ระบบเศรษฐกิจของไทย
ความหมายระบบเศรษฐกิจ
- รัฐเข้ามาดำเนินการจัดระเบียบทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยกำหนดว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจชนิดใดรัฐจัดทำกิจกรรมใดให้เอกชนดำเนินการ
- การรวมกันของหน่วยเศรษฐกิจ (หน่วยธุรกิจ/หน่วยครัวเรือน) เพื่อดำเนินกิจกรรทางเศรษฐกิจ โดยมีการกำหนดหน้าที่ของหน่วยเศรษฐกิจต่าง ๆ
ประเภทระบบเศรษฐกิจ ในปัจจุบันแบ่งระบบเศรษฐกิจเป็น 3 ประเภท
1. ระบบเศรษฐกิจแบบบังคับหรือสังคมนิยม
2. ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือระบบตลาด
3. ระบบเศรษฐกิจแบบผสม
ระบบเศรษฐกิจไทย
1. ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมหรือแบบบังคับ
- รัฐกำหนดควมคุม วางแผน ตัดสินใจเกี่ยวกับ กิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศ
- ทรัพย์สิน ทรัพยากรและปัจจัยการผลิตเป็นของรัฐ
- เช่นในประเทศเวียดนาม เกาหลีเหนือ คิวบา
2. ลักษณะระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือระบบตลาด
- เอกชนหรือหน่วยธุรกิจต่าง ๆ มีอิสระในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
- เน้นการแข่งขันของเอกชน เกิดการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพเพื่อแย่งตลาดการขาย เป็นไปตามกลไกราคา
- เอกชนมีสิทธิ์ในทรัพย์สินและปัจจัยการผลิต เงิน
- สหรัฐอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น
3. ลักษณะระบบเศรษฐกิจแบบผสม
- กิจกรรมทางเศรษฐกิจบางอย่างรัฐเป็นผู้ดำเนินการบางอย่างเอกชนดำเนินการ
- เอกชนมีสิทธิ์ในทรัพย์สินมีเสรีภาพในการประกอบกิจกรรมภายใต้กฎหมาย มีการแข่งขัน ภายใต้กลไกราคา มีกำไร
- รัฐประกอบกิจกรรมที่เป็นสาธาณูปโภคพื้นฐานที่จำเป็น
- รัฐเข้าแทรกแซงการผลิตของเอกชนเพื่อป้องกันการเอารัดเอาเปรียบ
ลักษณะเศรษฐกิจไทย
ไทยใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมแต่ค่อนข้างไปทางทุนนิยมเอกชนมีบทบาทในการผลิตด้านต่าง ๆ มากกว่ารัฐบาลเอกชนมีสิทธิ์ในทรัพย์สินและปัจจัยการผลิต มีเสรีภาพในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ มีการแข่งขันเพื่อพัฒนาคุณภาพของสินค้ารัฐบาลดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจด้านกิจกรรมสาธารณูปโภค
การแลกเปลี่ยนสินค้า
ความเป็นมา มนุษย์มีความสามารถในการผลิตสินค้าแต่ละชนิดแตกต่างกัน ทำให้เกิดการซื้อขายและแลกเปลี่ยนสินค้าที่ตนไม่ได้ทำเอง
ประเภทการแลกเปลี่ยน
1. แลกเปลี่ยนสินค้าต่อสินค้า เช่นชาวบ้าน เอมข้าวสารมาแลกปลา ผลไม้แลกพริก
2. แลกเปลี่ยนโดยใช้เงินเป็นสื่อกลาง ซึ่งรวมถึงบัตรเครดิต มีตลาดเป็นศูนย์กลาง
ความสัมพันธ์ของการแลกเปลี่ยน หน่วยเศรษฐกิจต่าง ๆ ต้องพึ่งพาอาศัยกัน ทั้งในด้านการแลกเปลี่ยนสินค้าต่อสินค้าและบริการการให้ปัจจัยการผลิต และความสัมพันธ์ในด้านรายรับรายจ่าย
กลไกราคา
หมายถึง ภาวะการณ์ของตลาดเป็นการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าที่ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บริโภคและผู้ผลิตร่วมกันในตลาด
