หนังสืออ้างอิง
คือ หนังสือที่รวบรวมสารนิเทศ หรือความสำหรับใช้ค้นคว้าอ้างอิงเพียงตอนใดตอนหนึ่งในเล่มเท่านั้นไม่ใช่หนังสือที่อ่านตลอดทั้งเล่ม เพื่อความสะดวกในการค้นคว้า ห้องสมุดจะจัดแยกหนังสืออ้างอิงออกจากหนังสือธรรมดา และไม่อนุญาตให้ยืมออกจากห้องสมุด
ลักษณะจากช่วยค้นของหนังสืออ้างอิง
Deal = ดัชนีริมหน้ากระดาษ (Trumb Index)
อักษรนำทาง (Guide Word) คือคำที่ปรากฏอยู่ที่มุมบนด้านซ้ายหรือขวาของหน้ากระดาษ
อักษรนำเล่ม (Volume guide)
หนังสืออ้างถึงที่ควรรู้จัก
1. พจนานุกรม
2. สารานุกรม
3. หนังสือรายปี
4. อักขรานุกรมชีวประวัติ
5. หนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์
6. สิ่งพิมพ์รัฐบาล
7. บรรณานุกรม
8. ดรรชนีวารสาร
9. นามานุกรม
ประโยชน์ของหนังสืออ้างอิง
หนังสืออ้างอิงใช้ประกอบการค้นคว้าเพื่อหาคำตอบที่ต้องการในเวลาอันรวดเร็ว โดยไม่ต้องเสียเวลาอ่านหนังสือทั้งเล่มหรืออ่านหลาย ๆ เล่า อนุญาตให้ใช้ในห้องสมุดเท่านั้น (Information Service)
พจนานุกรม
คือหนังสือที่รวบรมคำต่าง ๆ จัดเรียงตามลำดับอักษรให้ความรู้เกี่ยวกับตัวคำนั้น ๆ ในด้านการสะกด การออกสียง ความหมายของคำ ชนิดของคำ จำนวนพยางค์ในแต่ละคำ ประวัติที่มาของคำ วิธีใช้คำในความหมาย
- พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
- พจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ
- พจนานุกรมไทยอังกฤษ
- พจนานุกรมไทย-ลาว-อังกฤษ
สารานุกรม (Encyclopedias)
หนังสือที่รวบรวมเรื่องราวในแขนงวิชาต่าง ๆ โดยสังเขป อาจให้ความรู้กว้างเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา วิวัฒนาการของเรื่องนั้น ๆ เขียนโดยผู้เชี่ยวชาญ ในแต่ละสาขา การจัดเรียงตามลำดับเนื้อเรื่อง
- สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน
- สารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย
- สารานุกรมโลกของเรา
หนังสือรายปี
คือหนังสือที่รวมรวบเหตุการณ์สำคัญ ๆ และเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในรอบปีที่ผ่นมารวมทั้งสถิติต่าง ๆ จะออกเป้นประจำทุก ๆ ปี มีทั้งของรัฐบาลและเอกชนมี 3 ประเภท
1. รายงานประจำปี เป็นหนังสือที่ออกโดยหน่วยงานราชการและเอกชนเพื่อแถลวผลงานการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา
2. บันทึกความก้าวหน้าเฉพาะสาขาวิชา รายงานใดเรื่องหนึ่งหรือบันทึกกิจกรรมของหน่วยงานนั้น ๆ จัดทำขึ้นรึ
3. หนังสือสถิติ จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อความบันเทิงเพื่อเก็บสถิติเกี่ยวกับ สิ่งแรก สิ่งที่ดีที่สุด
- สยามจดหมายเหตุ
- สมพัตสร
- รายงานประจำปี
อักขรานุกรมชีวประวัติ
ให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติบุคคลสำคัญเรียงตามลำดับอักษร บอกชื่อ ปีเกิด ปีตาย ภูมิลำเนา พื้นฐานการศึกษา ผลงานที่สำคัญ อาชีพ ตำแหน่งหน้าที่การงาน เป็นหนังสือที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับบุคคลสำคัญ มีลักษณะดังนี้
1. รวบรวมชีวประวัติบุคคลสำคัญ
2. เรียงตามลำดับอักษรของชื่อสกุลของเจ้าของประวัติ
3. ให้รายละเอียด เช่น ปีเกิด ปีตาย ภูมิลำเนา พื้นฐานการศึกษา ผลงาน อาชีพ
หนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์
เป็นหนังสือที่ให้ความรู้เกี่ยวกับสถานที่ต่าง ๆ บอกลักษณะทางภูมิศาสตร์มี 3 ประเภทคือ
1. หนังสือแผนที่ แผนที่ แสดงที่ตั้ง อาณาเขต ประเทศ เมือง ทะเล
2. อักขรานุกรมประวัติศาสตร์ ให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ ชื่อเฉพาะทางภูมิศาสตร์
3. หนังสือนำเที่ยว (Guiebooks) เป็นคู่มือในการนำเที่ยว แนะนำสถานที่เที่ยวประวัตินั้น ๆ การเดินทาง ที่พัก ค่าใช้จ่าย
- ภูมิลักษณไทย
- อักขรานุกรมภูมิศาสตร์
- Geographical Dictonnary
สิ่งพิมพ์รัฐบาล
ให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของรัฐบาล หรือความรู้ในแขนงวิชาต่าง ๆ หน่วยราชการเป็นผู้รับผิดชอบจัดพิมพ์เผยแพร่ผลการปฏิบัติงานให้ประชาชนมี 3 ประเภท
1. บันทึกผลการบริหารงาน ของรัฐบาลหรือหน่วยงานต่าง ๆ
2. รายงานเกี่ยวกับการค้นคว้าวิจัย รวมทั้งสถิติ และข้อมูลต่าง ๆ
3. ให้ความรู้และเรื่องราวทั่วไปทุกแขนงวิชา
- แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- ราชกิจจานุเบกษา 2417 – ปัจจุบัน
- สยามจดหมายเหตุ
บรรณานุกรม
ให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรายชื่อหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ รายละเอียดเกี่ยวกับชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือ สถานที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ จำนวนหน้า ราคา
- หนังสือดีสำหรับห้องสมุด
- บรรณานุกรมสิ่งพิมพ์รัฐบาล
- บรรณานุกรมแห่งชาติ
- รายชื่อหนังสือสำหรับเยาวชน
ดรรชนีวารสาร
คือหนังสือที่รวบรวมรายชื่อของบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารต่าง ๆ ให้รายละเอียดของแต่ละรายชื่อตามลำดับดังนี้ ชื่อ นามสกุล ผู้เขียนบทความ ชื่อบทความ ชื่อวารสาร ปีที่หรือเล่มที่ ฉบับที่ (เดือน ปี พ.ศ.) หน้าที่ปรากฏบทความ
- ดรรชนีวารสารไทย
นามานุกรมไทย
ให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรายชื่อต่าง ๆ เช่น ชื่อบุคคล องค์กร บริษัท ห้างร้าน สถาบัน สมาคม หรือหน่วยราชการต่าง ๆ โดยเรียบเรียงตามตัวอักษรเพื่อความสะดวกในการค้นหารายชื่อ
- สมุดโทรศัพท์
- สมุดหน้าเหลือง
- นามสงเคราะห์ส่วนราชการไทย