พระบรมราชจักรีวงศ์
รัชกาลที่ 1
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
รัชกาลที่ 1 พ.ศ. 2325-2352 ครองราชย์ 27 ปี พระชนมายุ 74 พรรษา องค์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 เดือน 4 ปีมะโรง ได้รับราชการตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นหลวงยกพระบัตรเมืองราชบุรีเป็นพระราชวรินทร์ ในกรมพระตำรวจเจ้าพระยาจักรีและสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกสมุหนายกและแม่ทัพใหญ่ในสมียกรุงธนบุรี ทรงปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงสยามเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2325 ทรงย้ายเมืองหลวงจากกรุงธนบุรีเป็นกรุงเทพมหานคร
เริ่มสร้างพระบรมมหาราชวังและสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต เสร็จในปี พ.ศ. 2327 ทรงเป็นนักรบและตรากตรำการสงครามมาตั้งแต่ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ตลอดสมัยกรุงธนบุรีและในรัชสมัยของพระองค์เอง ในด้านการศาสนาได้โปรดให้มีการสังคายนาชำระพระไตรปิฎกพร้อมทั้งอรรถกถา ฏีกา ฯลฯ ณ วัดมหาธาตุ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างหอมณเฑียรธรรมขึ้นในบริเวณวัดพระแก้ว พระบรมมหาราชวัง สำหรับเป็นที่เก็บคัมภีร์ ทางพระพุทธศาสนาและทรงจัดการปกครองคณะสงฆ์ให้เรียบร้อย
พระราชานุกิจ (กิจวัตรประจำวัน) ของพะองค์ตลอดรัชสมัยเป็นที่น่าประทับใจพระองค์ทรงงานตั้งแต่เช้าตรู่จนดึกดื่นทุกวันมิได้ขาด เริ่มตั้งแต่ทรงบาตรถวายภัตตาหารพระสงฆ์ ฟังรายงานจากพระคลังมหาสมบัติ ออกรับพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางฟังรายงานและวินิจฉัยคดีจากจางวางและปลัดกรมตำรวจ วินิจฉัยเหตุการณ์บ้านเมืองทั้งข้าราชการจากฝ่ายทหาร และพลเรือนแล้วจึงเสวยพระกระยาหารเช้า แล้วพบข้าราชการฝ่ายในฟังรายงานการใช้จ่ายเงินคลัง การก่อสร้าง เสร็จแล้วเสด็จออกรับขุนนาง ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน
กรมท่านำใบบอกหัวเมืองมากราบทูลทรงวินิจฉัยปัญหาต่าง ๆ อยู่จน 4 ทุ่มหรือดึกกว่านั้น แล้วจึงเสด็จขึ้น
รัชกาลที่ 2
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
รัชกาลที่ 2 พ.ศ. 2352-2367 ครองราชย์ 15 ปี พระชมมายุ 58 พรรษาเสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 พระนามเดิมว่าฉิม เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ก่อนขึ้นครองราชย์ทรงดำรงพระยศเป็นเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ตำแหน่งพระมหาอุปราชกรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระองค์มีความสามารถวรรณคดี กับสมเด็จพระราชบิดาไว้หลายเรื่อง ได้แก่ อุณรุท รามเกียรติ์ อิเหนา และดาหลัง ซึ่งเรียกว่า พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1
นอกจากนี้ยังได้ทรงนำบทละครเก่ามานิพนธ์ขึ้นใหม่ ได้แก่ ไกรทอง คาวี ไชยเชษฐ์ สังข์ทอง มณีพิไชย ฯลฯ ด้านดนตรี ทรงเป็นเอตทัคคะ ในทางสีซอสามสาย ด้านศิลปะ โปรดการเขียนลวดลายอันวิจิตรงดงาม ตัวอย่างที่เด่นชัดปรากฏที่บานประตูวัดสุทัศน์เทพวราราม เมื่อปฐมวัยได้ทรงติดตามพระราชบิดาไปในงานสงครามแทบทุกครั้งตั้งแต่พระชมมายุ 8 พรรษาทรงผนวช พระชมมายุ 22 พรรษาทรงจำพรรษา ณ วัดราชธิวาส (วัดสมอราย) เป็นเวลา 1 พรรษา ลาผนวช แล้วทรงอภิเษกสมรสกับพระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้าหญิงบุญรอด ซึ่งต่อมาได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