อุปสงค์ (Demand) คือปริมาณความต้องการที่จะซื้อสินค้า
กฎของอุปสงค์ เมื่อราคสินค้าสูงขึ้น ความต้องการซื้อจะลดลง เมื่อสินค้าราคาถูกปริมาณความต้องการซื้อจะเพิ่มขึ้น
อุปทาน (Supply) คือ ปริมาณสินค้าที่ผู้ผลิตหรือผู้ขายพอใจ จะผลิตหรือขายแก่ผู้บริโภค
กฎของอุปทาน เมื่อสินค้าราคาแพง ผู้ผลิตหรือพ่อค้าจะนำสินค้าออกมาขายมาก หรือผลิตมากขึ้น เมื่อสินค้าต่ำลงจะนำออกมาขายน้อยหรือผลิตน้อยลง
ปัจจัยที่มีผลต่ออุปสงค์และอุปทาน
1. ราคาสินค้า
2. รายได้ของผู้บริโภค ต้นทุนการผลิต
3. รสนิยมของผู้บริโภค
4. ราคาสินค้าอื่นที่ใช้แทนกันได้
5. จำนวนผู้ผลิตคู่แข่ง
6. สภาพลมฟ้า อากาส ลักษณะธรรมชาติ
สถาบันการเงิน
คือ สถาบัน ที่ทำหน้าที่ระดมเงินออมจากประชาชน โดยจ่ายดอกเบี้ยให้จากนั้นก็จะนำเงินออมดังกล่าวไปปล่อยกู้หรือสินเชื่อแก่ผู้ต้องการใช้เพื่อใช้ในการบริโภคหรือเพื่อการลงทุน
ประเภทของสถาบันการเงิน
สถาบันการเงินต่างๆ
ธนาคารแห่งประเทศไทย มีหน้าที่จัดการดูแล ควบคุมระบบเงินของประเทศมีชื่อเรียกว่าธนาคารชาติ
ธนาคารพาณิชย์ มีหน้าที่เป็นแหล่งเงินออมและเงินกู้สำคัญของประชาชน ซื้อขายเงินตราต่างประเทศให้เช่าตู้นิรภัย โอนเงิน ชำระค่าไฟฟ้า ประปา ฯลฯ
ธนาคารที่ตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะื เช่น ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธกส. ธนาคารเพื่อการนำเข้าและส่งเอก
บริษัทเงินทุน มีหน้าที่ ระดมเงินทุนหรือกู้ยืมเงิจจากประชาชน โดยออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้เป็นประกันครั้งละไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท บางครังเรียกว่า ไฟแนนซ์ หรือ ทรัสต์
บริษัทหลักทรัพย์ มีหน้าที่ เป็นนายหน้าหรือตัวแทน (โบรกเกอร์) ซื้อขายหลักทรัพย์ (หุ้น) แก่บุคคลอื่น หรือแนะนำการซื้อขายหุ้นแก่ประชาชน
บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จัดตั้งเพื่อให้สินเชื่อแก่เอกชนในระยะยาว เพื่อการลงทุนผลิตภาคอุตสาหกรรม โดยคิดดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตราต่ำ
บรรษัทประกันชีวิตและประกันภัย ทำหน้าที่ระดมเงินออมจากประชาชนในรูปของการขายกรมธรรม์ เป็นหนังสือสัญญาการประกันชีวิต ประกันภัย หรือประกันอุบัติเหตุให้แก่ผู้ซื้อ บริษัทจะได้รับผลประโยชน์จากการนำเงินการขายกรมธรรม์ไปลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ
บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ทำหน้าที่ปล่อยสินเชื่อให้ลูกค้าโดยมีที่อสังหาริมทรัพย์ประเภทที่ดินหรือบ้าน เป็นหลักประกัน (จำนอง) แหล่งที่มาของเงินทุนมาจากการกู้เงินจาก ธนาคารพาณิชย์
โรงรับจำนำ มีหน้าที่เป็นสาถาบันการเงินขนาดเล็ก มีทั้งของรัฐและเอกชน โดยมีทรัพย์สินประเภทสังหาริมทรัพย์ (แหวน สร้อย ทองคำ เป็นต้น) มีชื่อเรียกว่าสถานธนานุบาล สถานธนานุเคราะห์
สหกรณ์ออมทรัพย์ เกิดจากสมาชิกที่ประกอบอาชีพเดียวกัน รวมกลุ่มกันเพื่อช่วยเหลือสมาชิกด้านการเงิน โดยรับฝากเงินและให้กู้เงินเมื่อมีความจำเป็น
