงเป็นวันที่แสงอาทิตย์ “ตั้งฉาก”
เพราะอยู่ในเวลาตรงกลางที่โลกกำลังปรับจากการกันเหนือไปใต้ ใต้ไปเหนือนั่นเอง
ในวันนี้ แถบเส้นศูนย์สูตร จะมีกลางวันและกลางคืนยาวเท่ากันด้วย
ความเชื่อ : ประเพณีตั้งไข่ - วันเสาร์ห้า - วันปีใหม่ - การสร้างโบราณสถานรับแสงอาทิตย์
ประเพณีตั้งไข่
ประเพณีการตั้งไข่ในวันวสันตวิษุวัต หรือวันชุนเฟิน อันสืบทอดมายาวนานกว่า 4,000 ปี ตรงกับช่วงวันที่ 20-22 มี.ค. ของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงที่ระยะเวลาในตอนกลางวันกับกลางคืนยาวเท่ากัน เล่ากันแต่โบราณกาลว่า ในวันวสันตวิษุวัตนี้ จะสามารถตั้งไข่ให้ตรงได้ง่าย เนื่องจากแกนโลกเอียงทำองศากับวงโคจรโลกได้อย่างพอดี
สำหรับการตั้งไข่ให้ได้ผลสำเร็จ จะต้องใช้ไข่ที่สดใหม่ไม่เกิน 4-5 วัน และหาจุดนูนบนเปลือกไข่ 3 จุด จากนั้นเล็งให้แกนกลางของไข่อยู่ตรงกึ่งกลางพอดี
ทั้งนี้ วันวสันตวิษุวัต (Vernal Equinox) ในจีนเรียกว่า "ชุนเฟิน - 春分" หมายถึงช่วงกลางของฤดูใบไม้ผลิ โดยในช่วงนี้ พฤกษานานาพันธุ์และพืชผลจะเจริญงอกงามได้ดี เนื่องจากอากาศจะอบอุ่นมากขึ้น เริ่มมีฝนโปรย อันเป็นช่วงเวลาที่ดีสำหรับการเพาะปลูกได้อย่างเต็มที่
สำหรับธรรมเนียมปฏิบัติในช่วงวันดังกล่าว จะมีการกินชุนไช่ "春菜" หรือผักสดที่เพิ่งโตเต็มที่เป็นการต้อนรับฤดูแห่งการเพาะปลูก และการไหว้พระอาทิตย์ เป็นต้น
วันเสาร์ห้า
วันเสาร์ห้าจะตรงกับปรากฏการณ์สำคัญในรอบปีที่เรียกว่า “วสันตวิษุวัต” เพราะโลกโคจรเข้าไปอยู่ในตำแหน่งที่เส้นศูนย์สูตรตั้งฉากกับดวงอาทิตย์ ทำให้
1) กลางวันเท่ากับกลางคืน
2) เริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ (Spring) ที่ซีกโลกด้านเหนือ
3) เริ่มต้นฤดูใบไม้ร่วง (Autumn) ที่ซีกโลกด้านใต้
วันปีใหม่
ในทางโหราศาสตร์ถือว่าเป็นวันเริ่มต้นของราศีเมษ เพราะดวงอาทิตย์เคลื่อนออกจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ
ปฏิทินมหาศักราชของอินเดียถือว่าเป็นวันปีใหม่ ภาษาสันสกฤตเรียกว่า “มหาสังกรานติ”
ปฏิทินมหาศักราช ที่วันแรกของเดือนไจตระ เป็นวันปีใหม่ ตรงกับปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "วสันตวิษุวัต"
ในจารึกช่วงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 กล่าวไว้ว่า
"ทุกปี สิ่งเหล่านี้ควรถือเอาจากคลังของพระราชาสามเวลา
แต่ละอย่างควรให้ในวันเพ็ญ เดือนไจตระ และพิธีสารท ในกาลที่พระอาทิตย์คล้อยไปทางทิศเหนือ"
สำหรับประเทศที่กำเนิดจากอารยธรรมอารยันในเอเซียกลาง เช่น อัฟกานีสถาน อุซเบกีสถาน คาซักสถาน เติกร์มีนิสถาน อิหร่าน ถือว่าเป็นวันปีใหม่เรียกว่า “เนารูซ” สำหรับผู้ที่นับถือศาสนา “บาไฮ” ก็ถือว่าเป็นวันปีใหม่
โบราณสถานรับแสงอาทิตย์
เพราะเป็นวันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นที่ขอบท้องฟ้าในตำแหน่งทิศตะวันออกแท้ ทำมุมกวาด ๙๐ องศา จากทิศเหนือภูมิศาสตร์ และตกที่ขอบฟ้าในตำแหน่งทิศตะวันตกแท้ ส่งผลให้เงาของวัตถุที่ตั้งฉากกับพื้นดินจะเป็นเส้นตรงตั้งแต่เช้าจรดเย็นระหว่างทิศตะวันออกกับตะวันตก
โบราณสถานที่มีชื่อเสียงหลายแห่งของโลกถูกออกแบบและสร้างให้หันหน้าเข้าหาทิศตะวันออก เพื่อให้แสงอาทิตย์ยามเช้าส่องตรงเข้ามายังจุดสำคัญของสถานที่นั้นๆ เช่น
- สฟิ๊งส์ มหาปิรามิดที่ประเทศอียิปส์
- มาชูปิกชู ที่ประเทศเปรู
- วิหารเซ้นต์ปีเตอร์ส์ ที่นครวาติกันประเทศอิตาลี
- นครวัดและนครธม ที่ประเทศกัมพูชา
- ปราสาทภูเพ็ก จังหวัดสกลนคร
- ปราสาทนารายณ์เจงเวง จังหวัดสกลนคร
พบเรื่องราวดีๆ วิชาการสนุกๆ สาระความรู้รอบตัว หัวข้อรายงาน คลังข้อสอบ ได้ที่ www.trueplookpanya.com
ติดตามสาระความรู้ใกล้ตัว ข้อสอบ ทุนต่างๆ ติวฟรี ได้ที่ www.facebook.com/trueplookpanya.com
ภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก
วิกิพีเดีย
https://mrvop.wordpress.com/2012/09/22/equinox2012/
https://hd-playground.com/smf/index.php?topic=6906.0
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=vinitsiri&month=12-2010&date=23&group=94&gblog=77
https://www.baanmaha.com/community/thread43781.html
https://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9540000036472