ในรัชสมัยของพระองค์ ประเทศโปรตุเกส และประเทศอังกฤษ ได้ส่งผู้แทนทางการทูต มาเจริญสัมพันธไมตรีเป็นครั้งแรก ในสมัยรัตนโกสินทร์ คือ ได้ส่งมา เมื่อ พ.ศ. 2361 และ พ.ศ.2363 ตามลำดับ ด้านกฎหมาย ทรงปรับปรุงและออกกฎหมายต่าง ๆ ได้แก่ กฎหมายห้ามขายฝิ่น สัญญาเกี่ยวกับการซื้อขายที่ดิน พินัยกรรม และกฎหมายอาญาอื่น ๆ เช่นความผิดเกี่ยวกับการลงโทษ ทั้งฝ่ายอาณาจักรและพุทธจักร สุนทรภู่ กวีเอกของไทย มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในรัชกาลนี้
รัชกาลที่ 3
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 3 ครองราชย์ 26 ปี (พ.ศ. 2367-2394) พระชนมายุ 64 พรรษา เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2330 มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าทับ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศล้านภาลับและเจ้าจอมมารดาเรียม ก่อนขึ้นครองราชย์ทรงดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ได้ทรงเคยว่าราชการมาหลายตำแหน่ง เช่น กรมท่า (กระทรวงการต่างประเทศ) กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมพระตำรวจ และผู้ว่าความในศาลฏีกา
ในรัชสมัยของพระองค์ เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ เอาใจออกห่าง กระด้างกระเดื่อง เป็นกบฏไปเข้ากับญวณ แล้วฉวยโอกาสยกทัพเข้าตีเมืองอุบล ร้อยเอ็ด ตัวเจ้าอนุวงศ์เองยกทัพจากเวียงจันทร์ ลงมาตีเมืองนครราชสีมาได้ แล้วให้ทัพหน้าเข้าตีสระบุรี พรองค์ได้จัดทัพใหญ่เตรียมรับศึกในกรุงเทพฯ ได้จัดการป้องกันพระนครวางกำลังรายรอบเมืองตั้งแต่ทุ่งบางเขนถึงทุ่งหัวลำโพง จัดกำลังทหารไปตั้งรับที่สระบุรี ทัพเจ้าอนุวงศ์ได้กรวดต้อนผู้คนไปเวียงจันทร์ทุกวัน คุณหญิงโมภรรยาปลัดเมืองนครราชสีมา เป็นหัวหน้ารวบรวมพวกเชลยไทยต่อสู้ พอทัพจากกรุงเทพฯ ยกขึ้นไปช่วยเจ้าอนุวงศ์จึงถอยทัพกลับไปเวียงจันทร์ โดยวางกำลังคอยต้านทานกองทัพไทยที่ยกไปตีเวียงจันทร์ ไว้ที่เมืองหล่มเก่าและเมืองภูเขียว โปรดให้กรมพระราชวังบวรเป็นแม่ทัพ ยกทัพผ่านนครราชสีมาขึ้นไปตีเวียงจันทร์สายหนึ่ง อีกสายหนึ่งให้กรมหมื่นสุรินทร์รักษ์เป็นแม่ทัพยกไปตีฝ่ายเอนุวงศ์ที่มายึดเมืองอุบล และเมืองร้อยเอ็ด แล้วไปบรรจบกับกองทัพใหญ่ที่เวียงจันทร์ อีกสายหนึ่งให้เจ้าพระยาอภัยภูธรเป็นแม่ทัพ ยกไปตีฝ่ายเจ้าอนุวงศ์ที่เมืองหล่มสักแล้วไปบรรจบทัพใหญ่ที่เวียงจันทร์
กองทัพไทยปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ได้ราบคาบตีกรุงเวียงจันทร์แตกจับเจ้าอนุวงศ์ได้ ในปี พ.ศ.2371 เสร็จศึกแล้วได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคุณหญิงโมเป็นท้าวสุรนารี ในรัชกาลของพระองค์ ประเทศไทยได้เริ่มเปิดประเทศรับชาวยุโรปอย่างกว้างขวางอังกฤษและสหรัฐอเมริกาส่งทูตเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทย การค้าขายกับอังกฤษรุ่งเรืองมากบางคราวมีเรือสินค้าเข้ามาจอดในแม่น้ำเจ้าพระยาถึง 50 ลำทางสหรัฐอเมริกาได้ส่งมิชชันนารีเข้ามาสอนศาสนา และนำเอาวิชาการแพทย์แผนใหม่
โรงพิมพ์หนังสือพิมพ์ และสอนภาษาอังกฤษให้คนไทย ผู้ที่ควรได้รับเกียรติในผลงานนี้ คือ หมอวัลเลย์ ทรงโปรดให้มีประกาศห้ามนำฝิ่นเข้ามาขายในประเทศ และให้เก็บฝิ่นที่มีอยู่ในประเทศ นำไปเผาทั้งหมด ด้านพระศาสนา ทรงทำนุบำรุงพุทธศาสนา สร้างวัดใหม่ 9 วัด บูรณะวัดเก่า 60 วัด โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระนอนที่ใหญ่ที่วัดโพธิ์ ในรัชกาลนี้ได้มีกวีแก้วแห่งกรุงรัตนโกสินทร์เกิดขึ้น คือ สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส (พระองค์วาสกรีพระราชโอรสในรัชกาลที่ 1)