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นสถาบันการเงินภายใต้การควบคุมของรัฐ (กระทรวงการคลัง) ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการ ซื้อขายหลักทรัพย์ (หุ้น) ควบคุมการซื้อขายให้มีระเบียบยุติธรรม เกิดผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเภท
ความสำคัญของสถาบันการเงิน สถาบันการเงินมีบทบาทต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ เนื่องจากเงินทุน เป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจที่สำคัญและมีจำนวนจำกัดสถาบันการเงินจึงต้องจัดสรรเงินทุนเหล่านั้นให้เพียงพอ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ แผน 9
คือ การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้ประชาชนอยู่ดีกินดี มีงานทำ มีรายได้มีความมั่นคงและปลอดภัย ปัจจุบันใช้แผนพัฒนาฉบับที่ 9 จากปี พ.ศ. 2545-2549
ความเป็นมา แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ มีขึ้นครั้งแรกในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นนายกรัฐมนตรี โดยกำหนดทิศทาง นโยบายในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างเป็นระบบ ปัจจุบันใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจ ฯ ฉบับที่ 9
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9
จุดเด่น คือการนำเอาพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเรื่อง “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยเน้นหลักของการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศสร้างความเข้มแข็งระดับรากหญ้าจนถึงระดับประเทศ แก้ไขปัญหาความยากจน และปัญหาสังคมอื่น ๆ
เป้าหมาย
1. ฟื้นฟูเศรษฐกิจ มีภูมิคุ้มกันและแข่งขันทางเศรษฐกิจยุคใหม่ได้
2. วางรากฐานการพัฒนาประเทศให้ยั่งยืนพึ่งตนเองอย่างรู้เท่าทันโลก
3. เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ดีในสังคมไทย
4. แก้ไขปัญหาความยากจน เพิ่มศักยภาพและโอกาสของคนไทยในการพึ่งพาตนเอง
รายได้และรายจ่ายของรัฐ
รายจ่ายของรัฐ รัฐมีบทบาทในการบริหารเศรษฐกิจและกิจกรรมทางเศรษฐฏิจผ่านงบประมาณรายข่ายจำแนกตามกระทรวง
1. งบกลางที่จัดสรรโดยคณะรัฐมนตรีให้แก่กระทรวง กรมต่าง ๆ หน่วยงาน รัฐวิสาหกิจ
2. งบหมุนเวียน งบประมาณที่จัดสรรให้กองทุนต่าง ๆ ของรัฐ เช่น กองทุนกู้ยืนเพื่อการศึกษา กองทุนช่วยเหลือเกษตรกร เป็นต้น
รายได้ของรัฐ
1. ภาษีอากร
2. การเรียกเก็บค่าบริการของรัฐ
3. เงินกู้
- กู้โดยตรงของรัฐบาล
- กู้โดยรัฐวิสาหกิจโดยรัฐค้ำประกัน
ความสำคัญของการทำบัญชี การทำบัญชีรายได้ (รายรับ) และรายจ่ายของตนเองหรือครอบครัวจะส่งผลให้รู้จักตนเอง รู้จักการใช้จ่าย และการออม เพื่อสร้างความมั่นคงแก่ตนเองครอบครัว การออมจะส่งผลให้เกิดความมั่นคงระดับครัวเรือน และระดับประเทศ เพราะฉะนั้นเราจึงควรทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย