วันปลอดรถ Car Free Day
วันที่ 22 กันยายนของทุกปี
วันปลอดรถโลกเป็นวันที่ประชาชนในเมืองต่างๆ เฉลิมฉลองวันที่ปราศจากเสียงดัง ความเครียด และมลพิษที่มาจากรถยนต์ ทุกๆ ปีในวันที่ 22 กันยายน ผู้คนทั่วโลกจัดงานทั้งเล็กและใหญ่เพื่อแสดงให้เห็นทางเลือกนอกเหนือจากรถยนต์ จะร่วมแรงร่วมใจกัน งดใช้รถส่วนบุคคลในการเดินทางไปกลับที่ทำงาน ยกเว้นกรณีจำเป็นก็ต้องเป็น Carpool ทางเดียวกัน ไปด้วยกัน ที่มีผู้โดยสารตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
ที่มาของวันปลอดรถโลก
วันปลอดรถโลก เริ่มจัดขึ้นในช่วงวิกฤติน้ำมันในต้น ค.ศ. 1970 และได้มีการจัดงานวันปลอดรถหลายงานในเมืองต่างๆ ในยุโรปในช่วงต้น ค.ศ. 1990 สำหรับวันปลอดรถนานาชาติจัดขึ้นในยุโรปใน พ.ศ. 2533 ซึ่งเป็นโครงการนำร่องสำหรับการรณรงค์ "อยู่ในเมืองโดยไม่ใช้รถ" ของสหภาพยุโรป โครงการรณรงค์นี้พัฒนาไปเป็นสัปดาห์แห่งการเคลื่อนไหวร่างกายในยุโรป
ใน พ.ศ. 2543 นิตยสาร Car Busters (ผู้ริเริ่มเครือข่ายปลอดรถโลก) ได้ประกาศเรียกร้องให้มี "วันปลอดรถโลก" เพื่อให้เข้ากับวันปลอดรถโลกของยุโรปในวันที่ 22 กันยายน ตั้งแต่นั้นมาเครือข่ายปลอดรถโลกได้เดินหน้าเชิญชวนให้นักกิจกรรมและประชากรให้จัดงานวันปลอดรถโลกในวันที่ 22 กันยายน หรือวันใกล้เคียง
วันปลอดรถในไทย จากการที่องค์กรมากกว่า 50 องค์กรในประเทศต่างๆ กว่า 20 ประเทศ กำหนดให้ วันที่ 22 กันยายน เป็นวัน World Car Free Day โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลหันมาใช้รถขนส่งมวลชน และรถจักรยานเพิ่มขึ้น เพื่อลดปัญหามลพิษทางอากาศและเสียง ปัญหาการจราจรและลดการเกิดอุบัติเหตุ ตลอดจนลดการใช้พลังงาน และได้เชิญประเทศไทยเข้าร่วมโครงการฯ กรมควบคุมมลพิษและหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนได้มีการประชุมหารือร่วมกัน และเห็นว่าโครงการดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศ ในการรักษาสิ่งแวดล้อมและประหยัดทรัพยากร จึงกำหนดจัดโครงการ Car Free Day ของประเทศไทยขึ้นในวันที่ 22 กันยายน 2546 ภายใต้ชื่อ "22 กันยายน จอดรถไว้บ้าน ลดการใช้พลังงาน ลดมลพิษ" |
กิจกรรมในวันปลอดรถ
-
การรณรงค์ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล มีขึ้นตั้งแต่ ค.ศ. 1958 ในนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ค.ศ. 1968 ในเนเธอร์แลนด์ และค.ศ. 1972 ในฝรั่งเศส
-
วันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1998 มีการรณรงค์ใน 34 เมืองทั่วประเทศฝรั่งเศส ชื่อว่า "En ville, sans ma voiture?" (A day in the city without my car?)
-
วันพุธที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1999 มีการรณรงค์ "En ville, sans ma voiture?" ครั้งที่ 2 ใน 66 เมืองของประเทศฝรั่งเศส และ "In cittá senza la mia auto" ใน 92 เมืองของประเทศอิตาลี นอกจากนี้ ยังมีการรณรงค์ในวันที่ 19 กันยายน 1999 ทั่วประเทศเนเธอร์แลนด์ และวันที่ 26 กันยายน 1999 ทั่วประเทศเบลเยียม ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์
-
วันที่ 21-22 กันยายน ค.ศ. 2000 กำหนดให้เป็น วันปลอดรถสากล (World Car Free Day) มีการรณรงค์ทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทย นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ได้ร่วมรณรงค์ด้วยการขี่รถจักรยานจากบ้านพิษณุโลกไปยังทำเนียบรัฐบาล
-
ในปี ค.ศ. 2005 มีการจัดรณรงค์ชื่อ In town without my car! พร้อมกันใน 1500 เมืองทั่วโลก โดยมีผู้ร่วมกิจกรรมมากกว่า 100 ล้านคน
-
งาน Bangkok Car Free Day ในปี 2551
-
ในประเทศไทย ทาง กทม. ร่วมกับองค์กรภาครัฐและเอกชนต่างๆ รวมทั้งองค์กรพัฒนาเอกชน เช่น สสส. Greenpeace จัดให้มีกิจกรรมในช่วงวันสุดสัปดาห์ช่วงที่ใกล้กับวันที่ 22 กันยายน เรียกว่า วัน Bangkok Car Free Day โดยในปี พ.ศ. 2550, 2551 นั้นมีกิจกรรมรวมคนขี่จักรยานและจัดรูปขบวนเป็นแผนที่ประเทศไทย
-
ผลกระทบจากรถยนต์
-
การผลิตรถ 1 คัน ปล่อยคาร์บอนไดออกไซต์ 4 ตัน และสารก่อมลพิษอื่นๆ เกือบ 317.51 กิโลกรัมออกสู่บรรยากาศ
-
หากประชาชน 1 คน ใช้ระบบขนส่งมวลชนตลอด 1 ปี แทนการขับรถไปทำงาน จะสามารถลดการปล่อยแก๊สเหล่านี้ออกสู่บรรยากาศ ได้แก่ ไฮโดรคาร์บอน 4.2 กิโลกรัม คาร์บอนไดออกไซต์ 64.5 กิโลกรัม และไนโตรเจนออกไซต์ 2.3 กิโลกรัม นอกจากนี้รถบัสขนาด 40 ฟุต ยังเท่ากับรถยนต์ 58 คัน
-
การออกกำลังกายโดยการขี่จักรยานสามารถกระทำได้ทุกอายุ และทุกสภาพความแข็งแรง เป็นการออกกำลังที่ไม่ทำให้ข้อเข่าเสื่อมเพิ่มขึ้น ปกติจะใช้พลังงานประมาณ 500 กิโลแคลรอรี่ต่อ 45 นาที
ข้อดีของการขี่จักรยาน
1. ทำให้หัวใจแข็งแรง
2. ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง
3. ปอดแข็งแรง
4. ไขมันไม่อุดตันในเส้นเลือด
5. ลดความอ้วน
ที่มา : สนุกดอทคอมและวิกิพีเดีย
ภาพประกอบ :
www.bloggang.com/viewblog.php?id=greenpeacethailand&date=22-08-2007&group=1&gblog=1
เครือข่ายวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน, วิชาการดอทคอม