ประโยค ตอนที่ 3 ประโยคความรวม
ทบทวน : ประโยคความเดียวเป็นประโยคที่มีใจความสำคัญเรื่องเดียว มีภาคประธานภาค 1 ภาค , ภาคแสดง 1 ภาค, มีกริยาสำคัญเพียงตัวเดียว
ประโยคความรวม คือ การนำประโยคความเดียวตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไปมารวมกัน โดยมีคำสันธาน เป็นคำเชื่อมประโยค เช่น
1. แดงซื้อขนมและดำซื้อขนม
แดงซื้อขนม
ดำซื้อขนม
เป็นประโยคความเดียว มีคำสันธาน และ
เป็นคำเชื่อมประโยค จึงเป็นประโยคความรวม
2. แดงซื้อขนมแต่ดำซื้อของเล่น
แดงซื้อขนม
ดำซื้อของเล่น
เป็นประโยคความเดียว มีคำสันธาน แต่
เป็นคำเชื่อมประโยค จึงเป็นประโยคความรวม
3. ฝนตกน้ำจึงท่วม
ฝนตก
น้ำท่วม
เป็นประโยคความเดียว มีคำสันธาน จึง
เป็นคำเชื่อมประโยค จึงเป็นประโยคความรวม
ประโยคความเดียวที่นำมารวมเป็นประโยคความรวม มีความสำคัญเท่ากันทั้ง 2 ประโยค จะตัดประโยคใดประโยคหนึ่งทิ้งไปไม่ได้ เช่น
1. ฝนตกน้ำจึงท่วม
จะตัดฝนตก หรือ น้ำท่วมออกไปไม่ได้
แม้แต่ประโยคเดียว เพราะถ้าใจความสำคัญขาดหายไป 1 เรื่อง ประโยคนั้นจะเป็นเพียงประโยคความเดียว เพราะมีใจความสำคัญเพียงเรื่องเดียว
ประโยคความรวมมีโครงสร้างประโยค ดังนี้
ประโยคความรวมแบ่งเป็น 4 ชนิด ดังนี้
1. ประโยคความรวมที่มีเนื้อความคล้อยตามกัน หรือ มีเนื้อความสอดคล้องกันไปในแนวเดียวกัน มีคำสันธาน และ กับ แล้ว ...ก็ , แล้ว...จึง , ครั้น...จึง, พอ...ก็ ฯลฯ เป็นคำเชื่อมประโยค
2. ประโยคความรวมที่มีเนื้อความแย้งกัน คือ การนำประโยคความเดียว 2 ประโยคมารวมกัน โดยมีเนื้อความแย้งกัน นั่นคือ เนื้อความประโยคหน้าและประโยคหลังจะตรงกันข้าม ใช้คำสันธาน แต่ , แต่ทว่า, ถึง...ก็, กว่า..ก็ ฯลฯ เป็นคำเชื่อมประโยค เช่น
3. ประโยคความรวมที่มีเนื้อความให้เลือกเอาแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ การนำประโยคความเดียว 2 ประโยคมารวมกัน โดยมีเนื้อความให้เลือกเอาเพียงอย่างเดียว มีคำสันธาน หรือ หรือไม่ มิฉะนั้น..ก็ หรือไม่ก็ ฯลฯ เป็นคำเชื่อมประโยค
4. ประโยคความรวมที่มีเนื้อความเป็นเหตุเป็นผล คือ การนำประโยคความเดียว 2 ประโยคมารวมกัน ให้ประโยคแรกเป็นเหตุ ประโยคหลังเป็นผล ใช้คำสันธาน จึง , ฉะนั้น, เพราะ...จึง, ดังนั้น ,เพราะฉะนั้น ฯลฯ เป็นคำเชื่อมประโยค
ประโยคความรวมที่มีเนื้อความเป็นเหตุเป็นผลนั้น ประโยคเหตุ ต้องมาก่อนประโยคผล เสมอ