รัชกาลที่ 4
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 4 ครองราชย์ 16 ปี (พ.ศ. 2394-2411) พระชมมายุ 66 พรรษาเสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2347 เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีมีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้ามหามาลา เมื่อพระชนมายุได้ 9 พรรษา ได้รับสถาปนาเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎมีพระราชอนุชาร่วมพระราชมารดา คือ เจ้าฟ้าชายจุฑามณี ซึ่งต่อมาได้สถาปนาเป็นสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพระชนมายุได้ 21 พรรษา ได้ออกผนวชตามประเพณี และอยู่ในเพศบรรพชิต ตลอดรัชสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อรัชกาลที่ 3 สวรรคตจึงได้ลาสิขาขึ้นครองราชย์สมบัติ ระหว่างที่ทรงผนวชประทับอยู่ที่วัดมหาธาตุ แล้วทรงบ้ายไปอยู่วัดราชาธิวาส (วัดสมอราย) พระองค์ได้ทรงตั้งคณะสงฆ์ ชื่อ “คณะธรรมยุติกนิกาย” ขึ้น ต่อมาทรงย้ายไปอยู่วัดบวรนิเวศวิหารได้รับแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะและได้เป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศองค์แรก ทรงรอบรู้ภาษาบาลีและแตกฉานในพระไตรปิฎกนอกจากนั้น ยังศึกษาภาษาลาตินและภาษาอังกฤษจนสามารถใช้งานได้ดี
ในรัชสมัยของพระองค์ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส ต่างก็ส่งทูตมาขอทำสนธิสัญญาในเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขตให้แก่คนในบังคับของตน และสิทธิการค้าเสรี ต่อมาไทยได้ทำสัญญาไมตรีกับประเทศนอร์เวย์ เบลเยี่ยม และอิตาลี และได้ทรงส่งคณะทูตออกไปเจริญพระราชไมตรีกับต่างประเทศ นับเป็นครั้งที่สองของไทย นับต่อจากสมัยสมเด็จพระนรายณ์มหาราช โดยไปยังประเทศอังกฤษและฝรั่งเศสทรงจ้างชาวยุโรปมารับราชการในไทยในหน้าที่ล่ามแปลเอกสาร ตำรา ครูฝึกวิชาทางทหารและตำรวจ และงานต้านการช่าง ทรงตั้งโรงพิมพ์ของรัฐบาล
ตั้งโรงกษาปณ์เพื่อผลิตเงินเหรียญแทนเงินพดด้วง และเบี้ยหอยที่ใช้อยู่เดิม โรงสีไฟ โรงเลื่อยจักรเปิดที่ทำการศุลกากร ตัดถนนสายหลัก ๆ ได้แก่ ถนนบำรุงเมือง ถนนเฟื่องนคร ถนนเจริญกรุง และถนนสีลม มีรถม้าขึ้นใช้แรก ขุดคลองผดุงกรุงเกษม คลองมหาสวัสดิ์ คลองภาษีเจริญ คลองดำเนินสะดวก และคลองหัวลำโพง ด้านการปกครอง ได้จัดตั้งตำรวจนครบาล ศาล แก้ไขกฎหมายให้ทันสมัยให้เสรีภาพในกรนับถือศาสนา
ด้านศาสนา ได้สร้างวัดราชประดิษฐ์ วัดมกุฎกษัตริยาราม และวัดปทุมวนาราม เป็นต้น ทรงเชี่ยวชาญทางโหราศาสตร์ สามารถคำนวณการเกิดจันทรุปราคา และสุริยุปราคาได้อย่างแม่นยำ ทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาหมดเต็มดวงในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปี พ.ศ. 2411 ณ ตำบลหว้ากอ (คลองวาฬ) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้อย่างถูกต้อง
รัชกาลที่ 5
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 5 ครองราชย์ 42 ปี (พ.ศ.2411-2453) พระชมายุ 58 พรรษา เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ ก่อนขึ้นครองราชย์ ทรงดำรงพระยศเป็นพรมขุนพินิจประชานาถ พระองค์ได้ทรงสร้างความเจริญรุ่งเรื่อง ให้แก่ประเทศนานัปการ ทรงบริหารประเทศก้าวหน้าทัดเทียวนานาอารยประเทศ ทรงประกาศเลิกทาส ปรับปรุงระบบการศาล
