การขุดเจาะเพื่อผลิตปิโตรเลียมต้องใช้เงินลงทุนมหาศาล ดังนั้น นักธรณีวิทยา จึงต้องใช้ความแม่นยำในการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลประกอบกัน เพื่อสุ่มเจาะหลุมสำรวจและหลุมประเมินก่อนการผลิตจริง ในแต่ละปี จะมีการขุดเจาะปิโตรเลียมหลายร้อยหลุม มีทั้งบริเวณบนฝั้งและนอกฝั่ง
ขั้นตอนการเจาะ
เริ่มจากการใช้หัวสว่านเจาะในดินชั้นSurfaceลึกลงไปเลยชั้นน้ำ และเลยชั้นหิน จากนั้นวางท่อ Casing เพื่อกันไม่ให้หลุมพังลงมา
ขั้นตอนต่อมา เป็นการเจาะที่หัวเจาะขั้นที่ 2 ซึ่งมีขนาดเล็กลงมา เจาะภายใต้ท่อ Casing ระยะความลึกถึงขั้นที่ 2 แล้ววาง Casing อีกชั้น แล้วจะซีเมนต์ปิดรอบข้างเพื่อยึดท่อCasing กับดิน
การเจาะครั้งที่ 3 เหมือนกับการเจาะขั้นที่ 2 คือเจาะภายใต้ Casing ที่ 2 ซึ่งจะวางท่อ Tubingซึ่งมีขนาดเล็ก 3 นิ้ว หลุมที่เจาะมีขนาด 6-7 นิ้ว ขนาดลึก 12,000ฟุต จากระดับน้ำทะเล
แหล่งที่มา: รายการวิทยาศาสตร์รอบตัว โดย สสวท
Tag :
การขุดเจาะปิโตรเลียม, การขุดเจาะ, , ปิโตรเลียม, นักธรณีวิทยา, สำรวจและวิเคราะห์, สุ่มเจาะ, หลุมสำรวจ, หลุมประเมิน, บนฝั้ง, นอกฝั่ง, หัวสว่าน, , Surface, , ชั้นน้ำ, , ชั้นหิน, , ท่อ, Casing, , ซีเมนต์, Tubing, , ระดับน้ำทะเล