การปฐมพยาบาลเบื้องต้นผู้ถูกกระแสไฟฟ้าดูด
…… (โปรดดูภาพประกอบวิธีปฏิบัติ) ……..
* เมื่อพบผู้ถูกกระแสไฟฟ้าดูด *
- การช่วยเหลือเบื้องต้น : ควรแยกผู้ประสบเหตุออกจากวงจรไฟฟ้า โดย
ปลดสวิตช์ที่จ่ายไฟ เช่น คัทเอาท์ เต้าเสียบออก หรือ
ใช้ไม้แห้ง เชือก แยกผู้ป่วยออกจากวงจรไฟฟ้า
จากนั้น เรียกและเขย่าตัวผู้ป่วยเพื่อดูว่าหมดสติหรือไม่และจัดผู้ป่วยให้นอนราบหงายบนพื้นแข็ง
* ถ้าหยุดหายใจ ต้องเป่าปาก *
ตรวจดูว่าผู้ป่วยยังหายใจอยู่หรือไม่และหากไม่หายใจ ให้ใช้มือกดหน้าผากผู้ป่วยให้แหงนขึ้นและใช้มืออีกข้างหนึ่งดันคางผู้ป่วยขึ้น
ให้เอานิ้วชี้กับนิ้วหัวแม่มือบีบจมูกผู้ป่วยให้แน่น แล้วเป่าลม หายใจเข้าปอดผู้ป่วยเต็มที่ 2 ครั้ง แล้วปล่อยให้ลมออก
* ถ้าหัวใจหยุดเต้น ต้องนวดหัวใจ *
ตรวจการเต้นของหัวใจผู้ป่วย โดยการคลำชีพจรที่คอหรือที่ข้อมือของผู้ป่วยประมาณ 5 วินาที
ใช้ 2 นิ้ววางเหนือตำแหน่งลิ้นปี่ วางส้นมือถัดจากตำแหน่งนิ้วทั้งสอง
ประสานมือซ้อนกัน แล้วโน้มตัวเข้าหาผู้ป่วย เหยียดแขนทั้งสองข้างให้ตรง
แล้วกดให้ตรงตำแหน่ง อัตราการนวดหัวใจ 30 ครั้ง ต่อ การเป่าปาก 2 ครั้ง
* ถ้าไม่หายใจและหัวใจหยุดเต้น *
หากผู้ป่วยไม่หายใจและหัวใจหยุดเต้น ให้เป่าปาก 2 ครั้ง สลับกับการนวดหัวใจ 30 ครั้ง เท่ากับ 1 ชุด
เป่าปากสลับกับการนวดหัวใจครบ 4 ชุด ให้ประเมินอาการของผู้ป่วย 1 ครั้ง โดยการจับชีพจร
* กรณีที่มีผู้ช่วยเหลือมากกว่า 1 คน *
เป่าปาก 2 ครั้ง สลับกับการนวดหัวใจ 30 ครั้ง เท่ากับ 1 ชุด
เป่าปากสลับกับการนวดหัวใจ 4 ชุด ให้ประเมินอาการของผู้ป่วย 1 ครั้ง โดยการจับชีพจร
*** การปฐมพยาบาลต้องทำทันทีที่ช่วยผู้ถูกกระแสไฟฟ้าดูดออกมาและควรนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล ขณะนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล จะต้องทำการปฐมพยาบาลตามขั้นตอนดังกล่าวตลอดเวลาจนกระทั่งถึงมือแพทย์ ***
ที่มาข้อมูลและภาพ : จากแผ่นพับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
จัดทำโดย แผนกส่งเสริมและเผยแพร่ความปลอดภัย กองมาตรฐานความปลอดภัย ฝ่ายมาตรฐานและความปลอดภัย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
สาเหตุที่จำเป็นต้องตัดกระแสไฟฟ้าในขณะที่น้ำท่วมสูง
กรณีน้ำท่วมสูง อาจทำให้ระบบจำหน่ายของ กฟภ.ได้รับความเสียหายหรือเกิดความไม่ปลอดภัยต่อผู้ใช้ไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจำเป็นต้องงดจ่ายกระแสไฟฟ้าชั่วคราว โดยมีการประสานงานแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบ รวมทั้งเร่งดำเนินการแก้ไขเพื่อให้สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้ากลับคืนสู่สภาพปกติโดยเร็ว
ทั้งนี้ ทาง กฟภ ได้เปิด Facebook และ Twitter เพื่อให้ข้อมูลและสื่อสารกับประชาชนเช่นกัน ที่
Facebook กฟภ. : www.pea.co.th/facebook
Twitter กฟภ. : www.pea.co.th/twitter
หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์หลัก กฟภ. ที่ https://www.pea.co.th/ หรือ @pea_thailand
ขอความช่วยเหลือเกี่ยวกับไฟฟ้า 24 ชั่วโมง :
- พื้นที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) 74 จังหวัด (ยกเว้น กรุงเทพฯ นนทบุรี สมุทรปราการ) แจ้งสายด่วน กฟภ. โทร.1129
- พื้นที่การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) 3 จังหวัด กรุงเทพฯ นนทบุรี สมุทรปราการ แจ้ง กฟน. โทร.1130
ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.it24hrs.com/2011/using-electricity-thaiflood/