คำนาม
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
06 ส.ค. 64
 | 223K views



คำนาม

คำนาม  คือ คำที่ใช้เรียกคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ สภาพแวดล้อม อาการ หรือลักษณะของสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต คำนาม แบ่งออกเป้น 5 ประเภท ดังนี้

1. สามานยนาม คือ คำนามทั่วไป เป็นคำที่ใช้เรียกชื่อ คน สัตว์ หรือสิ่งของทั่วไป โดยไม่เจาะจงว่าคนไหน ตัวไหน สิ่งไหน
• สมานยนามที่ใช้เรียกชื่อคน เช่น ลุง ตำรวจ หมอ ชาวนา ลูก ทหาร ยาย เด็ก ครู คน
• สมานยนามที่ใช้เรียกสัตว์ เช่น วัว ช้าง นก แมลง ม้า เสือ หอย กุ้ง ปลา ช้าง นกเขา นก
• สมานยนามที่ใช้เรียกสิ่งของ เช่น เก้าอี้ วิทยุ หนังสือ ยาสีฟัน สมุด เงิน เรือ รถยนต์ เสื้อ
• สมานยนามที่ใช้เรียกสถานที่ เช่น โรงพยาบาล ทุ่งนา โรงเรียน อำเภอ ตำบล จังหวัด ประเทศ ถนน หมู่บาน ชายหาด เมือง
• สมานยนามที่ใช้เรียกสิ่งอื่น เช่น สิ่งแวดล้อม ลูกเห็บ หิมะ ภูเขา แม่น้ำ ฝน ลม อากาศ ดาว ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ 

2. วิสามานยนาม คือ นามเฉพาะเป็นคำที่ใช้เรียกชื่อ เฉพาะเจาะจง เพียงคนเดียว ตัวเดียว สิ่งเดียว หรือสถานที่เพียงแห่งเดียว
• วิสามานยนามที่ใช้เรียกคน เช่น ทักษิน อภิสิทธิ์ วรนุช ศรราม สมชาย ธงชัย
• วิสามานยนามที่ใช้เรียกสัตว์ เช่น เจ้าโต้ง เจ้าตูบ ไข่นุ้ย เจ้าเหมียว สีหมอก
• วิสามานยนามที่ใช้เรียกสิ่งของ เช่น พระมาลาเบี่ยง พระสยามเทวธิราช พระแก้วมรกต เจ้าประยาตานี
• วิสามานยนามที่ใช้เรียกสถานที่ เช่น หาดใหญ่ นราธิวาส อังกฤษ ซังฮี้ เขาดิน เพชรเกษม

3. อาการนาม คือ นามบอกอาการ เป็นคำนามที่มาจากคกริยาหรือคำวิเศษณ์ เพื่อบอกลักษณะอาการ หรือความเป็นอยู่ มักใช้คำว่า ความ หรือ การ นำหน้า

4. สมุหนาม คือ นามหมวดหมู่ เป็นคำที่บอกหมวดหมู่ของนามที่วางอยู่ข้างหลัง เช่น กลุ่มนักเรียน หมู่ลูกเสือ กองทหาร เหล่าทหารราบ ฝูงนก โขลงช้าง กองผลไม้ คำว่า กลุ่ม หมู่ กอง เหล่า ฝูง โขลง

5. ลักษณนาม คือ นามบอกลักษณะเป็นคำนามที่บอกลักษณะของนามที่อยู่ข้างหน้า ลักษณนาม มักวางอยู่หลังคำบอกจำนวนหรือจำนวนนับ
• ใช้เรียกคน เช่น โยคี คนทั่วไป ทหาร ตำรวจ ภิกษุ สามเณร พระมหากษัตริย์
• ใช้เรียกสัตว์ เช่น ช้างป่าเรียกเป็นตัว ช้างบ้านเรียกเป็นเชือก สัตว์อื่น ๆ เรียกเป็นตัว
• ใช้เรียกสิ่งของ เช่น  ประตู หน้าต่าง กรอบรูป ปี่ ขลุ่ย กระจก เสื้อ ว่าว กังหัน ธนบัติ หนังสือพิมพ์ อาคาร จักรเย็บผ้า ช้อน ส้อม ธนู
• ใช้เรียกสถานที่ เช่น สวนลักษณนามขนัด, โรงพยาบาลลักษณนามเป็นแห่ง, โรงเรียนลักษณนามเป็นโรง,โรงงานลักษณนามเป็นโรง,  ถนน คลอง ทาง แม่น้ำ ลักษณนามเป็นสาย