ตั้งกระทรวงยุติธรรม ปรับปรุงกฎหมายต่าง ๆ ส่งเสริมการศึกษาอย่างกว้างขวางในหมู่ประชาชนทั่วไป ตั้งกระทรวงธรรมการ ตั้งโรงเรียนฝึกหัดครู ส่งนักเรียนไทยไปศึกษาในยุโรป สร้างการรถไฟโดยทรงเปิดเส้นทางเดินรถไฟสายกรุงเทพฯ ถึงนครราชสีมา เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2424 สร้างโรงไฟฟ้า จัดให้มีการเดินรถรางขึ้นในกรุงเทพฯ จัดตั้งกรมไปรษณีย์โทรเลข เมื่อ พ.ศ. 2424 สร้างระบบการประปา ฯลฯ
ด้านการต่างประเทศ ทรงมีวิสัยทัศน์กว้างไกลยิ่งนัก ได้ทรงนำประเทศไทยให้รอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตกได้ตลอดรอดฝั่ง โดยดำเนินวิเทโศบายผูกสัมพันธไมตรีกับประเทศมหาอำนาจเพื่อคานอำนาจโดยได้เสด็จเยือนประเทศ ฝรั่งเศส รัสเซีย เยอรมณี อังกฤษ ออสเตรีย ฮังการี เบลเยี่ยม อิตาลี สวีเดน และเดนมาร์กเมื่อปี พ.ศ. 2440 ทรงแต่งตั้งราชทูตไปประจำประเทศต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2424 ได้แก่ อิตาลี เยอรมัน เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม ออสเตรีย ฮังการี เดนมาร์ก สวีเดน โปรตุเกส นอร์เว และ สเปน อังกฤษในปี พ.ศ. 2425 สหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2427 รัสเซียในปี พ.ศ. 2440 และญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2442 พระองค์ทรงปกครองอาณาประชาราษฏร์ ให้เป็นสุขร่มเย็น โปรดการเสด็จประพาสต้น เพื่อให้ได้ทรงทราบความเป็นอยู่ที่แท้จริงของพสกนิกร ทรงสนพระทัยในวิชาความรู้และวิทยาการแขนงต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง และนำมาใช้บริหารประเทศให้เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว พระองค์จึงได้รับถวายพระราชสมัญญานามว่า สมเด็จพระปิยมหาราช
ด้านการพระศาสนา ทรงทำนุบำรุง และจัดการให้เหมาะสม เจริญรุ่งเรืองทรงสถาปนามหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยขึ้น ณ วัดมหาธาตุ และมหามงกุฎราชวิทยาลัยขึ้น ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อให้เป็นสถานศึกษาพระปริญัติธรรมและวิชาการชั้นสูง นอกจานั้น ยังทรงสร้างวัดเทพศิรินทราวาส และวัดเบญจมบพิตร และวัดเบญจมบพิตร ซึ่งนับว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่งดงามยิ่งแห่งหนึ่ง ของกรุงเทพฯ
รัชกาลที่ 6
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 6 ครองราชย์ 16 ปี (พ.ศ.2453-2468) พระชนมายุ 46 พรรษา เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนเทพทวาราวดี เมื่อพระชมายุได้ 8 พรรษ เมื่อพระชมมายุได้ 14 พรรษา ได้เสด็จไปศึกษาวิชาการที่ประเทศอังกฤษ ทรงศึกษาในมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และศึกษาวิชาการทหารบก ที่โรงเรียนนายร้อยแซนด์เฮิสต ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมงกุฎราชกุมารเมื่อปี พ.ศ. 2437 เด็จกลับประเทศไทยแล้ว ทรงเข้ารับราชการในตำแหนงจเรทัพบก และทรงบัญชาการทหารมหาดเล็ก ดำรงพระยศพลเอกเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 ได้ทรงปรับปรุงด้านการศึกษาของไทย โปรดให้ตราพระราชบัญญัติประถมศึกษา ให้เป็นการศึกษาภาคบังคับ ทรงตั้งกระทรวงการทหารเรือ กองเสือป่า และกองลูกเสือ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรมศิลปากร โรงไฟฟ้าหลวงสามเสน สร้างโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย คลังออมสิน กรมสถิติพยากรณ์ กรมสรรพากร กรมตรวจเงินแผ่นดิน กรมมหาวิทยาลัย กรมรถไฟหลวง และเปิดเดินรถไฟไปเชื่อมกับมลายู ตั้งสถานเสาวภาและกรมร่างกฎหมาย ทรงเปลี่ยนการใช้รัตนโกสินทรศก (ร.ศ.) เป็นพุทธศักราช (พ.ศ.) พระองค์ได้ทรงปลูกฝังความรักชาติให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชาวไท ทรงเป็นศิลปิน และส่งเสริมงานประพันธ์เป็ฯอย่างมาก ทรงเป็นผู้นำในการประพันธ์วรรณคดีไทย ทั้งที่เป็นร้อยแก้ว และร้อยกรอง ทรงเขียนหนังสือทางด้านประวัติศาสตร์ และด้านการทหารไว้เป็นจำนวนมาก ประมาณถึง 200 เรื่อง
พระองค์จึงได้รับถวายพระราชสมัญญานามว่า สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ทรงเป็นนักปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งของไทย การปกครองประเทศทรงเจริญรอยตามสมเด็จพระราชบิดาสานต่องานที่ยังไม่เสร็จสิ้น ในรัชสมัยของพระองค์ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยมีสมรภูมิอยู่ในทวีปยุโรป ทรงตัดสินพระทัยประกาศสงครามกับเยอรมัน โดยเข้าร่วมกับสัมพันธมิตร ได้ส่งทหารไปร่วมรบ ณ ประเทศฝรั่งเศส ผลที่สุดได้เป็นฝ่ายชนะสงครามทำให้ไทยได้รับการแก้ไขสนธิสัญญา ที่ไทยเสียเปรียบต่างประเทศได้เป็นอันมาก
รัชกาลที่ 7
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 7 ครองราชย์ 9 ปี (พ.ศ. 2468-2477) พระชมมายุ 48 พรรษา เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 มีพระนามเดิมว่าสมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ เป็นพระราชโอรสพระองค์เกของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ได้รับสถาปนาเป็นกรมขุนสุโขทัยธรรมราชา เมื่อพระชนมายุได้ 12 พรรษา ได้เสด็จไปศึกษาวิชากรมทหารบก ที่ประเทศอังกฤษ และฝรั่งเศส สำหรับการศึกษาแล้วเสด็จกลับประเทศไทย เข้ารับราชการที่กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ ในตำแหน่งผู้บังคับกองร้อยต่อมาได้รับราชการในตำแหน่งผู้บังคับการโรงเรียนนายร้อยทหารบกชั้นปฐม ปลัดกรมเสนาธิการทหารบก ผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ 2 แล้วได้ทรงเป็นกรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจของประเทศและของโลกกำลังทรุดหนัก อันเป็นผลเนื่องมาจากสงครามโลกครั้งที่ 1
ซึ่งพระองค์ก็ได้ทรงแก้ไขอย่างเต็มพระกำลังความสามารถจนประเทศไทยได้รอดพ้นจากวิกฤติการณ์นั้นได้ ในรัชสมัยของพระองค์ไทย สามารถติดต่อกับนานาประเทศทางวิทยุและโทรเลขได้โดยทั่วไปเป็นครั้งแรก ทรงพระราชทานนามหอสมุดแห่งชาติพิมพ์พระไตรปิฎกเล่มใหม่ เปิดเดินรถไฟไปถึงชายแดนไทยติดต่อกับเขมร แก้ไขระบบการจัดเก็บภาษีอากรใหม่ ตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ประกาศพระราชบัญญัติเงินตราและทรงตรากฎหมายอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมากสร้างสะพานพระปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพระพุทธยอดฟ้าฯ) วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะราษฎร์ ได้ปฏิบัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง ต่อมาเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 พระองค์ได้ตัดสินพระทัยสละราชสมบัติต่อมาได้เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 พระราชหัตถเลขาที่ทรงลาออกจากราชบัลลังก์มีความตอนหนึ่งว่า “ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไปแต่ข้าพเจ้าจะไม่ยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจโดยสิทธิขาดและโดยไม่ฟังเสียอันแท้จริงของประชาราษฎร”
รัชกาลที่ 8
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
รัชกาลที่ 8 ครองราชย์ 13 ปี (พ.ศ. 2477-2489) พระชนมายุ 21 พรรษา เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 ณ เมืองไฮเดนเบิร์ก ประเทศเยอรมันนี ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่สองของสมเด็จพระมหิดตลาธิเบศร์อดุลยเดชวิกรมบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อพระชนมายุได้ 3 เดือนได้ตามเสด็จพระบรมชนกนาถและพระราชมารดาไปประทับอยู่ ณ ประเทศฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา จนพระชนมายุได้ 3 พรรษา จึงเสด็จกลับประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2471 หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองสมเด็จพระราชชนนีได้นำเสด็จไปประทับอยู่ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อปี พ.ศ. 2476 เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อพระชนมายุได้ 9 พรรษา จึงต้องมีคณะผู้สำเร็จราชการแผ่นดินปฏิบัติหน้าที่แทนพระองค์
จนพระชมมายุได้ 3 พรรษา จึงเสด็จกลับประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2471 หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองสมเด็จพระราชชนนีได้นำเสด็จไปประทับอยู่ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อปี พ.ศ. 2476 เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติเมื่อ วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อพระชนมายุได้ 9 พรรษา จึงต้องมีคณะผู้สำเร็จราชการแผ่นดินปฏิบัติหน้าที่แทนพระองค์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวรรตน์จาตุรงต์เป็นประธาน ต่อมาพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภาเป็นประธาน พระองค์มีน้ำพระราชหฤทัยเปี่ยมด้วยพระเมตตากรุณาในพสกนิกร โปรดการศึกษา การกีฬา การช่างและการดนตรี ได้เสด็จไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบได้เสด็จนิวัติประเทศไทย เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2488 ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จึงได้ถวายราชกิจเพื่อให้ทรงบริหารโดยพระราชอำนาจ
เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ได้เกิดเหตุการณ์อันไม่คาดฝัน พระองค์ต้องอาวุธปีน เสด็จสวรรคต ณ ที่นั่งบรมพิมานใน พระบรมมหาราชวัง ยังความเศร้าสลดและความอาลัยรักจากพสนิกรเป็นที่ยิ่ง
รัชกาลที่ 9
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
รัชกาลที่ 9 ครองราชย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2489 จนถึง ปัจจุบัน เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ มลรัฐแมซซาซูเซทส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นพระราชโอรสองค์เล็กของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์ดุลยเดชวิกรมบรมราชชนกและสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเมื่อพระชนมายุได้ 1 พรรษาได้เสด็จนิวัตสู่ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2471 ภายหลังจากที่สมเด็จพระราชบิดาเสด็จทิวงคตแล้วได้เสด็จกลับไปประทับที่เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์และเข้ารับการศึกษา ณ ที่นั้น
สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ได้เสด็จขึ้นครองราชย์สืบแทนเมื่อพระชนมายุได้ 19 พรรษา โดยมีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แล้วทรงเสด็จไปศึกษาต่อในวิชานิติศาสตร์ ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์พระองค์ได้เสด็จนิวัติสู่ประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2493 เพื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลทรงเข้าพระราชพิธี อภิเษกสมรสกับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์พระบรมราชินีนาถ ซึ่งขณะนั้นดำรงพระยศเป็น ม.ร.ว.สิริกิต์ กิติยากร พระธิดาของพระวรวงศ์เธอกรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ และได้ประกาศพระบรมราชโองการสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมราชินี ได้มีพระบรมราชาภิเษก เฉลิมพระปรมาภิไธยว่าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหิตลาธิเบศร์รามาธิบดีจักรีนฤบดินทร์สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ได้เสด็จกลับไปทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2493 จนถึงปี พ.ศ. 2494 จึงเสด็จนิวัติพระนครได้เสด็จออกผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2499 แล้วเสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ระหว่างที่ทรงผนวช สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จังได้รับโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเป็นสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเป็นอเนกประการแผ่ไพศาลไปทั่วทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทรงเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศทั้งในยุโรป เอเชียและอเมริกา เพื่อเจริญพระราชไมตรีอย่างกว้างขวาง ปรากฎพระเกียรติคุณอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนด้านในประเทศทรงเสด็จเยี่ยมเยียนราษฎรในชนบทที่อยู่ห่างไกลเพื่อรับทราบปัญหาต่าง ๆ โดยตรงและได้ทรงริเริ่มโครงการตามพระราชดำริเพื่อแก้ปัญหาเหล่านั้น พร้อมทั้งพัฒนาให้ดีขึ้นเพื่อให้สามารถช่วยตนเองได้ พระราชกรณียกิจของพระองค์ ทั้งในฐานะที่ทรงเป็นพระประมุขของประเทศ และในฐานส่วนพระองค์เป็นไปอย่างไม่หยุดยั้ง ทรงเต็มเปี่ยมด้วยทศพิธราชธรรม ทรงมีพระอัจฉริยภาพในด้านต่าง ๆ ยากที่จะหาผูเสมอเหมือนทรงมีพระราชศรัทธา ตั้งมั่นและแตกฉานในพระศาสนาและทรงถ่ายทอดแกพสกนิกรของพระองค์ในทุกโอกาสดังเราจะพบในพระบรมราโชวาทที่พระราชทานแก่ประชาชนในโอกาสต่างๆ อย่างมิรู้ลืม
สรุปบทเรียน
พระมหากษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ทุกพระองค์ล้วนแล้วแต่มีพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจที่ทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติบ้านเมือง ทรงบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับอาณาประชาราษฎร์โดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยพระวรกาย ทรงเป็นแบบอย่างที่ดีในทุก ๆ ด้าน ทรงเป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจของพสกนิกรชาวไทย ทรงให้ความช่วยเหลือเหล่าประชากรทั่วทุกภูมิภาคเหมือนดั่งสายน้ำชโลมจิตใจ ดังนั้นเราชาวสยามประเทศจงทำคุณประโยชน์ในทุก ๆ ด้าน เพื่อตอบแทนพระมหากรุณาธิคุณแด่พระบรมจักรีวงศ์ทุกพระองค์และเพื่อแสดงความจงรักภักดี จงยึดแนวพระราชดำริและพระราชดำรัสเพื่อทำคุณประโยชน์ทั้งในการดำรงชีวิต และประพฤติปฏิบัติโดยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ เพื่อทำให้สังคมไทยอยู่อย่างสงบร่มเย็นและเป็นสุขตลอดไป ตราบนานเท่านาน ขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน